การจัดการความรู้ด้านงานวิจัยเรื่อง “ลุ่มลึกวิจัย”
คำสำคัญ:
การจัดการความรู้, งานวิจัย, ลุ่มลึกวิจัยบทคัดย่อ
หนึ่งในพันธกิจหลักของความเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่นอกเหนือจากการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ การวิจัย โดยเป็นกระบวนการค้นหาความรู้ ความจริงใหม่ที่มีระบบแบบแผนตามหลักวิชา อาศัยหลักเหตุผล ที่รอบคอบ รัดกุม ละเอียด และเชื่อถือได้ อันมีประโยชน์เชิงวิชาการเชิงนโยบาย เชิงพาณิชย์ การจัดการเรียนการสอน การสร้างองค์ความรู้ใหม่ เกิดข้อค้นพบใหม่ หรืออื่น ๆ ทั้งนี้อาจารย์จำเป็นต้องเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย เพื่อเสนอของบประมาณสนับสนุนพันธกิจวิจัยดังกล่าว ก่อให้เกิดคำถามว่า จะเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเรื่องใดที่มีความสุขและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งไม่เครียดกับโจทย์วิจัยที่ต้องคิดใหม่ทุกครั้ง ทุกปี ทั้งนี้แนวคิด “ลุ่มลึกวิจัย” เป็นกระบวนการทำงานในการเลือกโจทย์วิจัยหรือทำงานวิจัยที่มีความสุขและมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีความต่อเนื่อง โดยมีลักษณะการทำงานที่สำคัญ 2 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ลุ่มลึกเลือกโจทย์วิจัย โดยแสวงหาความลงตัวจากสิ่งที่รักและถนัด สิ่งที่ช่วยแก้ไขปัญหาของสังคม และสิ่งที่ตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรที่สนับสนุนทุนวิจัย 2) ลุ่มลึกต่อเนื่องวิจัย ซึ่งเน้นฐานคิดการทำงานที่ทำให้ได้โจทย์วิจัยใหม่ โดยวิจัยปัญหาที่ต่อเนื่อง และ/หรือการขยายขอบเขตกลุ่มเป้าหมายวิจัย
References
จริยา ปันทวังกูร และกิตติศักดิ์ ดียา. (2563). การจัดการความรู้ในสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 10(3), 289-303.
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2560). โมเดล กพร.การจัดการความรู้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.). ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2566, จาก https://kmced.blogspot.com/p/blog-page_29.html.
วรภัทร์ ภู่เจริญ. (2561). Ikigai ความหมายของการทำงาน. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2566, จาก https://shorturl.asia/I2Nhb.
สถาบันปรีดี พนมยงค์. (2565). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2566, จาก https://pridi.or.th/th/content/2022/05/1081.
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2548). การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จิรวัฒน์เอ็กซ์เพรส.
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม. (2550). สังคมสุขสันต์มหัศจรรย์ KM. กรุงเทพฯ: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
สำนักงานประกันคุณภาพ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. (2564). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พ.ศ. 2562 ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564. ยะลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
อัปสร อีซอ. (2566). ผลงาน “แนวปฏิบัติที่ดี”คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2566, จาก
https://drive.google.com/file/d/1I1oqFHB_DH1NwBAZZKFM5TkgLvJRy3VV/view.
Elaine Elliott, M. (2022). The Growth Mindset Workbook. Oakland : New Harbinger Publications Inc.
Hislop, D., Bosua, R. & Helms, R. (2018). Knowledge Management in Organizations: A Critical Introduction. (4th ed). Oxford, NY: Oxford University Press.