การบริหารการเปลี่ยนแปลงภายใต้ภาวะแวดล้อมทางธุรกิจอย่างรวดเร็วของบริษัทเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • อรรณพ ปานพวง สาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การบริหารการเปลี่ยนแปลง, ภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ, บริษัทเอกชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารการเปลี่ยนแปลงภายใต้ภาวะแวดล้อมทางธุรกิจอย่างรวดเร็วของบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงภายใต้ภาวะแวดล้อมทางธุรกิจอย่างรวดเร็วของบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารการเปลี่ยนแปลงภายใต้ภาวะแวดล้อมทางธุรกิจอย่างรวดเร็วของบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน และผู้บริหารบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t –test  One –way ANOVA และ Multiple Regression  

ผลการศึกษาพบว่า 1) การบริหารการเปลี่ยนแปลงภายใต้ภาวะแวดล้อมทางธุรกิจอย่างรวดเร็วของบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า ผู้บริหารในภาวะแวดล้อมทางธุรกิจอย่างรวดเร็วสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเน้นการกระจายอำนาจการตัดสินใจและการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการขยายกำลังการผลิต 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงภายใต้ภาวะแวดล้อมทางธุรกิจอย่างรวดเร็วของบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า ปัจจัยด้านรายได้ต่อเดือนและตำแหน่งส่งผลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงภายใต้ภาวะแวดล้อมทางธุรกิจอย่างรวดเร็วของบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารการเปลี่ยนแปลงภายใต้ภาวะแวดล้อมทางธุรกิจอย่างรวดเร็วของบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า การบริหารควรสร้างความแปลกใหม่ให้กับลูกค้า และตอบรับกับพฤติกรรมของลูกค้าในปัจจุบันให้มากขึ้น

References

จีราภา ประพันธ์พัฒน์. (2560). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ชาติชาย คงเพ็ชรดิษฐ์ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). การบริหารการเปลี่ยนแปลง: บทบาทของภาวะผู้นำและการสื่อสารในองค์การ. วารสารฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(1), 895-919.

ติรยา สรรพอุดม. (2560). ความต้องการในการพัฒนาตนเองของพนักงานบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี. (2560). แนวทางการปฏิรูปอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมผ่านกลไกสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.

เยาวภา อาทิตย์ตั้ง. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการทำงานเป็นทีมของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วารสารบัณฑิตศึกษา, 13(60), 167-178.

ลฎาภา ธนจิรทีปต์. (2559). อิทธิพลภาวะผู้นำเชิงพฤติกรรมของหัวหน้างานที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ภาคพื้นและประสิทธิผลองค์กรสายการบินต้นทุนต่ำแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

วริศนันท์ ศรีเอกบุญรอด. (2558). รูปแบบภาวะผู้นากับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : ทิพยวิสุทธิ์.

สุกฤษฎิ์ ขวัญเมือง. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำแบบสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการสังกัดกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุภาพร กันสุด. (2558). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ประสิทธิผลการใช้งาน และบรรยากาศในการทำงาน ที่มีผลต่อการยอมรับการใช้งาน Google Application ในระบบอินทราเน็ต: กรณีศึกษาพนักงานบริษัทเอกชน เขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อรัญญา โคเซนติโน และเทียน เลรามัญ. (2560, มกราคม-มีนาคม). การบริหารการเปลี่ยนแปลงองค์กรเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวจีน กรณีศึกษา โรงแรมระดับ 4 ดาว ในเขตตำบลช้างคลาน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10(1), 101-110.

อุทรณ์ โขมะนาม. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร กับแนวทางการบริหารโรงเรียนนิติบุคคลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

Liu, C., Iddir, H., Benedek, R. & Curtiss, L. A. (2016, June). Investigations of Doping and Dissolution in Lithium Transition Metal Oxides Using Density Functional Theory Methods. The Electrochemical Society. from doi 10.1149/MA2016- 03/2/452

Mouloua, M. (Ed.). (2018). Automation and human performance: Theory and applications. Routledge.

Petronio, S. (2015). Communication privacy management theory. The international encyclopedia of interpersonal communication, 1-9.

Priest, S. & Gass, M. (2017). Effective leadership in adventure programming (3 rd ed.) Champaign, Illinoi: Human Kinetics.

Radnor, Z., Osborne, S. & Glennon, R. (2016). Public management theory. In Ansell, C. & Torfing, J. (Eds.). Handbook on Theories of Governance (pp. 46-60).

Edward Elgar Publishing. from https://doi.org/10.4337/9781782548508

Stevens, C., Thibodeaux, L. J., Overton, E. B., Valsaraj, K. T. & Walker, N. D. (2017). Dissolution and Heavy Residue Sinking of Subsurface Oil Droplets: Binary Component Mixture Dissolution Theory and Model-Oil Experiments. Journal of Environmental Engineering, 143(10), 04017067.

Waring, S. P. (2016). Taylorism transformed: Scientific management theory since 1945. UNC Press Books.Western, S. (2019). Leadership: A critical text. SAGE Publications Limited.

Yu, M., Cui, H., Ai, F., Jiang, L., Kong, J. & Zhu, X. (2018). Terminated nanotubes: evidence against the dissolution equilibrium theory. Electrochemistry Communications, 86, 80-84.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27