ส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของลูกค้า (7C’s) ที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการธุรกิจร้านอาหารในศูนย์การค้าชุมชน (Community Mall) ในยุควิถีถัดไป

ผู้แต่ง

  • นภเกตน์ สายสมบัติ -
  • เปรมมิกา ศิริวิเศษวงศ์

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, ธุรกิจบริการอาหารในศูนย์การค้าชุมชน, โควิด-19, สุขอนามัยและความปลอดภัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของลูกค้า (7C’s) ที่มีผลต่อความ พึงพอใจของผู้ใช้บริการธุรกิจร้านอาหารในศูนย์การค้าชุมชน (Community Mall) ในยุควิถีถัดไป และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการธุรกิจร้านอาหารในศูนย์การค้าชุมชนในยุควิถีถัดไป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ กลุ่มผู้เคยผู้ใช้บริการธุรกิจร้านอาหารในศูนย์การค้าชุมชน ช่วงสถานการณ์มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล จำนวน 440 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน ได้แก่ T-test, One-way ANOVA และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)

ผลการศึกษา พบว่า ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของลูกค้า (7’Cs) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คือ คุณค่าที่จะได้รับ ด้านความสำเร็จในการตอบสนองความต้องการ ด้านความสบาย ด้านการดูแลและเอาใจใส่ ด้านต้นทุนของลูกค้า ด้านการติดต่อสื่อสาร และด้านความสะดวก ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ของร้านอาหารในศูนย์การค้าชุมชน โดยรวมมีระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก คือ ร้านอาหารที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ร้านอาหารที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่มีดนตรีสด และร้านอาหารที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มที่มีการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตามลำดับ

จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ของผู้ใช้บริการ มีความพึงพอใจเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของลูกค้า (7C’s) ในการใช้บริการธุรกิจร้านอาหารในศูนย์การค้าชุมชนที่แตกต่างกัน ซึ่งส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของลูกค้า (7C’s) ปัจจัยด้านคุณค่าที่จะได้รับ ส่งผลเชิงบวกต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการธุรกิจร้านอาหารในศูนย์การค้าชุมชนในยุควิถีถัดไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการร้านอาหารในศูนย์การค้าชุมชนมีผลเชิงบวกต่อมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 สำหรับประเภทร้านอาหารที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. ค้นเมื่อ 22 กันยายน 2564, จาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการปฏิบัติตามมาตรการผ่อนปรนกิจการและกิจกรรมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 สำหรับประเภทกิจการและกิจกรรม กลุ่มที่ 2. ค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2564, จาก http://www.tosh.or.th/covid19/index.php/manual/item/download/44_56a76485619aa5fa8e969bf1c32feaa1.pdf

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2549). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: วี.อินเตอร์พริ้นท์.

นารากร สมประสิทธิ์. (2564). กระบวนการตัดสินใจใช้บริการร้านอาหารช่วงโควิดร้านประถม 6 ของคนวัยทำงานในพื้นที่เขตจังหวัดเชียงใหม่. ค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2565, จาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/sun18/6214070045.pdf

ราชกิจจานุเบกษา. (2563). ประกาศและคำสั่งของจังหวัดที่ออกโดยผู้ว่าราชการจังหวัด ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558. ค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2564, จาก www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E104_3/1.PDF

ฤทัยรัตน์ ไชยทองสี และคณะ. (2564, กรกฎาคม – สิงหาคม). ความพึงพอใจของพนักงานในการใช้บริการห้องรับประทานอาหารศูนย์ไปรษณีย์หลักสี่: ศึกษาในช่วงการผ่อนคลายมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(4), 27-42.

วัฒนะ สุขขวัญ. (2563). ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อร้านอาหารที่ปรับตัวในช่วงวิกฤต covid-19 ในเขตกรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2564, จาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/twin-8/6114154060.pdf

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤตกิรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์ม และ ไซเท็ก.

ศูนย์วิจัยกรุงศรี. (2564). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2564-2566: ธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่. ค้นเมื่อ 22 กันยายน 2564, จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/wholesale-retail/modern-trade/io/io-modern-trade-21

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2564). ร้านอาหารปี 64 รายได้ธุรกิจหดตัว -5.6% ถึง -2.6%. ค้นเมื่อ 22 กันยายน 2564, จาก https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Restaurant-FB-10-05-21.aspx

สุจิตรา ใจเอื้อ. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7C’s) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการใน Application Foodpanda ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุพริศร์ สุวรรณิก. (2564). ธุรกิจร้านอาหาร… เราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน!. ค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2564, จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_12Jun2021.aspx

สุภาวดี ธงภักดิ์. (2564). แนวทางการปรับเปลี่ยนและพัฒนาการบริการของร้านอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม “ร้านอาหารยามเย็น กรุงเทพมหานคร”. ค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2564, จาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/JLASI/article/view/249558

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ. ค้นเมื่อ 22 กันยายน 2564,จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/Page/sector/TH/report/sector_01_11101_TH_.xlsx

Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16 (3), 297-334.

Kotler, P. (2006). Marketing management. (12th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Pearson Education.

Millet, J.D. (1954). Management in the public service: the quest for effective performance. New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-27