การวัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ด้านการบริการลูกค้าและกิจกรรมสนับสนุน เพื่อเพิ่มอัตราความสามารถในการจัดส่งสินค้า กรณีศึกษา แผนกบริการลูกค้าของผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำแข็งแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • นิศากร มะลิวัลย์ สาขาวิชาการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

มิติด้านต้นทุน, มิติด้านเวลา, มิติด้านความน่าเชื่อถือ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อวัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ด้านการบริการลูกค้าและกิจกรรมสนับสนุน 2. เพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงการดำเนินงาน และ 3. เพื่อเพิ่มอัตราความสามารถในการจัดส่งสินค้า โดยวัดประสิทธิภาพ โลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม (Industrial Logistics Performance Index: ILPI) เป็นการวิจัยที่เป็นรูปแบบผสมผสาน   มีขั้นตอนการวิจัยโดยเริ่มจากทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ จากนั้นศึกษาและเข้าไปฝังตัวในสถานประกอบการเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและวัดประสิทธิภาพด้านการบริการลูกค้าและกิจกรรมสนับสนุนเลือกกิจกรรมที่ควรปรับปรุงนำไปประชุมหารือร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในแผนกบริการลูกค้าและร่วมกันวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาและแก้ไขปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อเพิ่มอัตราความสามารถในการจัดส่งสินค้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม (Industrial Logistics Performance Index: ILPI) Why Why Analysis การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ผลวิจัยพบว่า มิติด้านต้นทุน ILPI2C สัดส่วนต้นทุนการให้บริการลูกค้าต่อยอดขายร้อยละ 8.57 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี มิติด้านเวลา ILPI2T ระยะเวลาเฉลี่ยการตอบสนองคำสั่งซื้อจากลูกค้าเท่ากับ 3 ชั่วโมง ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี และมิติด้านความน่าเชื่อถือ ILPI2R อัตราความ สามารถในการส่งมอบสินค้าได้ร้อยละ 84.72 อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องปรับปรุง จึงใช้หลักการ Why–Why Analysis มาระบุสาเหตุของปัญหาพบว่าสาเหตุของการส่งสินค้าไม่ครบและการส่งสินค้าไม่ตรงเวลาเกิดจากเรียงสินค้าสูงเกินไปสินค้าจึงเสียสมดุลและใช้หลักการ ECRS ในการแก้ไขปรับปรุงการเรียงสินค้าซ้อนกันบนรถเข็นโดยประยุกต์ใช้รูปแบบ BLOCK และแบบ PINWHEEL ทำให้สินค้าที่บรรทุกบนรถเข็นมีความมั่นคงไม่สูงเกินไปเข็นง่ายตรวจนับจำนวนสินค้าง่ายขึ้นบรรทุกสินค้าได้มากขึ้น และควบคุมจำนวนสินค้าที่ขนส่งในแต่ละรอบได้สูงสุดไม่เกิน 25 ถุง ส่งผลให้เพิ่มอัตราความสามารถในการจัดส่งสินค้าเป็นร้อยละ 95.10 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี

References

Department of Industrial Promotion. (2019). Industrial Logistics Performance Index: ILPI. Bangkok: Department of Industrial Promotion.

Weeraarchakul, K. & Warintornnuwat, S. (2017). The Application of Heijunka Principle in Mixed Products Stacking for Minimizing Movement in Picking up. Journal of Business Administration and Languages (JBAL), 5(2), 17-22.

Chantra, P., Srimueang, H., Promlee, J., & Bangcheen, W. (2563). Troubleshooting Logistics Problems with Logistics Performance Indicators & Fishbone Measurements : A Case Study of The Transport Company, Khon Kaen. The 10th STOU National Research Conference (p. 438-448). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat.

Sartnok, S., Sukawattano, C., Keawphoklang, S., & Srimungkul, P. (2019). Logistics Performance Measurement: A Case Study of AMET Engineering Company. in Jiraphan Huaisaen. Recent Innovation of Sciences and Social Sciences for Sustainability. Retrieved from https://th.ksu.ac.th/ksuc2019/pdf/th/th-complete.pdf

Logistics DIP. (2021, November 19). ILPI Lesson 2 Customer Service and Support [Video file]. Retrieved from https://youtu.be/ry2i4QKaL0g

Holste, C. (2014). Mixed SKU Pallet Loads Speeds Product Restocking At The Store. Retrieved July 28, 2023, from https://www.scdigest.com/experts/Holste_14-07-09.php?cid=8262

McMahon, J. (2010). Maximizing Efficiency with Mixed-Case Palletizing. Retrieved July 28, 2023, from https://www.mhlnews.com/technology-automation/article/22041392/maximizing-efficiency-with-mixedcase-palletizing

Roscoe, J. T. (1975). Fundamental research statistics for the behavioral sciences. New York: Holt Rinehart and Winston.

The Child Nutrition Division. (1975). Food Storage Guide for Schools and Institutions. https://www.google.co.th/books/edition/Food_Storage_Guide_for_Schools_and_Insti/DGgvAAAAYAAJ?hl=th&gbpv=1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29