การเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้า โดยใช้ Fastest turning closest to the door Method กรณีศึกษา บริษัทแห่งหนึ่งในอุตสาหกรรมอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยส่วนบุคคล

ผู้แต่ง

  • เฉลียว บุตรวงษ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบชนส่ง คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • สุภาวดี สายสนิท อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์และการจัดการระบบชนส่ง คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

คำสำคัญ:

สินค้าที่มีความเคลื่อนไหวบ่อยวางใกล้ประตู, การจัดการคลังสินค้า, สินค้าคงคลัง

บทคัดย่อ

การทำวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการทำงานภายในคลังสินค้า เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า ในด้านการลดระยะเวลาในการค้นหาสินค้า และลดระยะทางในการหยิบสินค้า โดยข้อมูลที่ใช้ในการทำวิจัยเป็นเชิงปริมาณ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลความเคลื่อนไหวของสินค้าคงคลังภายในคลังสินค้าย้อนหลัง 2 ปี (พ.ศ. 2565 – 2566) โดยศึกษาสาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไข ในการจัดการคลังสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล พบปัญหาคลังสินค้าไม่มีรูปแบบการจัดเก็บที่ชัดเจน วางสินค้าปะปนกัน ส่งผลให้ใช้ระยะเวลาในการค้นหาสินค้านาน ใช้ระยะทางในการหยิบสินค้านาน และหยิบสินค้าผิดพลาด จากปัญหาดังกล่าว คณะผู้วิจัยจึงมีแนวทางการแก้ปัญหา โดยการปรับปรุงรูปแบบการจัดเก็บสินค้าแบบ ABC Analysis แบ่งกลุ่มสินค้าตามการเคลื่อนไหว และใช้หลักทฤษฎีสินค้าที่มีความเคลื่อนไหวบ่อยวางใกล้ประตู (Fastest turning closest to the door Method) 

  ผลการศึกษาพบว่า จากการจัดกลุ่มสินค้าแบบ ABC Analysis โดยมีผลการจัดกลุ่มสินค้าดังนี้ สินค้ากลุ่ม A มีสินค้า 11 รายการ จำนวนสินค้า 42 กล่อง สินค้ากลุ่ม B มีสินค้า 20 รายการ จำนวนสินค้า 45 กล่อง และสินค้ากลุ่ม C มีสินค้า 217 รายการ จำนวนสินค้า 245 กล่อง และนำทฤษฎีสินค้าที่มีความเคลื่อนไหวบ่อยวางใกล้ประตู (Fastest turning closest to the door Method) และทดสอบประสิทธิภาพ ผลที่ได้พบว่า ใช้ระยะเวลาค้นหาสินค้าก่อนปรับปรุง 599.14 ชั่วโมง/เดือน หลังปรับปรุงใช้ระยะเวลาค้นหาสินค้า 451.51 ชั่วโมง/เดือน หรือคิดเป็นร้อยละ 24.64 ก่อนปรับปรุงใช้ระยะทางในการหยิบสินค้า 2,155,481 เมตร/เดือน หลังจากการปรับปรุงใช้ระยะทางในการหยิบสินค้า 1,672,249 เมตร/เดือน หรือคิดเป็นร้อยละ 22.42 แสดงให้เห็นว่าการปรับปรุงรูปแบบการจัดเก็บสินค้าแบบใหม่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น

References

ขวัญวรา หอมทรัพย์. (2560). การประยุกต์ใช้ Linear Programming สำหรับการวางแผนจัดการวัตถุดิบ สำหรับธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ขนาดย่อม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เจนรตชา แสงจันทร์. (2562). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้าโดยการประยุกต์ใช้วิธีการจัดแบ่งวัสดุตามความถี่ในการใช้ กรณีศึกษา บริษัทแห่งหนึ่งในอุตสาหกรรมการพิมพ์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ธิญาดา ใจใหมคร้าม. (2558). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษา คลังสินค้า 2 ราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร องค์การคลังสินค้า. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นฤทธิ์ เกิดวิเมลือง และ เชฐธิดา กุศลาไสยนนท์. (2559). แนวทางการจัดการคลังสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการดำเนินงานเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของอุตสาหกรรมโรงสีข้าวไทย. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีรัตนโกสินทร์.

นพรัตน์ งึดสันเทียะ. (2563). การปรับปรุงแผนผังจัดเก็บวัตถุดิบ กรณีศึกษา โรงงานอิเล็กทรอนิกส์. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์.

นราวิชญ์ มงคลรัชดารมย์. (2559). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษาบริษัท B ซัพพลายเชน จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

นิธิศ ปุณธนกรภัทร์ ปัญญา สำราญหันต์ และคณะ. (2565, มกราคม - มิถุนายน). การพัฒนาระบบคลังสินค้าวัตถุดิบ กรณีศึกษา โรงงานผลิตเสื้อผ้ากีฬา. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์, 22(1), 156-172.

ปฐมพงษ์ หอมศรี และ จักรพันธ์ คงธนะ. (2557, กรกฎาคม – ธันวาคม). การพัฒนาระบบการจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษาบริษัท ติดตั้งและบำรุงรักษาเครื่องจักรของโรงงาน. SME วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 7(2), 42-56.

พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล. (2554). เอกสารประกอบการเรียนวิชาการจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

เมธินี ศรีกาญจน์ และ ชุมพล มณฑาทิพย์กุล. (2555, กันยายน-ธันวาคม). การปรับปรุงประสิทธิภาพตำแหน่งการจัดวางสินค้าในคลัง กรณีศึกษา บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) สาขาสุขสวัสดิ์. WMS Journal of Management, 2(3), 8-20.

วรรณวิภา ชื่นเพ็ชร. (2560). การวางผังคลังสินค้าสำเร็จรูปด้วยเทคนิค ABC ANALYSIS กรณีศึกษา บริษัท AAA จำกัด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สมใจ ลักษณะ. (2552). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

อภิศักดิ์ วงศ์สนิท. (2563). การจัดการคลังสินค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บสินค้า. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

Tompkins, J. A., & Smith, J. D. (1998). The Warehouse Management Handbook. (2nd ed). Raleigh, NC: Tompkins.

Jenkins, G. M., & Watts, D. G. (1968). Spectral Analysis and Its Applications Holden-Day. San Francisco.

Goetschalckx, M. (2003). Supply Chain Engineering. International Series in Operations Research & Management Science. Atlanta, Georgia.

Smith, J.D. (1988). The warehouse management handbook. New York: McGraw- Hill.

Stock, J.R., & Lambert, D.M. (2001). Strategic Logistics Management. (4th Ed). New York: McGraw Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-27