แนวทางการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของกลุ่มอาชีพมัดย้อมด้วยแบบจำลองธุรกิจ

ผู้แต่ง

  • มนสิชา อนุกูล สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ความได้เปรียบทางการแข่งขัน, กลุ่มอาชีพ, มัดย้อม, แบบจำลองธุรกิจ

บทคัดย่อ

  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบริบทและสภาพปัจจุบันของการดำเนินงานเชิงธุรกิจของกลุ่มอาชีพมัดย้อม ตำบลบางขะแยง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยการตั้งชื่อผลิตภัณฑ์และการออกแบบตราสินค้าผลิตภัณฑ์มัดย้อม และ 3) เพื่อพัฒนาแนวทางสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของกลุ่มอาชีพมัดย้อมด้วยแบบจำลองธุรกิจ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสมาชิกกลุ่มอาชีพมัดย้อมจำนวน 15 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มอาชีพมัดย้อม ตำบลบางขะแยง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เกิดจากการรวมกลุ่มกันของสมาชิกในชุมชนเพื่อร่วมกันหารายได้ โดยเริ่มจากความชอบของสมาชิกกลุ่มในผลิตภัณฑ์มัดย้อม จึงได้ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง ประกอบกับมีหน่วยงานราชการเข้ามาให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการทำมัดย้อม จึงเกิดการออกแบบ พัฒนาผลิตภัณฑ์ และจัดจำหน่ายเรื่อยมา โดยมีมุ่งเน้นคุณภาพและมีสีสันสดใส 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยการตั้งชื่อและออกแบบตราสินค้าผลิตภัณฑ์มัดย้อม โดยสมาชิกกลุ่มอาชีพมัดย้อมร่วมกันตั้งชื่อและลักษณะของตราสินค้า ทำให้ทราบถึงความต้องการและความหมายของชื่อและตราที่จะสื่อถึงกลุ่มอาชีพมัดย้อม ตำบลบางขะแยง 3) การหาแนวทางสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของกลุ่มอาชีพมัดย้อมด้วยแบบจำลองธุรกิจ มี 3 แนวทาง คือ การสร้างความแตกต่างด้านคุณภาพ การทำการตลาดให้ตรงกับลูกค้าเฉพาะกลุ่ม และการขายผ่านช่องทางออนไลน์

References

กิตติคุณ นิมิตแสงเทียน, พิชญา ตันติอำไพวงศ์ และกุลกนิษฐ์ คุณาธิกรกิจ. (2561). การพัฒนาแบบ จำลองธุรกิจเชิงกลยุทธ์ธุรกิจค้าวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้าง. ใน การประชุมวิชาการระดับ ชาติและนานาชาติด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี 2561. นวัตกรรมเพื่อการเปลี่ยนแปลงองค์กร สู่การดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน. (หน้า 397-413). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กนกวรรณ ไทยประดิษฐ์ และฐะปะนีย์ ตรีรัตนภรณ์.(2559). เครือข่ายสังคมค้าขายออนไลน์: คุณลักษณะของความต่างที่เป็นตัวเลือกระหว่างเฟซบุ๊ก ไลน์และอินสตาแกรม. วารสารนักบริหาร, 36(2). 24-38.

เขมิกา ธนธำรงกุล และคณะ. (2563). โมเดลธุรกิจเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจจำหน่ายเครื่องจักรกลการเกษตร ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราช ภัฏศรีษะเกษ, 14(2). 51-62.

ชลกาญจน์ สถะบดี. (2564). การศึกษาองค์ประกอบทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 กลยุทธ์การตลาดเพื่อเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนศิลปะประดิษฐ์และของที่ระลึกเซรามิค โดยใช้ภูมิปัญญาแบบผสมผสานด้วยแบบจำลองธุรกิจ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคม ศาสตร์, 8(1), 174-193.

ฐาปนา ฉินไพศาล. (2559). องค์การและการจัดการ. นนทบุรี: ธนธัชการพิมพ์.

มนสิชา อนุกูล. (2565). แนวทางการจัดการส่งเสริมกลุ่มอาชีพชุมชน ตำบลบางขะแยง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(1), 137-146.

รัฐพล ภุมรินทร์พงศ์ และคณะ. (2562). การพัฒนาอาชีพกลุ่มผู้นำสตรี ชุมชนบ้านสันติสุข ตำบลน้ำริม อำเภอเมือง จังหวัดตาก. วารสารวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 3(2), 55-63.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการ ตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

สมพันธ์ เตชะอธิก. (2540). การพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชาวบ้าน. ขอนแก่น: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Osterwalder, A. and Pigneur, Y. (2009). Business Model Generation. Amsterdam, Netherlands: Modderman Drukwerk.

Porter, M.E. (1985). Competitive strategy techniques for analyzing industries and competitors. New York: Free press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-27