ต้นทุนและผลตอบแทนการบริหารทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนใน จ.เพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • รัญชิดา เบริล สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • กนกพร บุญธรรม สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

คำสำคัญ:

ต้นทุน, ผลตอบแทน, การบริหารทรัพยากร, การท่องเที่ยว, วิสาหกิจชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการต้นทุนการท่องเที่ยว เพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทน และเพื่อศึกษาการบริหารจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเพชรบุรี เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบุรีที่ยังดำเนินงานอยู่ในปัจจุบัน จำนวน 5 ชุมชน ได้แก่ (1) วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชุมชนเมืองเพ็ชร์ (2) วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวชุมชนโดยชุมชน ต.ถ้ำรงค์ (3) วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านไร่สะท้อน ถ้ำรงค์ (4) วิสาหกิจชุมชนสมุนไพรและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เฮิร์บโซน (5) วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ (โฮมสเตย์บ้านถ้ำเสือ) ผลการวิจัย พบว่า ในการบริหารชุมชนท่องเที่ยว ต้นทุนการให้บริการมีสัดส่วนของต้นทุนค่าแรงผู้ปฏิบัติงานมากที่สุดและจากการวิเคราะห์ผลตอบแทนพบว่าชุมชนมีสมรรถภาพในการทำกำไรสูงแต่ยังมีการบริหารจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีประสิทธิภาพต่ำ การใช้สินทรัพย์ในการสร้างรายได้ที่ยังไม่ได้ประสิทธิภาพอยู่ในระดับต่ำกว่า 1

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2563). รายชื่อวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน. ค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2563, จากhttp://smce.doae.go.th/ProductCategory/SmceCategory.php

กรองแก้ว โตชัยวัฒน์, กัลยา ปรีดีคณิต และ ธรรมรุจา อุดม และคณะ. (2561). ต้นทุนต่อหน่วยและจุดคุ้มทุนของงานบริการผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ จังหวัดชลบุรี. วารสารกรมการแพทย์, 43(4), 122-126.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ ปี 2562. ค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.mots.go.th/News-link.php?nid=13040

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเพชรบุรี. (2563). รายงานสถานการณ์นักท่องเที่ยวของจังหวัดเพชรบุรี ปี 2562. ค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2563, จาก https://phetchaburi.mots.go.th/download/statistic%20on%202019.pdf

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2539). การพัฒนาการท่องเที่ยวในทิศทางที่ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ฐาปนา ฉิ่นไพศาล. (2555). การจัดการการเงิน. กรุงเทพฯ: ยงพลเทรดดิ้ง.

พิชญานันท์ อมรพิชญ์. (2556). ต้นทุนและผลตอบแทนการบริหารทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่ (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พลชัย ลิมวิภูวัฒน์. (2538). คู่มือปฏิบัติการลดต้นทุนในสถานประกอบการ. กรุงเทพฯ: ประชาชน.

สมพร ประกอบชาติ และคณะ. (2552). การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครูภูมิปัญญาตาลโตนดจังหวัดเพชรบุรี. อัดสำเนา.

สมหมาย อุดมวิทิต. (2562). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติวังน้ำเขียว-ป่าเขาภูหลวง. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 6(2), 141-158.

สำนักงานจังหวัดเพชรบุรี. (2557). แผนพัฒนาจังหวัดเพชรบุรี(2557-2560). เพชรบุรี: กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเพชรบุรี.

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2561). ความเป็นมาสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. ค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2561, จากhttp://www.sceb.doae.go.th/Ssceb1.htm

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-27