ความสามารถในการชำระหนี้ การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงินและความรับผิดชอบต่อสังคม ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง

ผู้แต่ง

  • กฤษฎา อึ้งทองหล่อ นักศึกษาปริญญาโท สาขาบัญชี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • ประเวศ เพ็ญวุฒิกุล อาจารย์คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

ความสามารถในการชำระหนี้, ความรับผิดชอบต่อสังคม, การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน, ความสามารถในการทำกำไร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความสามารถในการชำระหนี้ การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน และความรับผิดชอบต่อสังคม ส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ปี 2562-2564 รวมระยะเวลา 3 ปี จำนวน 107 บริษัท วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในการใช้ทดสอบสมมติฐานการวิจัยเพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระตามสมมติฐานที่ตั้งขึ้นที่มีต่อตัวแปรตาม ซึ่งทำการวัดด้วยความสามารถในการทำกำไร

ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถการชำระหนี้ ประกอบด้วย หนี้สินต่อสินทรัพย์ และหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ต่อความสามารถในการทำกำไร ประกอบด้วย กำไรขั้นต้น กำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่า หนี้สินต่อสินทรัพย์ ไม่มีอิทธิพลต่อกำไรขั้นต้น และหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้นไม่มีอิทธิพลต่อกำไรขั้นต้น การวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน ประกอบด้วย อัตราส่วนทุนหมุนเวียน และอัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็วต่อความสามารถในการทำกำไร ประกอบด้วย กำไรขั้นต้น กำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่า อัตราส่วนทุนหมุนเวียนไม่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการทำกำไร และอัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็วมีอิทธิพลเชิงลบต่อความสามารถในการทำกำไร ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง ความรับผิดชอบต่อสังคม ประกอบด้วย การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และความรับผิดชอบต่อสังคมต่อความสามารถในการทำกำไร ประกอบด้วย กำไรขั้นต้น กำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่า การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมไม่มีอิทธิพลต่ออัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น และความรับผิดชอบต่อสังคมมีอิทธิพลต่ออัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง

References

ณัฐวุฒิ รัตนา, ฐนันวริน โฆษิตคณิน และ นิกข์นิภา บุญช่วย (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อุตสาหกรรมบริการ ธุรกิจโรงแรม (คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี)

ปิยะพร นัดพบสุข (2564). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ)

มารียัม เจ๊ะเต๊ะ (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในโรงเรียนของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น : กรณีศึกษาโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา (วิทยานิพนธ์ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม, สถาบันพัฒนาบริหารศาสตร์)

ภาณะพันธ์ เพ็ชร์ไพศาล (2562). ผลกระทบของอัตราส่วนทางการเงินที่มีต่อการวัดมูลค่าราคาตลาดของหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ คณะบัญชี, มหาวิทยาลัยศรีปทุม)

ว่าที่ร้อยตรีเอกรัตน์ จันทร์ศิริ (2558). ประสิทธิผลการบริหารจัดการการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดกำแพงเพชร (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี)

สมยศ นาวีการ และ ผุสดี รุมาคม (2520). องค์การทฤษฎีและพฤติกรรม กรุงเทพมหานคร ดวงกมล

สุมาลี อุณหะนันทน์ จิวะมิตร (2546). การบริหารการเงิน สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุมาลี อุณหนันทน์ จิวะมิตร (2547). การบริหารการเงิน สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อัญชลี เมืองเจริญ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อุตสาหกรรมพลังงานและสาธารณูปโภค. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 12(1), 111-121.

Field (2000) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-27