สิทธิชุมชนกับการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว :ภูชี้ฟ้า ภูชี้ดาว และภูชี้เดือน อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • อดิศร ภู่สาระ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

สิทธิชุมชน, การจัดการธุรกิจการท่องเที่ยว, ภูชี้ฟ้า, ภูชี้ดาว, ภูชี้เดือน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องสิทธิชุมชนกับการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวภูชี้ฟ้า ภูชี้ดาว และภูชี้เดือน อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการท่องเที่ยวภูชี้ฟ้า ภูชี้ดาว และภูชี้เดือน และ 2) เพื่อศึกษาการใช้สิทธิชุมชนกับการจัดการท่องเที่ยว ภูชี้ฟ้า ภูชี้ดาวและภูชี้เดือน อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการศึกษาเฉพาะกรณีเชิงพรรณนา โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 คนจากตัวแทนผู้ประกอบการท่องเที่ยว ได้แก่ ผู้ประกอบการที่พัก ผู้ประกอบการรับส่งนักท่องเที่ยว และผู้ประกอบการสินค้าและของที่ระลึกจำนวน 15 คน และผู้นำชุมชนจำนวน 6 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการจำแนกข้อมูล และพิจารณาคุณภาพงานวิจัยด้วยวิธีการตรวจสอบแบบสามเส้าด้านข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า

1.ประกอบการท่องเที่ยวเป็นราษฎรอาสาสมัครโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงตามแนวชายแดน กองทัพภาคที่ 3 มีอาชีพหลักคือ การเกษตร ส่วนการประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวเป็นอาชีพรอง โดยใช้สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรร่วมเพื่อประกอบธุรกิจการท่องเที่ยว ฤดูการท่องเที่ยวจะอยู่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ อันเป็นช่วงฤดูหนาว ธุรกิจที่มีการลงทุนสูงคือ ที่พัก รองลงมาคือ การรับส่งนักท่องเที่ยว และการจำหน่ายสินค้าและของที่ระลึก โดยมีรายได้จากธุรกิจการท่องเที่ยวน้อยกว่ารายได้จากการเกษตร

            2. สิทธิชุมชนกับการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว เป็นสิทธิการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยว ราษฎรใช้ประโยชน์จากพื้นที่ที่ได้รับการจัดสรรสร้างที่พัก การใช้ระบบบริการสาธารณะ ได้แก่ ถนน และระบบประปาภูเขาชุมชน รวมถึงการสร้างเส้นทางเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ผู้ประกอบการท่องเที่ยวร่วมกันกำหนดราคาสินค้าและการบริการนักท่องเที่ยว การควบคุมพฤติกรรมนักท่องเที่ยว การจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งการกีดกันผู้ประกอบการภายนอกชุมชน ไม่ให้เข้ามาประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในพื้นที่ ปัญหาของการจัดการท่องเที่ยวคือ ปริมาณของนักท่องเที่ยวที่ลดลง การจัดการขยะในพื้นที่ และความไม่มั่นคงในธุรกิจจากนโยบายรัฐด้านการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติภูชี้ฟ้า

References

จิตรลดา ปิ่นทอง. (2564). ผลกระทบของการพัฒนาการ ท่องเที่ยวที่มีต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชนจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 16(58), 34-45.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ : เพรส แอนดีไซน์.

ปานาโยตู, ธีโอดอร์ (Panayotou, Theodore). (2525). เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสวัสดิการสังคม ความล้มเหลวของระบบตลาดและการจัดสรรทรัพยากร (ชัยพัฒน์ สหัสกุล, ผู้แปล). ใน สุธาวัลย์ เสถียรไทย และเรณู สุขารมณ์ (บรรณาธิการ). เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติ. กรุงเทพฯ : ส่องศยาม.

พงศ์เสวก อเนกจำนงพร และนวพร ศิริบันเทิงศิลป์. (2555). สิทธิชุมชนกับการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ในสังคมไทย.วารสารนักบริหาร, 32(1), 183-189.

พชรดนัย วัชรธนพัฒน์ธาดา. (2565). ความสัมพันธ์ของการบังคับใช้กฎหมายด้านการท่องเที่ยวกับการพัฒนาท้องถิ่นด้านการท่องเที่ยวในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารมจรการพัฒนาสังคม, 7(2), 237-247.

พิมพ์ประไพ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และชัยณรงค์ เครือนวน. (2562). สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติใน ท้องถิ่น หลักคิดและความเป็นจริงทางสังคม: กรณีศึกษาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก. วารสารทางการเมือง การบริหารและกฎหมาย, 11(3), 39-63.

พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม และคณะ. (2559). สิทธิชุมชนกับกระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาบ้านคำไผ่-โนนสง่า จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการบริหารการปกครอง, 5(2), 198-220.

ไพสิฐ พานิชกุล. (2546). สิทธิชุมชน ปัญหาและพัฒนาการทางความคิด. ใน ชลธิชา สัตยาวัฒนา (บรรณาธิการ). สิทธิชุมชนท้องถิ่นพื้นเมืองดั้งเดิมล้านนา กรณีศึกษาชุมชนลัวะ ยวน ลื้อ ปกาเกอะญอ(กะเหรี่ยง) ในจังหวัดน่าน เชียงรายและเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : นิติธรรม.

ภูวดล บัวบางพลู. (2561). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(2), 91-101.

เลิศชาย ศิริชัย. (2546). สิทธิชุมชนและปัญหาสิทธิชุมชนท้องถิ่นภาคใต้. ใน ชลธิรา สัตยาวัฒนา (บรรณาธิการ). พลวัตสิทธิชุมชนกระบวนทัศน์ทางมานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ : แปลนพริ้นติ้ง.

ศรีราชา เจริญพานิช. (2557). สิทธิชุมชน :สิทธิในที่ดินของชุมชนเกษตรกรรม. วารสารศาลรัฐธรรมนูญ, 18(52), 224- 237.

สมศักดิ์ มกรมณเฑียร และคณะ. (2559). การพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐานในพื้นที่วนอุทยานภูชี้ฟ้า อำเภอ เทิง จังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 9(1), 82-96.

เสวียน เปรมประสิทธิ์ สกิณา อินจินดา และสุภาพร พงศ์ธรพฤกษ์. (2564). องค์ประกอบของขยะและแนวทางการจัดการขยะในแหล่งท่องเที่ยว ภูทับเบิก จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารทางวิชาการ วิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์, 2564(2), 1-11.

อดิศร ภู่สาระ และสุมาลินี สาดส่าง. (2564). การจัดการทรัพยากรร่วม. วารสารวิเทศศึกษา, 1(2), 93-114.

อัจฉริยาพร คันธมาลาเจริญ. (2564). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวในแนวทางการท่องเที่ยว 4.0 กรณีศึกษาพื้นที่ตำบลกี้ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางผังเมืองและสภาพแวดล้อม, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

อารตี อยุทธคร. (2561). การปรับตัวของชุมชนผ่านโครงการ ลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศใน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารจัดการสิ่งแวดล้อม, 14(2), 16-41.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-27