การลดต้นทุนสินค้าคงคลังของร้านกาแฟ Full Service ประเภท Chain Store

ผู้แต่ง

  • สุภาวดี สายสนิท สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
  • เฉลียว บุตรวงษ์ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก

คำสำคัญ:

การพยากรณ์, ลดต้นทุน, จุดสั่งซื้อซ้ำ, การจัดกลุ่มด้วยระบบเอบีซี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการลดต้นทุนสินค้าคงคลังของวัตถุดิบที่ใช้ผลิตเครื่องดื่มของร้านกาแฟ Full Service ประเภท Chain Store และ 2) เสนอแนวทางการปรับปรุงการลดต้นทุนสินค้าคงคลังเพื่อปรับปรุงนโยบายการบริหารสินค้าคงคลัง สำหรับแก้ปัญหาต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลังสูง ที่จัดเก็บไม่เพียงพอ และวัตถุดิบไม่เพียงพอต่อความต้องการผลิตเครื่องดื่ม ใช้รูปแบบการวิจัยแบบเชิงวิเคราะห์แก้ปัญหาเพื่อหาสาเหตุของปัญหาปริมาณวัตถุดิบคงคลังไม่สัมพันธ์กับความต้องการใช้ โดยเลือกวัตถุดิบหลักจำนวน 5 รายการ มาทำการวิเคราะห์แก้ไขเป็นอันดับแรกตามความต้องการเร่งด่วน และเนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่มีปัญหามากที่สุด จากวัตถุดิบที่ใช้ผลิตเครื่องดื่ม    ทั้งหมด 50 รายการ นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ ABC classification analysis ตามหลักการแบ่งกลุ่ม หลังจากนั้นจึงใช้โปรแกรม Minitab (education version) เพื่อทำการพยากรณ์ และ Microsoft Excel ในการวิเคราะห์ข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ข้อมูลยอดการใช้ของวัตถุดิบผลิตเครื่องดื่มของร้านกาแฟ Full Service ประเภท Chain Store ตั้งแต่เดือน มกราคม 2563 - ธันวาคม 2565 และการหาจุดสั่งซื้อใหม่

ผลการวิจัยพบว่า การลดต้นทุนสินค้าคงคลังของร้านกาแฟ Full Service ประเภท Chain Store โดยการใช้นโยบายใหม่ คือ เมื่อถึงจุดสั่งซื้อใหม่่ (Reorder point: ROP) ให้สั่งซื้อเพื่อเติมเต็มจนถึงระดับที่เหมาะสมจะช่วยประหยัดต้นทุนรวมวัตถุดิบคงคลังลง 31,963.65 บาท/ปี คิดเป็นร้อยละ 41.58 สำหรับวัตถุดิบประเภท A ทุกรายการ เมื่อเทียบกับนโยบายการจัดการสินค้าคงคลังแบบเก่า โดยสามารถที่จะขยายผลเพื่อครอบคลุมสินค้าประเภทอื่น และสามารถนำจุดสั่งซื้อและปริมาณสั่งซื้อที่เหมาะสมที่เป็นผลลัพธ์จากงานวิจัยนี้ไปใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นสำหรับการปรับปรุงนโยบายการจัดการสินค้าคงคลังให้มีประสิทธิภาพ

References

กิ่งกาญจน์ ผลิกะ และคณะ. (2559). การบริหารสินค้าคงคลังโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี ABC Classification Analysis เทคนิค EOQ Model และวิธี Silver-Meal: กรณีศึกษา บริษัท XYZ. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 102-114.

กนกกาญจน์ มูลผาลา. (2557). การศึกษาเทคนิคการพยากรณ์ยอดขายสินค้าอุปโภคที่เหมาะสมของบริษัทเอกชน แห่งหนึ่ง. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 3(1), 12-21.

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2556). การจัดการคลังสินค้าและการกระจายสินค้า. กรุงเทพฯ: โฟกัสมีเดีย แอนด์ พับลิชชิ่ง.

ชุติมา สินวัฒนาเกษม และคณะ. (2556). การปรับปรุงกระบวนการบริหารสินค้าคงคลังประเภทวัตถุดิบอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม: กรณีศึกษา บริษัท เอบีซี จำกัด. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 5(1), 117-138.

ณฐา คุปตัษเฐียร. (2558). การวางแผนและควบคุมการผลิต. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐปรียา ฉลาดแย้ม และคณะ. (2559). การวิเคราะห์แบบเอบีซีี ABC Analysis. ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2565, จาก http://sc2.kku.ac.th/stat/statweb/ images/Eventpic/60/Seminar/02_15_.pdf

ธีระพงษ์ ทับพร และคณะ. (2561). การพยากรณ์ยอดขายและการบริหารสินค้าคงคลังของสินค้าคางหมึกยักษ์แช่แข็ง: บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด มหาชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 2(2), 28-41.

ธันย์ชนก จันทร์หอม และคณะ. (2565). การพยากรณ์แบบอนุกรมเวลา เพื่อกำหนดการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุดของโรงงานผลิตยางซิลิโคนแห่งหนึ่ง. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 8(2), 28-49.

