ศักยภาพของอาหารพื้นถิ่นภาคใต้ ในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่นภาคใต้

ผู้แต่ง

  • วันเพ็ญ ควรสมาน สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • ประภัสสร วิเศษประภา สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • ภูชิตต์ ภูริปาณิก สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

คำสำคัญ:

อาหารพื้นถิ่นภาคใต้, การท่องเที่ยวเชิงอาหาร, การพัฒนาการท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของอาหารพื้นถิ่นภาคใต้ โอกาส และอุปสรรค ในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่นภาคใต้ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักคือผู้ประกอบการนำเที่ยวที่จัด         การท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่น หรือมีโปรแกรมท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านอาหารพื้นถิ่นภาคใต้ จำนวน 30 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบอลหิมะ โดยผู้วิจัยได้แบ่งศักยภาพของอาหารพื้นถิ่นออกเป็น 5 ด้าน ผลการวิจัยพบว่า 1. ความยากง่ายในการพบหรือเข้าถึงอาหารพื้นถิ่น อาหารพื้นถิ่นภาคใต้นั้นมีความหลากหลาย และสามารถเข้าถึงได้ง่าย 2. โอกาสในการใช้อาหารท้องถิ่นเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว มีโอกาสเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นอาหารที่มีเอกลักษณ์และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก 3. การแสดงถึงวัฒนธรรมการกินอาหารท้องถิ่น เป็นวัฒนธรรมการกินที่สืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง มีเอกลักษณ์ หลากหลาย และแตกต่างกันไปตามพื้นที่ 4. การใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นอาหารพื้นถิ่นภาคใต้เป็นอาหารที่ใช้วัตถุดิบและสมุนไพรพื้นเมืองในพื้นที่มาประกอบอาหารจนกลายเป็นเมนูอาหารพื้นถิ่นมากมาย 5. เอกลักษณ์ของท้องถิ่น อาหารพื้นถิ่นภาคใต้สะท้อนถึง อัตลักษณ์ของท้องถิ่นทั้งด้านวัฒนธรรม วัตถุดิบ หรือรสชาติ

ผลการวิจัยเกี่ยวกับโอกาสและอุปสรรค ในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่นภาคใต้ พบว่า อาหารพื้นถิ่นภาคใต้มีความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น และเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว จึงเป็นโอกาสสำคัญที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่นภาคใต้ให้สามารถตอบสนองต่อการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ในอีกด้านหนึ่ง รสชาติอันเป็นเอกลักษณ์นั้นกลับกลายเป็นอุปสรรคในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่นภาคใต้ เนื่องจาก ภาพจำของรสชาติอันเผ็ดร้อนของอาหารใต้อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดระหว่างอาหารพื้นถิ่นกับอาหารใต้ ทำให้นักท่องเทียวจำนวนหนึ่งหลีกเลี่ยงที่จะลิ้มลองอาหารพื้นถิ่นของจังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้

References

กอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร.(2560). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว ฉบับที่ 4. ค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2565, จาก https://www.thansettakij.com/content/77043

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

คมชัดลึก ออนไลน์. (2564). ทำไมฝรั่งชอบสั่งอาหารแบบ “เผ็ดนิดหน่อย”. ค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2565, จาก https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/484020

นิศา ชัชกุล. (2550). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นริสา ลี. (2564). Gastronomy Tourism เที่ยวไป กินไป...ทำไมไม่เคยเอาท์. ค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2565, จาก https://onceinlife.co/gastronomy-tourism

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิชาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

บัณฑิต อเนกพูนสุข.(2560). Food on the move. จุลสารวิชาการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 3(1), 8-19.

ปวิธ ตันตสกุล. (2561). แนวทางการส่งเสริมอาหารพื้นถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอาหาร กรณีศึกษาชุมชนขนาบนาก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 9(1), 81-92.

พัชรี ตั้งตระกูล และคณะ. (2561). การส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารท้องถิ่นของ จังหวัดภูเก็ต. กรุงเทพฯ:คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พาชิมพาส่อง. (มปป.). กิน “หมี่สะปำ” แบบไม่ตั้งใจที่ภูเก็ต. ค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2565, จากhttps://www.matichonacademy.com/content/review/article_31017

ภาณุวัฒน์ ภักดีอักษร. (2555, กรกฎาคม – ธันวาคม).ทฤษฎีแรงจูงใจการท่องเที่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอาหาร. วารสารวิทยาการจัดการ. 29, 129-146.

มนัส สุวรรณ. (2549). แนวทางการใช้ประโยชน์ทรัพยากรการท่องเที่ยวของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง. ในเอกสารการสอนชุดวิชาทรัพยากรการท่องเที่ยวของไทย หน่วยที่9-15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วรัญญู อินทรกำแหง. (2564). 9 อาหารใต้จานเด็ดห้ามพลาด แนะนำโดยเชฟและเจ้าของร้านปักษ์ใต้ในคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’. ค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2565, จาก https://guide.michelin.com/th/th/article/travel/9-must-try-southern-thai-dishes-recommended-by-michelin-restaurant-chefs

วันเพ็ญ ควรสมาน และภูชิตต์ ภูริปาณิก. (2564). การศึกษาเปรียบเทียบศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงอาหารพื้นถิ่นภาคใต้ มาเลเซียและสิงคโปร์ และการพัฒนาระบบข้อมูลทางการตลาดสำหรับผู้ประกอบการนำเที่ยว.หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ. ทุนอุดหนุนวิจัยเพื่อเผยแพร่จากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

สุนี ศักดาเดช. (2549). อาหารท้องถิ่น. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

อภิรมย์ พรหมจรรยา ชุติมา ต่อเจริญ และปทุมมาลัย พัฒโร. (2547). รายงานการวิจัยเรื่องศักยภาพอาหารและเครื่องดื่มท้องถิ่นเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดกระบี่ พังงา และภูเก็ต. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อังคณา สิทธิการ. (2565). Ethnic Foods แรงขับเคลื่อนการท่องเที่ยวไทยหลังเปิดประเทศ?. ค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/980167

SME in focus. (2562). Food Tourism กินเพื่อเข้าใจวิถีพื้นเมือง. ค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.bangkokbanksme.com/en/food-tourism-lifestyle

Chef’s Pencil. (2020). 10 Most Popular International Cuisines in America. Retrieved August 14, 2022, from https://www.chefspencil.com/web-stories/most/

Li, Z. (2021). Which country has the best food? Retrieved August 14, 2022, from https://edition.cnn.com/travel/article/world-best-food-cultures

Sapcharoen, P. (1997). Local Food of Four Regions. Bangkok: Office of the War Veterans Organization of Publishing House.

UNWTO. (2017). Second Global Report on Gastronomy Tourism. Retrieved August 14, 2022, from https://www.e-unwto.org/doi/pdf/10.18111/9789284418701

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27