การพัฒนาการทำบัญชีครัวเรือนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มแม่บ้าน หมู่ที่ 4 ตำบลท่าช้าง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • เนตรนิภา เจียมศักดิ์ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • จุฑารัตน์ โพธิ์หลวง สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

บัญชีครัวเรือน, เศรษฐกิจพอเพียง, ชุมชนฐานราก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลรายรับ-รายจ่ายและสภาพปัญหาในการจัดทำบัญชีครัวเรือนของกลุ่มแม่บ้าน หมู่ที่ 4 ตำบลท่าช้าง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง และ 2) เพื่อพัฒนาการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่สอดคล้องกับบริบทชุมชน เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ หัวหน้าครัวเรือนของกลุ่มแม่บ้านที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก ประจำปีงบประมาณ 2565 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการทำบัญชีครัวเรือน 2) แผนการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการทำบัญชีครัวเรือน 3) แบบทดสอบวัดความรู้เรื่องการทำบัญชีครัวเรือน และ 4) แบบติดตามประเมินผลการทำบัญชีครัวเรือน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบกลุ่มไม่อิสระ ผลการวิจัยพบว่า 1) รายรับ-รายจ่ายของครัวเรือนโดยเฉลี่ยมีค่าใกล้เคียงกัน ซึ่งอยู่ในช่วง 5,001-10,000 บาท และภาพรวมของสภาพปัญหาในการทำบัญชีครัวเรือนอยู่ในระดับปานกลาง ด้วยค่าเฉลี่ย 3.44 ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอกเป็นส่วนใหญ่ และ 2) คะแนนสอบวัดความรู้โดยเฉลี่ยหลังการอบรมการทำบัญชีครัวเรือนสูงกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และหัวหน้าครัวเรือนทุกคนที่เข้าร่วมโครงการมีการจดบันทึกบัญชีอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

References

ธรรญชนก นิลมณี และคณะ. (2558). การศึกษาพฤติกรรมและสภาพปัญหาการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกรจังหวัดปราจีนบุรี. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ธีร์วรา สุตัณฑวิบูลย์. (2562). การศึกษาพฤติกรรมและสภาพปัญหาการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อลดปัญหาหนี้สินของเกษตรกรจังหวัดราชบุรี. วารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 4(2), 58-71.

นิศรา จันทร์เจริญสุข. (2556). การพัฒนาบัญชีครัวเรือนเพื่อการวางแผนการเงินส่วนบุคคลของชุมชนบ้านสันลมจอย ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 63-74.

บุษบา อารีย์. (2557). บัญชีครัวเรือนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในยุคโลกาภิวัฒน์. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 24(1), 19-43.

ปภาพิต ศรีสว่างวงศ์. (2562). แนวทางการจัดทำบัญชีครัวเรือนสู่การสร้างภูมิปัญญาทางบัญชีภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ภัทรา เรืองสินภิญญา. (2555). บัญชีครัวเรือน เรื่องใกล้ตัวที่ถูกมองข้าม. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(1), 20-28.

ภาวินีย์ ธนาอนวัช. (2556). บัญชีครัวเรือนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อชีวิตที่เพียงพอ. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏ-พระนครศรีอยุธยา.

วาริพิณ มงคลสมัย. (2564). การทำบัญชีครัวเรือนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน ตำบล ออนใต้ อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ ปริทัศน์, 2(1), 45-54.

สถิต มโนการ. (2560). การพัฒนาการจัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อการพึ่งพาตนเองในชุมชนบ้านนาแล ตำบลศิลาแลง อำเภอปัว จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืน, มหาวิทยาลัย แม่โจ้.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักยุทธศาสตร์ด้านนโยบายสาธารณะ. (2557). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

สุนทรีย์ ตั้งศรีวงศ์. (2559). การวิเคราะห์กระบวนการจัดทำบัญชีครัวเรือน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 4(2), 16-23.

อโนชา โรจนพานิช. (2558). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการทำบัญชีครัวเรือนในชุมชนเมือง. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 7(3), 23-36.

Winarto, W. A. (2022). The role of household accounting in improving quality of Islamic life. Journal of Communication and Management, 8(1), 63-67.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-27