ปัจจัยในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานการเงินและบัญชี ของสำนักงานศาลยุติธรรม

ผู้แต่ง

  • ชุติมา มากแบน นักศึกษาปริญญาโท สาขาบัญชี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

ปัจจัยในการปฏิบัติงาน, ประสิทธิภาพการดำเนินงาน, ปัจจัยในการปฏิบัติงาน , การเงินและบัญชี , สำนักงานศาลยุติธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง ปัจจัยในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานการเงินและบัญชีของสำนักงานศาลยุติธรรม มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานการเงินและบัญชีของสำนักงานศาลยุติธรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการศาลยุติธรรมหรือพนักงานราชการหรือลูกจ้างที่ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของสำนักงานศาลยุติธรรม จำนวน 400 คน เวลาที่ใช้ในการศึกษา คือ เดือนมีนาคม - กรกฎาคม 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว  (One-way Analysis of Variance) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด

           ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 28 – 30 ปี ตำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชี ระดับปฏิบัติงาน ปัจจัยในการปฏิบัติงานเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ด้านทักษะ ด้านความสัมพันธ์และการติดต่อสื่อสาร และด้านระบบและเทคโนโลยีสารสนเทศ ประสิทธิภาพการดำเนินงานการเงินและการบัญชีของบุคลากรสำนักงานศาลยุติธรรม เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสามารถตรวจสอบได้ ด้านเสร็จตามเวลาที่กำหนด ด้านความมีคุณภาพ ด้านความถูกต้องครบถ้วน

ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยในการปฏิบัติงาน ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านทักษะบัญชี ด้านระบบและเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านความสัมพันธ์และการติดต่อสื่อสาร ด้านประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน มีผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานการเงินและบัญชีของสำนักงานศาลยุติธรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กานดา แซ่หลิ่ว (2560). ศักยภาพทางการบัญชีมีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ทิพาวดี เมฆสวรรค์. (2562). การส่งเสริมประสิทธิภาพในระบบราชการ. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.

บุญทัน ดอกไธสง และเอ็ด สาระภูมิ. (2528). การบริหารเชิงพุทธ. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์

ปัญญาภา อัคนิบุตร. (2565). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการท างานของพนักงาน บริษัทรัฐวิสาหกิจให้บริการ ด้านท่าอากาศยาน Generation Y. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

พิมพ์พิศา วรรณวิจิตร และ ปวีนา กองจันทร (2560, มกราคม –เมษายน). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ในจังหวัดมหาสารคาม. Veridian E-Journal,Silpakorn University. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 1926-1941.

ภัสณที นุ่มประเสริฐ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการดำเนินงานการเงินและบัญชี ของหน่วยงานทหารกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

รัตนา เนตรทัศน์. (2565). คู่มือปฏิบัติงานการเงิน บัญชีและพัสดุ. ค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2566, จาก https://office2021.ksed.go.th/wp-content/uploads/2021/06/1.1.pdf.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โศรยา บุตรอินทร์และคณะ. (2561). ผลกระทบของการเรียนรู้มาตรฐานการบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ทางการบัญชีของผู้ทาบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4(33), 118-129.

สำนักงานศาลยุติธรรม. (2563). สำนักงานแผนงบประมาณ. ค้นเมื่อ 10 เมษายน 2566, จาก https://oppb.coj.go.th/th/page/item/index/id/4.

สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2560). ทฤษฎีและกลยุทธ์การพัฒนาสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไอลดา ศรีมานนท์ (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชี่ยวชาญทางการบัญชีสมัยใหม่กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-27