การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้ากัญชงบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นชนเผ่าชาติพันธุ์ บ้านป่าคาใหม่ ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • พรรณธิภา เพชรบุญมี คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก

คำสำคัญ:

การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์, การถ่ายทอดเทคโนโลยี, ผ้ากัญชง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้ากัญชงบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นชนเผ่าชาติพันธุ์บ้านป่าคาใหม่ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก 2) เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้ากัญชงบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นชนเผ่าชาติพันธุ์บ้านป่าคาใหม่ ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้ากัญชงบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นชนเผ่าชาติพันธุ์ บ้านป่าคาใหม่ ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปักลายผ้า  กัญชงบ้านป่าคาใหม่ ตำบลคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) เมื่อเสร็จสิ้นจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้ากัญชงแบบมีส่วนร่วมของชุมชนแล้ว สมาชิกวิสาหกิจชุมชนปักลายผ้ากัญชงบ้านป่าคาใหม่ ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ จำนวน 2 รูปแบบ คือ ตะกร้าใส่ของผ้ากัญชงปักลายและเข็มกลัดติดเสื้อผ้ากัญชง และ 2) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยี พบว่า ผู้เข้ารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีครั้งนี้มีความพึงพอใจในภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.71 ซึ่งสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนปักลายผ้ากัญชงบ้านป่าคาใหม่ หลังจากเข้าร่วมโครงการนี้แล้ว สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์รูปแบบอื่น ๆ เพื่อจัดจำหน่ายส่งผลให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2562). ใยกัญชงมหัศจรรย์เส้นใยแห่งสายวัฒนธรรมชาวเขาเผ่าม้ง. วารสารวัฒนธรรม, 58(1), 112-117.

เครือวัลย์ มาลาศรี. (2562). การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการทอผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติและการผลิตสีย้อมธรรมชาติชุมชนเทศบาลตำบลสะอาด อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. ใน การประชุมด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 2 (หน้า489-499). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น.

ญาณิศา โกมลสิริโชค. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากผ้าทอกะเหรี่ยงเพื่อสร้างเอกลักษณ์ของอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่. ใน การประชุมวิชาการนเรศวรวิจัย ครั้งที่ 13 (หน้า 1480-1494). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

แน่งน้อย พงษ์สามารถ. (2549). จิตวิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : เอส เอ็ม เอ็ม.

นลินี ทองประเสริฐ, ปิยกนิฎฐ์ โชติวนิช และศุภกัญญา เกษมสุข. (2563). การพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ Premium OTOP ด้วยทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติของกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านหัวเมือง อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร, วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, 15(1), 95-108.

ปูริดา วิปัชชา และอนุชา แพ่งเกสร. (2565). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือโดยการมีส่วนร่วมของผู้ผลิต นักออกแบบ ผู้จัดจำหน่าย และผู้บริโภค จังหวัดมุกดาหาร. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13 (หน้า 2836-2849). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

พรชนก ทองลาด และคณะ. (2563). แนวทางการพัฒนาชุมชนต้นแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าชนเผ่า เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่, 12(1), 57-76.

พรชัย ปานทุ่ง. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอแบบมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านภูทอง จังหวัดสุโขทัย. วารสารเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 11(4), 331-345.

วีรยุธ เลพล, ชิษณุพงศ์ อยู่พุ่ม, ศุภวิชญ์ ดีสม. (2561). รูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีพลังงานทดแทนแบบชุมชนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน กรณี:การสร้างระบบผลิตแก๊สชีวภาพ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร. สุวรรณภูมิ, 3(1), 66-74.

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

เสาวนีย์ วิจิตรโกสุม, อุ่นเรือน เล็กน้อย. (2560). การถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมงานวิจัยสู่การนำไปใช้ในพื้นที่. วารสารสิ่งแวดล้อม, 21(3), 19-28.

สุกัญญา พยุงสิน. (2563). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนตามแนวทางการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี: กรณีศึกษา บ้านวังขรณ์ หมู่11 ตำบลโพชนไก่ อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี, วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, 16(2), 45-58.

องค์การถ่ายทอดองค์ความรู้และเป็นส่วนร่วมกับงานวิจัยโปรตอนจากทวีปยุโรป. (2560). ความหมายของ Technology Transfer. ค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2566, จากhttp://www.protoneurope.org/ความหมายของ-technology-transfer/

สุดาดวง เรืองรุจิระ. (2538). นโยบายผลิตภัณฑ์และราคา. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์.

อมาวสี อัมพันศิริรัตน์ และพิมพิมล วงศ์ไชยา. (2560). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: ลักษณะสำคัญและการประยุกต์ใช้ในชุมชน, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(6), 192-202.

อ้อยทิพย์ พลศรี. (2545). การออกแบบลวดลาย. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

อัมพร เจือจันทร์ และวรนุช แบบนา. (2562). การพัฒนาศักยภาพและการเรียนรู้เชิงธุรกิจของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 3(2), 13-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-27