การพัฒนาผลิตภัณฑ์การแปรรูปเห็ด พัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ตำบลหนองบัว อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย โดยใช้แนวคิด BCG การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและสร้างมูลค่าเพิ่ม

ผู้แต่ง

  • เหมวดี กายใหญ่ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • สกุลไทย ป้อมมะรัง สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • พลกร วงศ์ลา สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • กาญจนา ศรีบุรินทร์ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลิตภัณฑ์, การพัฒนาบรรจุภัณฑ์, ตราสินค้า, การแปรรูปเห็ด, แหนมเห็ด, BCG Model

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของกลุ่มเกษตรกรปลูกเห็ด บ้านหนองบง ตำบลหนองบัว อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์การแปรรูปเห็ด พัฒนาตราสินค้า และบรรจุภัณฑ์สินค้าแหนมเห็ด 2) เพื่อพัฒนาตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์แหนมเห็ดของกลุ่มเกษตรกรปลูกเห็ดแบบมีส่วนร่วม 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์แหนมเห็ดของกลุ่มเกษตรกรปลูกเห็ด รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยประชากร คือ สมาชิกกลุ่มเกษตรกรปลูกเห็ด จำนวน 32 คน มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นของตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ และกลุ่มตัวอย่างจากผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์แหนมเห็ด จำนวน 250 คน ซึ่งไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน โดยกำหนดขนาดตัวอย่างโดยการหาขนาดตัวอย่างที่ระดับความเชื่อมั่นที่ 95% โดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณาและสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มเกษตรกรปลูกเห็ดเกิดปัญหาต่อต้นทุนการปลูกเห็ด และยังไม่มีวิธีการแปรรูปเห็ดเพื่อลดปัญหาของเสีย ไม่มีตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม และต้องการความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องของตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ 2) จากปัญหาดังกล่าว คณะผู้วิจัยได้นำแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green Economy) ในการจัดการทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการถ่ายทอดความรู้การแปรรูปแหนมเห็ดเพื่อให้เก็บได้นานและจำหน่าย นอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดวิธีการสร้างตราสินค้าของกลุ่มให้เป็นที่รู้จักแก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งสมาชิกได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นที่มีต่อตราสินค้า โดยใช้ชื่อ “แหนมเห็ด 3 สหายภูเรือ” สื่อสารถึงความเป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม และมีการจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป 3) จากผลการสำรวจพบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ “แหนมเห็ด 3 สหายภูเรือ”  โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2565). การขับเคลื่อนภาคเกษตรด้วยโมเดล เศรษฐกิจ BCG. ค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2566, จาก https://www.bcg.in.th/data-center/media-information.

กนกวรรณ อยู่ทอง และโสภาพร กล่ำสกุล. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปน้ำมะนาวพร้อมดื่มเชิงพาณิชย์บนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 10(2), 22-33.

กษมา สุรเดชา,อนุ ธัชยะพงษ์ และกันยา มั่นคง. (2563). การออกแบบตราสินค้า และพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์กล้วยอบเนย ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนหมูสวรรค์หมูไทยศรีโยธิน. วารสารพิกุล, 18 (1), 119-237.

ทาริกา สระทองคำ, อนงค์ ไต่วัลย์ และอมร ถุงสุวรรณ. (2565). รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ตอบสนองความต้องการลูกค้าในยุคอนาคต. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8 (1), 239-250.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: วี.อินเตอร์ พริ้นท์.

นงลักษณ์ จิ๋วจูและคณะ. (2559). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าของกลุ่มโอทอป (OTOP) และบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนขนาดย่อม. ใน บทความสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3 ประจำปี พ.ศ. 2560, (หน้า 1-12). กำแพงเพชร : มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

วชริญา เหลียวตระกูล, วิจิตรา เหลียวตระกูล, นัยวิท เฉลิมนนท์ และ จันทร์ธนา แก้วสี. (2560). โครงการการยกระดับผลิตภัณฑ์แปรรูปเห็ดตับเต่าเชิงการค้าสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. (รายงานผลการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

สุฑามาศ ยิ้มวัฒนา, ศุภลักษณ์ ศรีวิไลย, พิเชษฐ เนตรสว่าง, อมรา ดอกไม้ และ ทรรศิกา ธานีนพวงศ์. (2564). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าผลิตภัณฑ์กล้วยแปรรูปแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23 (1), 1-12.

สุดถนอม ตันเจริญ. (2561). แนวทางการพัฒนาคุณภาพสินค้า OTOP ของวิสาหกิจชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 7 (2), 155-166.

อัรฮาวี เจ๊ะสะแม, ยอดนภา เกษเมือง. (2564). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนปุรณาวาส เขตทวี วัฒนา กรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 15 (2), 79-90.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2014). Principles of Marketing. (15th ed.). England: Pearson.

McCarthy, E. J. and Perreault, W. D. (1991). Essential of Marketing. (5th ed.). Boston: E. Jerome McCarthy and Associates.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-27