การรับรู้และความคาดหวังของผู้ประกอบการรายใหม่ เกี่ยวกับการปฏิบัติทางภาษีอากร

ผู้แต่ง

  • สายสมร สังข์เมฆ สาขาวิชาการบัญชี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

การรับรู้, ความคาดหวัง, ผู้ประกอบการรายใหม่, การปฏิบัติทางภาษีอากร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้และระดับความคาดหวังของผู้ประกอบการรายใหม่เกี่ยวกับการปฏิบัติทางภาษีอากร 2) เปรียบเทียบระดับการรับรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติทางภาษีอากรของผู้ประกอบการรายใหม่  และ 3) เปรียบเทียบระดับความคาดหวังเกี่ยวกับการปฏิบัติทางภาษีอากรของผู้ประกอบการรายใหม่ ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทั่วประเทศ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการรายใหม่ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทั่วประเทศ ในระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนมีนาคม 2564 จำนวน 379 ตัวอย่าง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน One-way ANOVA และ Paired Sample t-test

ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการรับรู้ของผู้ประกอบการรายใหม่เกี่ยวกับการปฏิบัติทางภาษีอากร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}=3.62, S.D.=0.30) เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการคำนวณและการนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ด้านหน้าที่ในการเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร และด้านกำหนดโทษกรณีปฏิบัติทางภาษีอากรไม่ถูกต้อง ตามลำดับ ส่วน ระดับความคาดหวังของผู้ประกอบการรายใหม่เกี่ยวกับการปฏิบัติทางภาษีอากร โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.57, S.D.=0.19) เรียงลำดับค่าเฉลี่ย ได้แก่ ด้านหน้าที่ในการเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ด้านการคำนวณและการนำส่งภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ด้านกำหนดโทษกรณีปฏิบัติทางภาษีอากรไม่ถูกต้อง ตามลำดับ 2) ผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับรูปแบบการจดทะเบียนนิติบุคคลและมีทุนจดทะเบียนของสถานประกอบการแตกต่างกันมีระดับการรับรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติทางภาษีอากรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีข้อมูลทั่วไปของสถานประกอบการแตกต่างกันมีระดับความคาดหวังเกี่ยวกับการปฏิบัติทางภาษีอากรไม่ต่างกัน

References

Bangmo, S. (2017). Business taxation. Bangkok: Wittayapat.

Chayomchai, A. (2019, April - June). A comparative study of ethical leadership models of community-based entrepreneurs: using structural equation modeling in Roi Et and Phetchabun provinces. Suthiparitat Journal, 33(106).

Chaiyakan, P. (2019). Attitudes of entrepreneurs in Bangkok towards the Revenue Department. (research report). Bangkok: Ramkhamhaeng University.

Department of Business Development Ministry of Commerce. (2021). List of new registered legal entities. Retrieved April 30, 2021, from https://www.dbd.go.th

Ketuam, T. (2021). Business Tax 101. Bangkok: SE-ED Education.

Kaiyawan. Y. (2010). Principles of research statistics and use of the SPSS program. Bangkok: Chulalongkorn University.

Khuha, A. (2003). Motivation and emotion. Pattani: Prince of Songkla University, Pattani Campus.

Kuuttha, W. (2019). Knowledge and understanding of corporate entrepreneurs towards paying corporate income tax in Mueang District, Ubon Ratchathani Province. Eastern University of Management and Technology Academic Journal, 16(2).

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.

Ndegwa, M. (2014). Factors influencing tax compliance among small and medium enterprises in nairobi’s industrial area kenya [Master’s Thesis]. university of Nairobi. Retrieved from http://41.204.161.209/handle/11295/73605

Photikham. P. (2022). Factors affecting efficiency in paying corporate income tax of entrepreneurs under the supervision of the Business Tax Administration Division. Retrieved November 25, 2022, from https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/mmm25/6314131060.pdf

Phongpitak, S. (2018). Tax planning. Bangkok: Wichita Attorney's Office.

Revenue Department. (2021). Revenue Code. Electronic version. Retrieved December 15, 2021, from www.rd.go.th

Schermerhorn, J. R., Hunt, J. G. & Osborn, R. N. (2012). Organizational Behavior. 10 th ed. Upper Saddle River, NJ: Pearson Education.

Sirisan, N. (2020). Factors in selecting accounting office services for legal entity entrepreneurs in Bangkok and surrounding areas [Master’s Thesis]. Krirk University.

Vroom Victor H. (1964). Work and Motivation. New York: Prentice – Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29