การจัดกลุ่มนักท่องเที่ยวตามคุณค่าเชิงประสบการณ์จากกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ในจังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ณนนท์ แดงสังวาลย์ สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ประสพชัย พสุนนท์ สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ภูธฤทธิ์ วิทยาพัฒนานุรักษ์ รักษาศิริ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การจัดกลุ่มนักท่องเที่ยว, คุณค่าเชิงประสบการณ์, กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร, การวิเคราะห์จัดกลุ่ม, พฤติกรรมนักท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงอาหาร   ในจังหวัดเพชรบุรี และ 2) จัดกลุ่มและค้นหาคุณลักษณะของนักท่องเที่ยวตามคุณค่าเชิงประสบการณ์จากกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารในจังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวที่มีประสบการณ์ท่องเที่ยวเชิงอาหารในจังหวัดเพชรบุรี จำนวนทั้งสิ้น 402 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ คือ แบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มด้วยวิธีการจัดกลุ่มแบบไม่เป็นขั้นตอน

ผลการวิจัย พบว่า 1) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมเที่ยวชมวิถีชีวิตและวัฒนธรรม การบริโภคในตลาด /ชุมชน /งานบุญมากที่สุด โดยมีสาเหตุของการเดินทางไปท่องเที่ยวเพื่อสนับสนุนสินค้าพื้นถิ่น และมีการตัดสินใจเดินทางไปท่องเที่ยวในรูปแบบการเดินทางไปเช้า เย็นกลับด้วยตนเอง มีระดับคุณค่าเชิงประสบการณ์ จากกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารในจังหวัดเพชรบุรี ด้านภาพลักษณ์เมืองท่องเที่ยวเชิงอาหาร ด้านผลตอบแทนจากการลงทุนของนักท่องเที่ยว ด้านความเพลิดเพลินระหว่างการท่องเที่ยว ด้านสุนทรียศาสตร์ระหว่างการท่องเที่ยว และด้านการให้บริการที่เป็นเลิศ อยู่ในระดับมากมีคะแนนเฉลี่ย 4.23 4.17 4.16 4.15 และ 4.04 ตามลำดับ และ 2) ผลการวิเคราะห์จัดกลุ่มและค้นหาคุณลักษณะของนักท่องเที่ยว สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม “คุณค่าเชิงประสบการณ์น้อย” มีสมาชิก 90 คน คิดเป็นร้อยละ 22.39 ส่วนใหญ่มีช่วงอายุระหว่าง 31-50 ปี กลุ่ม “คุณค่าเชิงประสบการณ์สูง” มีสมาชิก 108 คน คิดเป็นร้อยละ 26.87 ส่วนใหญ่มีช่วงอายุระหว่าง 21-30 ปี และ กลุ่ม “คุณค่าเชิงประสบการณ์ปานกลาง” มีสมาชิก 204 คน คิดเป็นร้อยละ 50.74 ส่วนใหญ่มีช่วงอายุระหว่าง 31-50 ปี

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2560). Food Festival. จุลสารวิชาการการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 3(1), 13-16.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จีระศักดิ์ คำสุรีย์, เมธาวี ชุณหวุฒิยานนท์ และดุจเดือน บุญสม. (2563). รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) กลยุทธ์การพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพและโภชนาการสมวัย ภายใต้แผนงานโครงการพัฒนาศูนย์อัจฉริยะอุตสาหกรรมอาหาร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร.

ณนนท์ แดงสังวาลย์ และประสพชัย พสุนนท์. (2563). การท่องเที่ยวเชิงอาหารในสังคมต่างวัฒนธรรม: ประเทศไทยและมาเลเซีย. วารสารรัตนปัญญา, 5(2), 64-80.

บุณยสฤษฎ์ อเนกสุข. (2560). การท่องเที่ยวแบบเนิบช้า (Slow Travel): นิยามและแนวคิด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(1), 26-47.

ภาณุวัฒน์ ภักดีอักษร. (2555). ทฤษฎีแรงจูงใจการท่องเที่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอาหาร. วารสารวิทยาการจัดการ, 29(2), 129-148.

ภาณุวัฒน์ ภักดีอักษร และปทุมมาลัย พัฒโร. (2564). การวิเคราะห์ปัจจัยองค์ประกอบเชิงสำรวจของแรงจูงใจนักท่องเที่ยวต่างชาติเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอาหารในจังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 28(2), 1-27.

สริตา พันธ์เทียน, ทรงคุณ จันทจร และมาริสา โกเศยะโยธิน. (2560). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงอาหารไทยโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในเขตจังหวัดลุ่มแม่น้ำภาคกลาง. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 9(3), 190-198.

สํานักงานจังหวัดเพชรบุรี กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดเพชรบุรี พ.ศ. 2561-2565 (ฉบับทบทวน). ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564, จากhttps://dl.parliament.go.th/handle/20.500.13072/589888

สํานักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเพชรบุรี. (2564). จังหวัดเพชรบุรีเร่งหาแนวทางการขับเคลื่อนเมืองเพชรบุรี. ค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564, จากhttps://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG211011162020619

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. 2560. รายงานฉบับสมบูรณ์ เรื่องการสำรวจพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวไทย พ.ศ. 2560 (ในรอบปี 2559). ค้นเมื่อ 1 เมษายน 2563, จาก http://www.nso.go.th

อัญชลี สมใจ พันธุ์รวี ณ ลำพูน (2563). พฤติกรรมและความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัด สมุทรปราการ. Liberal Arts Review, 15(2), 13-27.

Boniface, P. (2016). Tasting Tourism: Travelling for Food and Drink. New York: Routledge.

Buiatti, S. (2011). Food and tourism: the role of the “Slow Food” association. Food, Agri-Culture and Tourism. Berlin: Springer.

Bukharov, I., & Berezka, S. (2018). The role of tourist gastronomy experiences in regional tourism in Russia. Worldwide Hospitality and Tourism Themes, 10(4), 499-457.

Future market insights. (2022). 2017-2021 Food Tourism Market Outlook Compared to 2022-2032 Forecast (2022-2032). Retrieved November 4, 2022, from https://www.futuremarketinsights.com/reports/food-tourism-sector-overview-and-forecast

Hall, C. M., & Sharples, L. (2003). The consumption of experiences or the experience of consumption? An introduction to the tourism of taste. In Food tourism around the world (pp.1-24). Routledge.

Holmlund, M., & others. (2020). Customer experience management in the age of big data analytics: A strategic framework. Journal of Business Research, 116, 356-365.

Park, E., Kim, S., & Yeoman, I. (2019). Eating in Asia: Understanding food tourism and its perspectives in Asia. Food tourism in Asia, 3-13.

Thailand Convention and Exhibition Bureau. The Future of Food Tourism in Thailand. Retrieved August 25, 2021, from https://skift.com/2019/11/15/the-future-of-food-tourism-in-thailand/

Tsai, C. T. S., & Wang, Y. C. (2017). Experiential value in branding food tourism. Journal of Destination Marketing & Management, 6(1), 56-65.

Urry, J. (2002). The Tourism Gaze. (2rd ed.). London: Sage.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-27