แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมงานวิ่งแบบวิถีปกติใหม่ : กรณีศึกษา จอมบึงมาราธอน จังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน, กิจกรรมงานวิ่งแบบวิถีปกติใหม่, การพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน กิจกรรมงานวิ่งแบบวิถีปกติใหม่ จอมบึงมาราธอนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันการมีส่วนร่วม ปัญหาอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมงานวิ่งจอมบึงมาราธอน 2) วิเคราะห์ปัจจัยการมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมงานวิ่งจอมบึงมาราธอนแบบวิถีปกติใหม่ และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมงานวิ่งจอมบึงมาราธอนแบบวิถีปกติใหม่ การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนพื้นที่วิจัยจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบล 14 หมู่บ้าน และ 15 โรงเรียน ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมงานวิ่งจอมบึงมาราธอนโดยตรงที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก จำนวน 329 คน โดยใช้แบบสอบถามกึ่งสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักที่ได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 35 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม และการประชุมกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการมีส่วนร่วมของชุมชนในงานวิ่งจอมบึงมาราธอน ซึ่งเป็นงานที่จัดขึ้นโดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ภาคีเครือข่าย และชุมชนในพื้นที่ ภายใต้คำขวัญว่า “งานวิ่งประเพณีของชาวบ้าน ที่มีมาตรฐานเป็นสากล” จัดขึ้นในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมกราคมเป็นประจำทุกปี ลักษณะการมีส่วนร่วมเป็นแบบความสัมพันธ์ “เจ้าภาพร่วมกัน” บริหารจัดการชุมชนที่มีส่วนร่วมโดยประสานงานผ่านผู้นำชุมชน ด้วยวิธีการประชุมกลุ่มย่อย ประชุมกลุ่มใหญ่ ให้ความรู้ สาธิตทดลองปฏิบัติจริง ปัญหาอุปสรรคของการมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมงานวิ่งจอมบึงมาราธอน พบว่า นโยบายของหน่วยประสานงานกลางขาดความชัดเจน ทรัพยากรสนับสนุนไม่เพียงพอ และส่งมอบล่าช้า และการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ชุมชนไม่ต่อเนื่องทันเวลา 2) ปัจจัยสำคัญการมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมงานวิ่งจอมบึงมาราธอนแบบวิถีปกติใหม่โดยรวมมีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาความสำคัญเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความตระหนักของประชาชนในชุมชนด้านบทบาทผู้นำชุมชน ด้านผลประโยชน์ตอบแทน ด้านการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ และด้านนโยบายองค์กร 3) แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมงานวิ่งจอมบึงมาราธอนแบบวิถีปกติใหม่ที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของงานวิ่งจอมบึงมาราธอน ประกอบด้วย 5 แนวทางหลักที่จะบูรณาการอย่างมีส่วนร่วม ได้แก่ 1) การสร้างความตระหนักของประชาชนในชุมชน 2) การส่งเสริมบทบาทผู้นำชุมชน 3) การแบ่งปันผลประโยชน์ตอบแทน 4) การพัฒนาการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ และ 5) การกำหนดนโยบายองค์กรแกนนำ (มหาวิทยาลัย)
References
กิตติภัฏ ฐิโณทัย. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ที่ก่อให้เกิดความสำเร็จของการท่องเที่ยวโดยชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนบ้านบางน้ำผึ้ง จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ไกรศร วันละ และยุภาพร ยุภาศ. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. วาสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 8(2), 391-404.
คณะกรรมการวางแผนและขับเคลื่อนโครงการจอมบึงมาราธอน. (2565, 1 พฤศจิกายน). คณะกรรมการวางแผนและขับเคลื่อนโครงการจอมบึงมาราธอน มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี, สัมภาษณ์.
ณรงค์ เทียมเมฆ. (2565, 20 มกราคม). ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), สัมภาษณ์
ถวิลวดี บุรีกุล. (2552). การมีส่วนร่วม แนวคิด ทฤษฎีและกระบวนการ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ส.เจริญการพิมพ์.
ธงชัย คล้ายแสง, บุญทัน ดอกไธสง และนัยนา เกิดวิชัย. (2562). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬาโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์. บัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(4), 823-840.
นงลักษณ์ เพิ่มชาติ และเสรี เพิ่มชาติ. (2564). คู่มือการบริหารจัดการความร่วมมือภาคประชาสังคมในการจัดงานวิ่งระดับชุมชน. หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปิยะธิดา ปาลรังสี. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการท่องเที่ยวโดยชุมชนอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัฐ จิโรจน์วณิชชากร. (2564, 8 พฤศจิกายน). ผู้บริหารสมาคมการค้าผู้จัดงานกีฬามวลชนไทย (Thai Mass Participation Sports Trade Association : TMPSA), สัมภาษณ์.
วิ่งไหนดี. (2561). อันดับงานวิ่งประจำปี 2561. ค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2564, จาก
http://www.wingnaidee.com/ranking/allevents2018/.
สมจินตนา คุ้มภัย. (2559, พฤษภาคม–สิงหาคม). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชาวชุมชนในองค์การบริหารส่วนตำบลต้นแบบที่บูรณาการแผนชุมชนสู่แผนพัฒนาท้องถิ่น จังหวัดนครศรีธรรมราช. Veridian E-Journal SU, 9(2), 733-748.
สัจจา ไกรศรรัตน์ และคนอื่น ๆ. (2564). การพัฒนาการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเชิงกีฬาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจกรรมการวิ่งบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่น. หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.).
สันติ พัฒน์พันธุ์. (2562, กันยายน-ธันวาคม). การมีส่วนร่วมของประชาสังคมในการบริหารการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น. Journal of Administrative and Management, 7(3), 1-11.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563). คู่มือจัดการแข่งขันวิ่งบนถนน และมาตรการจัดการแข่งขันภายใต้การแพร่ระบาด COVID-19. ค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2563, จาก https://www.thaihealth.or.th.
Arnstein, Sherry R. (1969, July,). A Ladder of Citizen Participation. Journal of the American Planning Association, 35 (1969), 216-224.
Blomgren , L. B. & O’Leary, R., (2008). Big Ideas in Collaborative Public Management. New York: Routledge.
Department Sport and Recreation South Africa. (2012). National Sport Tourism Strategy. First Draft, Sport and Recreation South Africa, Republic of South Africa.
Kyriaki, K. (2006). The Impact of Sport Tourism Event Image on Destination Image And Intentions to Travel : a Structural Equation Modeling Analysis. Doctor of Philosophy Department of Park, Recreation and Tourism Resources Michigan State University.
Penang Marathon. (2009). How A Marathon Boosts the Penang Tourism Industry, Press Statement by YB Danny Law Heng Kiang Chairman of The Penang Bridge International Marathon Dated 16th August 2009, Penang Malaysia.
Talo`, C., Mannarini, T. & Rochira, A. (2014). Sense of Community and Community Participation: A Meta-Analytic Review. Social Indicators Research, 117(1), 1–28. https://doi.org/10.1007/s11205-013-0347-2
Wollabaek, D., & Selle, P. (2003). Participation and Social Capital Formation: Norway in a Comparative Perspective. Scandinavian Political Studies, 26(1), 67–91.