การสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพในศตวรรษที่ 21
คำสำคัญ:
การสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพ, ศตวรรษที่ 21, ทักษะจำเป็นบทคัดย่อ
บทความนี้อธิบายการสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพในศตวรรษที่ 21 จากสถานการณ์ที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) ปลายปี 2564 ได้ส่งผลกระทบต่อผู้คน เศรษฐกิจ สังคมและธุรกิจ การปรับตัวของภาคธุรกิจ ซึ่งภาคธุรกิจจำเป็นต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อให้ธุรกิจของตนสามารถอยู่รอดจากภาวะปัจจุบันได้ อีกทั้งความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 ที่มีส่วนกระทบต่อการดำเนินงานของธุรกิจ ทำให้เกิดธุรกิจแนวใหม่เพิ่มขึ้น ประกอบกับพฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันมีการปรับตัวให้ทันต่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ต่างไปจากเดิม มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น การใช้แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ในการซื้อสินค้าหรือบริการ การชำระเงิน เป็นต้น ธุรกิจหนึ่งที่มีการพัฒนาและเกิดขึ้นที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 นี้ คือ “ธุรกิจสตาร์ทอัพ” ซึ่งเป็นกิจการที่เริ่มต้นธุรกิจจากจุดเล็ก ๆ สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด ออกแบบให้ธุรกิจสามารถทำได้ง่ายและขยายกิจการได้ง่าย มีการนำเทคโนโลยี และ/หรือ นวัตกรรมมาใช้เป็นหัวใจหลักในการสร้างธุรกิจ เป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นจากแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน การมองเห็นโอกาสทางธุรกิจที่ยังไม่มีใครเคยคิดหรือดำเนินธุรกิจมาก่อน นำความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจ ซึ่งการเป็นเจ้าของธุรกิจสตาร์ทอัพเป็นอาชีพในฝันที่หลาย ๆ ผู้ประกอบการสนใจดำเนินธุรกิจ เพราะนอกจากผู้ประกอบการจะมีกิจการเป็นของตนเองแล้ว ยังมีอิสระในการทำงานหารายได้ มีโอกาสสร้างรายได้หากธุรกิจประสบความสำเร็จ ในการสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพให้อยู่รอดในภาวะปัจจุบันและในศตวรรษที่ 21 นี้ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับตัว เนื่องจากแรงผลักดันที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป จะต้องใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพ อาทิเช่น การใช้แอปพลิเคชั่น สื่อออนไลน์ต่าง ๆ รวมทั้งทักษะที่จำเป็นของการทำงานในศตวรรษที่ 21 มาช่วยเสริมการประกอบธุรกิจ เช่น ธุรกิจครอบครัว เพื่อสร้างโอกาส สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในอาชีพธุรกิจสตาร์ทอัพของตนในศตวรรษที่ 21 และในอนาคตต่อไป
References
กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2562). การเป็นผู้ประกอบการและการสร้างธุรกิจใหม่. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ธนรรกรณ์ เศรษฐ์จินดา และนฤทธิ์ วรพงษ์ดี. (2562). Startup fundraising โลกการระดมทุนสตาร์ทอัพ. กรุงเทพฯ : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
ณฐวัฒน์ ล่องทอง. (2564). การปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 (เพื่อความสุข (ใจ) ในการทำงาน). จากhttps://portal.
nurse.cmu.ac.th
บุญร่วม เทียมจันทร์. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) พร้อมหัวข้อเรื่องทุกมาตรา ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : THE LAW GROUP.
มฑุปายาส ทองมาก. (2564). เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อธุรกิจ. ปทุมธานี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิชญะ น้อยมาลา. (2564, มกราคม-เมษายน). ทักษะจำเป็นของการทำงานในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 3(1), 45-56.
ศิรินันท์ เหลืองอภิรมณ์. (2564). ธุรกิจดิจิทัลผ่านสื่อสังคมออนไลน์. กรุงเทพฯ : วี.พริ้นท์ (1991).
สุพเนตร แสนเสนา และคณะ. (ม.ป.ป.). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของธุรกิจ Startup. จาก http://sc2.kku.ac.th/stat/statweb/images/Eventpic/60/Seminar/01_1_Startup.pdf
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ประกาศ เรื่องยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF
Kirsten Slyter. (2562). Do You Have the 21st Century Skills Today’s Employers Are Seeking?. จาก https://www.rasmussen.edu/student-experience/ college-life/21st-century-skills/