การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแชทบอทร้านค้าบนเฟซบุ๊ก

ผู้แต่ง

  • จีรารัตน์ โตพุนพิน สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชมงคลพระนคร
  • รัตนาวลี ไม้สัก สาขาวิชาระบบสารสนเทศ คณะบริหาธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชมงคลพระนคร
  • ธนภณ รัชตกุลพัฒน์ สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชมงคลพระนคร
  • กำพร ศุภเศรษฐ์เทศา สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

การยอมรับเทคโนโลยี, พฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์, การตัดสินใจซื้อสินค้า, แชทบอท

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแชทบอทร้านค้าบนเฟซบุ๊กเป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Method) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ใช้เฟซบุ๊กในประเทศไทยที่มีประสบการณ์ในการซื้อสินค้าผ่านแชทบอทร้านค้าบนเฟซบุ๊ก จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบสโนว์บอล (Snowball Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการ       เก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอ้างอิงที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานคือ สถิติสัมพันธ์เพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

            ผลการศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่าน      แชทบอทร้านค้าบนเฟซบุ๊ก พบว่า ผู้ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุน้อยกว่า 21 ปี มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี สถานภาพโสด มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 15,000 บาท และมีผลจากการทดสอบสมมุติฐานพบว่า การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่าน       แชทบอทของร้านค้าบนเฟซบุ๊กในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ยังสามารถทำนายการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแชทบอทร้านค้าบนเฟซบุ๊กได้อย่าง            มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถทำนายแนวโน้มการตัดสินใจซื้อได้ร้อยละ 52.10  ซึ่งมีสมการทำนายคือ     Y= 1.17+.34A+.37B

References

กนกวรรณ กลับวงศ์. (2562). พฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ การยอมรับเทคโนโลยี และส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออัญมณีเครื่องประดับผ่านสื่อออนไลน์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชัชพัชร์ เตชะเกษมสุข. (2563). การยอมรับเทคโนโลยีและการสื่อสารการตลาดดิจิทัลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรองเท้าออนไลน์ของผู้บริโภค Generation X ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฏฐนันท์ พิธิวัตโชติกุล. (2560). การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในกรุงเทพ. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พีรวัส ปทุมุต์ตรังษี, จรูญ ชำนาญไพร และ เบญจฐา วัฒนกุล (2566). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของวัยรุ่น ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(1), น.1-12.

ภัสรวดี จันทรีเล็ก, สมบูรณ์ ศรีอนุรักษ์วงศ์, และประภัสสร วิเศษประภา. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อแผนบริการสมาชิกของแอปพลิเคชันวิดิโอสตรีมมิ่งเน็ตฟลิกซ์. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วรรณิกา จิตตินรากร. (2561). การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากบริษัทขายตรงผ่านช่องทางออนไลน์. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑติ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศศิมา สุขสว่าง. (2562). การบริการและคุณภาพบริการ. กรุงเทพฯ: เอชซีดี อินโวเวชั่น.

สมฤทัย ปรารถนาพิทักษ์. (2557). หลักการตลาด. นครปฐม: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

สุธาสินี ตุลานนท์. (2562). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อนาวิล ศักดิ์สูง, อัศนีย์ ณ น่าน และ ฑัตษภร ศรีสุข. (2566). การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการสั่งอาหารผ่านทางแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(3), 162-174.

Chu, A. Z-C., & Chu, R. J-C. (2011). The intranet’s role in newcomer socialization in hotel industry in Taiwan-technology acceptance model analysis. The International Journal of Human Resource Management, 22(5), 1163-1179.

Davis, F. (1985). A technology acceptance model for empirically testing new end-user information systems: theory and results. Doctoral Dissertation, MIT Sloan School of Management Cambridge.

Guarda, T., Augusto, M.F. (2022). ChatBots and Business Strategy. In Abraham, A., et al. Innovations in Bio-Inspired Computing and Applications. IBICA 2021. Springer, 419, from https://doi.org/10.1007/978-3-030-96299-9_53

Mitchell, T. M. (2006). The discipline of machine learning. Pittsburg: School of Computer Science, Carnegie Mellon University.

We are social & Hootsuite. (2021). Digital 2021. Retrieved January 29, 2022, from https://wearesocial.com/uk/blog/2021/01/digital-2021-uk

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-27