ระบบการปฏิบัติงานและระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ผู้แต่ง

  • นิตยา ใจฝั้น นักศึกษาปริญญาโท คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • มัตธิมา กรงเต้น อาจารย์ คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

ระบบการปฏิบัติงาน, ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่, คุณภาพรายงานทางการเงิน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการปฏิบัติงานและระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กลุ่มตัวอย่างคือ ข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติงานด้านบัญชี จำนวน 142 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามช่วง พ.ค.-มิ.ย. ปี 2566 และนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)

ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 18-30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี
อายุราชการต่ำกว่า 5 ปี อยู่ในตำแหน่งผู้บังคับหมู่ มีความคิดเห็นว่า 1) ปัจจัยระบบการปฏิบัติงาน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า 1) ปัจจัยระบบการปฏิบัติงาน คือ ด้านสภาพแวดล้อมตามกฎหมาย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและการสื่อสารส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินทุกด้าน ส่วนปัจจัยระบบการปฏิบัติงาน ด้านความรู้และประสบการณ์บัญชี ด้านประสบการการใช้เทคโนโลยี ส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงิน ด้านความเข้าใจได้ 2) ปัจจัยระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ คือ ด้านระบบการบริหารงบประมาณภาครัฐ ส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินทุกด้าน ส่วนปัจจัยระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ด้านระบบการเงินการบัญชีภาครัฐ ส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงิน ด้านความเชื่อถือได้ ด้านความเข้าใจได้ ด้านความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ และปัจจัยระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ ด้านความสะดวก รวดเร็วและประหยัดเวลา ส่งผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงิน ด้านความเข้าใจได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กรมบัญชีกลาง. (2558). การปฏิบัติงานในระบบบริหารการเงินการคลัง GFMIS. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

_______. (2562). คู่มือองค์ความรู้ด้านการเงินการคลังภาครัฐ : มาตรฐานการบัญชีภาครัฐ. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

_______. (2565). ข่าวสารกรมบัญชีกลาง. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). สถิติสำหรับงานวิจัย: หลักการเลือกใช้เทคนิคทางสถิติในงานวิจัยพร้อมทั้งอธิบายผลลัพธ์ที่ได้ จาก SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สามลดา.

_______. (2560). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Window. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.

กุลยา จันทะเดช. (2557). กรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงิน. วิชาชีพบัญชี, 10(29), 62-81.

ชไมพร บัวแก้ว. (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในมุมมองของผู้บริหารในเขตภาคใต้. Journal of Modern Learning Development, 8(1), 274-286.

ณฐพล เงินสวาท. (2562). ความสัมพันธ์ของการปฏิบัติงานการบริหารการเงินการคลังภาครัฐ แบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ที่มีผลต่อคุณภาพรายงานการเงินของส่วนราชการในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ณฐภัทร หงษ์พงษ์. (2565). ผลกระทบของทักษะทางวิชาชีพที่มีต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของผู้ทำบัญชี ในเขต กรุงเทพมหานครและนนทบุรี. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ณัฐวุฒิ ตันติเศรษฐ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของงบการเงินและประสิทธิภาพในการตัดสินใจของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธมลวรรณ เจนธนสาร. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานระบบบริหารการเงิน การคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ของกรมปศุสัตว์. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2550). การสอบบัญชี. กรุงเทพฯ: ทีพีเอ็น เพรส.

ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา. (2546). การพัฒนาระบบราชการไทยการพัฒนาองค์การและการสร้างองค์การที่เรียนรู้. สถาบันพระปกเกล้า, 1(2), 5-13.

พัชรินทร์ ศิริทรัพย์. (2558). ผลกระทบการใช้ระบบบริการการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ GFMIS ที่มีผลต่อคุณภาพการรายงานการเงินของหน่วยงานราชการ กรณีศึกษา อำเภอพระนครศรีอยุธยา. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลราชบุรี.

พิธุวรรณ กิติคุณ. (2558). การบริหารจัดการภาครัฐ: รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ไพสรณ์ สูงสมบัติ. (2564). ทักษะทางวิชาชีพและมาตรฐานในการปฏิบัติงานของนักบัญชีที่มีผลกระทบต่อคุณภาพ รายงานงบการเงิน. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(1), 272-284.

ศริชัย กาญจนวสี และคณะ. (2547). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.

ศิริไพร สินประกอบ. (2560). ผลกระทบของการจัดการความเสี่ยงในระบบ GFMIS ที่มีต่อคุณภาพของงบการเงิน กรณีศึกษาส่วนราชการเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5 (หน้า 234). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2564). ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ. 2564-2565). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

สำนักงานโครงการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์. (2547). โครงการเปลี่ยนระบบการบริหาร การเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบ อิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS). กรุงเทพฯ:กรมบัญชีกลาง.

Tambingon, H. N., Yadiati, W., & Kewo, C. L. (2018). Determinant Factors Influencing the Quality of Financial Reporting Local Government in Indonesia. International Journal of Economics and Financial Issues, 8(2), 262–268. Retrieved from https://www.econjournals.com/index.php/ijefi/article/view/6160

Nirwana, N. and Haliah, H. (2018). Determinant factor of the quality of financial statements and performance of the government by adding contextual factors: Personal factor, system/administrative factor. Asian Journal of Accounting Research, 3(1), 28-40. Retrieved from https://doi.org/10.1108/AJAR-06-2018-0014

Omokonga, S. B. (2014). The Effect of Integrated Financial Management Information System on the Performance of Public Sector Organization. Degree of Masters of Science in Business Administration, Unite States International University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-27