คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์หลักสูตรบัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต
คำสำคัญ:
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์, กรอบมาตรฐานของคุณวุฒิ, ผู้ใช้บัณฑิต , ความต้องการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์หลักสูตรบัญชีบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีที่ตรงกับการรับรู้ ความต้องการและเปรียบเทียบการรับรู้และความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างจากประชากร คือ ผู้ใช้บัณฑิตสาขาวิชาการบัญชี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ จำนวน 420 คน ความคลาดเคลื่อนเท่ากับ .05 ขนาดของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 201 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามการรับรู้ของผู้ใช้บัณฑิต ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ “จิตอาสา พัฒนาสังคม” มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และลำดับสุดท้าย คือ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2) คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก คือ ด้านอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ “จิตอาสา พัฒนาสังคม” มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านทักษะระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านปัญญา และลำดับสุดท้าย คือ ด้านคุณภาพบัณฑิตตามวิชาชีพบัญชีมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3) ผลการเปรียบเทียบ พบว่า การรับรู้ที่แตกต่างกันมีผลต่อความต้องการของผู้ใช้บัญชีมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรบัญชีบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
ฐิติมา จุลจินดา และ พัชรินทร์ บุญนุ่น. (2561). คุณลักษณะของบัณฑิตสาขาการบัญชีที่สถานประกอบการในจังหวัดสงขลาต้องการ (รายงานการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
พรชนก ทองลาด กาญจนา คุมา สุธีรา และ ทิพย์วิวัฒน์พจนา. (2559). คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏลำปาง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 6(1), 76-89.
พิไลวรรณ จันทรสุกรี. (2540). ความคาดหวังในงานของนักศึกษาพยาบาลปีที่สี่วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีในเขตภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. (2563). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (Thailand Qualification Framework For Higher Education, TQF: HEd). ค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2563, จาก http://www.elfit.ssru.ac.th/prawit_so/pluginfile.php/61/mod_page/content/3/whatTQF.pdf.
วัชรินทร์ แพงศรี และ ธีระ ฤทธิรอด. (2557). แนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามกรอบ มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF: HEd) ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2560, จาก https://gsbooks.gs.kku.ac.th
ศิริลักษณ์ ศุทธชัย และคณะ. (2561). คุณลักษณะของมหาบัณฑิตปัจจุบันและที่พึงประสงค์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา. รายงาน สืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี 2561 (หน้า 311-327). ขอนแก่น.
สำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม. (2563). มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการบัญชี. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2563, จาก http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/news/data6/Bachelor%20of%20Accountancy-2562_m1.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักสหกิจศึกษาและแนะแนวอาชีพของมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. (2563).ข้อมูลผู้ใช้บัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2563. นนทบุรี: มหาวิทยาลัย ราชพฤกษ์.
สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2552). แนวคิดพื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ: พริ้นท์.
สุธรรม รัตนโชติ. (2553). การวิจัยเชิงพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: ท็อป.
อนุ ธัชยะพงษ์ และคณะ. (2562). คุณลักษณะบัณฑิตสาขาวิชาการบัญชีที่พึงประสงค์ตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. ใน รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 (หน้า246-255). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
McClelland, D.C. (1985). Human motivation. Chicago: Scott, Foresman.
Schiffman, G., & Kanuk, L. (2000). Customer behavior. Englewood Cliff: PrenticeHall