การวิเคราะห์การออมเงินของผู้ใช้แรงงานในอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ภัทราพร จันตะนี สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเงินการธนาคาร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การออม, ผู้ใช้แรงงาน, อุตสาหกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์การออมเงินของผู้ใช้แรงงานในอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออมของผู้ใช้แรงงานในอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการออมของผู้ใช้แรงงานในอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือผู้ใช้แรงงานในอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 20-30 ปี มีระดับการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือ ปวช. สถานภาพโสด มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 1-3 คน ลักษณะการอยู่อาศัยอยู่กับครอบครัว และลักษณะที่อยู่อาศัย รายได้ของครอบครัวต่อเดือนของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่ 1,001-30,000 บาท รายจ่ายของครอบครัวต่อเดือนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท และภาระหนี้สินของครอบครัว น้อยกว่าหรือเท่ากับ 50,000 บาท ส่วนพฤติกรรมการออมของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ออมเงินต่อเดือนไม่เกิน 1,000 บาท มีวิธีการออมคือ รายเดือนทุกเดือน วัตถุประสงค์ของการออม คือเพื่อใช้ในยามเกษียณอายุ ระยะเวลาในการออม 1-5 ปี โดยออมกับสถาบันการเงิน คือธนาคาร และรูปแบบการออมเงินคือ เงินฝากออมทรัพย์/เงินฝากประจำ และปัจจัยที่มีผลต่อการออมของผู้ตอบแบบสอบถามมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง

References

กมลชนก กิจชล. (2562). พฤติกรรมการออมและการลงทุนของคนทำงานเจนวายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม, สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

กมลพรรณ ก้อนทอง. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมเงินของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนายาชาติแสตมฟอร์ด.

ชนิตา สระกัน. (2560). รูปแบบและพฤติกรรมการออมของลูกค้าธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, มหาวิทยาลัยบูรพา.

เชาวลี วันสนุก. (2560). พฤติกรรมการออมและวางแผนด้านการเงินเพื่อเตรียมความพร้อมการเกษียณอายุของพนักงานส่วนท้องถิ่น สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ซานียะฮ์ ช่างวัฒนกุล. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนจังหวัดสตูล. หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

บุญรุ่ง จันทร์นาค. (2554). หน่วยที่ 3 การออม. ค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://www.sites.google.com/site/boonrung02/home/hnwy-thi-3-kxxm./site/boonrung02/home/hnwythi-3-kar-xxm.

ปรมาภรณ์ สระนินทร. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออมเงินของบุคลากรกรมชลประทาน สำนักชลประทานที่ 14. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

มงคลชัย จำรูญ. (2560). ความหมายการออม. ค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2563, จากhttps://so05.tci-thaijo.org/

รัชภร อนุโรจนและสุภาพันธ์ รัชวิชั. ( 2563) .สถานการณ์แรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปี 2563 (มกราคม – ธันวาคม 2563). พระนครศรีอยธยา: สำนักงานแรงงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และคณะ. (2555). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

วราภรณ์ ฤทธิเดช. (2561). พฤติกรรมการออมของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขสมุทรสงครามจำกัด. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. (2550). หลักเศรษฐศาสตร์มหภาค (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิภาพร ชัยศิริ. (2562). พฤติกรรมการออมของบุคลากรในสำนักงานป้องกันและปราบปรามฟอกเงิน. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: วิสิทธิ์พัฒนา.

ศาตธัช เลขะวณิช. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจออมเงินใช้ยามเกษียณอายุของข้าราชการกรมสรรพากร (สำนักงานใหญ่). วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

สาดา ตั้งทางธรรม. (2559). เอกสารการสอนชุดวิชาหลักเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น หน่วยที่ 9-15 (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อรปวีณ์ การะสัง. (2560). พฤติกรรมการออมและการลงทุนเพื่อยามเกษียณระหว่างกลุ่มข้าราชการและพนักงานเอกชน. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27