แบรนด์ เอก ออนไลน์ (Brand Age Online). (2566). อยากเปิดร้านกาแฟจะเลือกแบบไหนดีใน 4 รสชาติ. ค้นเมื่อ 30 มกราคม 2566, จาก https://brandage.com/article/10298/?

fbclid=IwAR0rJMUzNbQ-Wnplr_uofL_Yrv72v NQeYpGQHkAn9DE9ymWZ0J1YOfbhOpA

ปิยะกิจ กิจติตุลากานนท์. (2560). วิธีการการพยากรณ์ความต้องการปุ๋ยเคมี กรณีศึกษา สหกรณ์การเกษตรชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 10(1), 89-100.

ปรางรวี พันธ์สังวาลย์ และคณะ. (2564). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา บริษัทค้าปลีก: วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 15(3), 391-405.

พิเชฐ พุ่มเกษร และคณะ. (2558). การศึกษารูปแบบการพยากรณ์และการจัดการปริมาณวัสดุคงคลังให้เหมาะสมกรณีศึกษา กล่องบรรจุภัณฑ์. วารสารข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการไทย, 1(1), 14-22.

มนัญณัฏฐ์ โภชนจันทร์. (2564). การลดต้นทุนสินค้าคงคลังของบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อปรับปรุงนโยบายการบริหารสินค้าคงคลัง. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน, 7(2), 18-31.

มนัสนันท์ เซี่ยงว่อง และคณะ. (2561). การปรับปรุงการบริหารสินค้าคงคลัง: กรณีศึกษาร้านดอนซากค้าวัสดุ, วารสารสหศาสตร์, 19(1), 50-82.

วรพล อารีย์ และคณะ. (2563). การประยุกต์ใช้เทคนิค ABC classification analysis เพื่อการจัดสินค้าคงคลังกลุ่มเครื่องปรุงรสและอาหารแห้ง: กรณีศึกษา ห้างสรรพสินค้า XYZ. วารสารวิชาการ มทร. สุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 5(2), 153-166.

วรพล อารีย์ และคณะ. (2564). การบริหารจัดการวัตถุดิบและจัดพื้นที่ผลิตร้านกาแฟด้วยเทคนิค ABC CLASSIFICATION ANALYSIS และแนวคิดการเก็บสินค้าตามความต้องการ : กรณีศึกษา ร้านกาแฟ AAA. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 16(1), 173-186.

ศศิธร ทองประไพ และคณะ. (2565). การปรับปรุงสินค้าคงคลังโดยประยุกต์ใช้การจำแนกประเภทกลุ่มสินค้าและแบบจำลองปริมาณการสั่งซื้อแยกตามลักษณะอุปสงค์ กรณีศึกษาในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 14(3), 137-151.

สุคนธ์ทิพย์ เพิ่มศิลป์ และคณะ. (2561). การควบคุมพัสดุคงคลังประเภทหมึกพิมพ์: กรณีศึกษาบริษัทผลิตกล่องกระดาษลูกฟูก. วิศวกรรมสารฉบับวิจัยและพัฒนา, 29(4), 89-100.

สมชาย เปรียงพรม. (2564). การหาแนวทางการลดต้นทุนการจัดการสินค้าคงคลังด้วยการหาปริมาณการสั่งที่เหมาะสม กรณีศึกษา: ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์ชนิดกล่อง. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 13(26), 175-188.

Abdul Rahim, M. K. I., Hassan, Q., Nadarajah, S. S. R., & Radzuan, K. (2018). A Case Study of Inventory Analysis in a Healthcare Product Manufacturing Company. International Journal of Supply Chain Management, 7(3), 126-130.

Bensoussan A., Çakanyildirim M., Li M., & Sethi S.P. (2016). Managing inventory with cash register information: Sales recorded but not demands. Production and Operations Management, 25(1), 9–21.

Beheshti, H. M., Grgurich, D., & Gilbert, F. W. (2012). ABC Inventory Management Support System with a Clinical Laboratory Application. Journal of Promotion Management, 18(4), 414-435.

Bulfin, R & Sipper, D. (1998). Production Planning, Control and Integration. New York: McGraw-Hill.

Eraslan, E., & Tansel, I.Y. (2019). An improved decision support system for ABC inventory classification.

Evolving Systems, Retrieved 2 October 2022, From https://link.springer.com/ article/10.1007%2Fs12530-019-09276-7

Leelathanapipat J., & Chantuk T. (2019). Professional inventory management. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 1(1), 226-241.

Ramanathan, U., & Muyldermans, L. (2010). Identifying demand factors for promotional planning and forecasting: A case of a soft drink company in the UK. International Journal of Production Economics, 128(2), 538–545.

Sigit Adityawan & Nugraheni Fitri. (2014). Comparative Study of EOQ and POQ Methods in Materials Inventory Cost Efficiency – A Case Study in Block Paving Company. Proceeding of 3rd International Conference on Sustainable Built Environment. October 21 – 22, 2014. Yogyakart: Indonesia.

Sohail, N., & Sheikh, T. H. (2018). A study of inventory management system case study. Journal of Dynamical and Control System, 10(10), 1176-1190.

Soto, D. L., Yacout, S., & Angel-Bello, F. (2016). Inventory ABC Supervised Classification with Logical Analysis of Data. Industrial and Systems Engineering Research Conference (ISERC 2016). Anaheim: California.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-27