ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดดิจิทัลกับการตัดสินใจซื้อสินค้า ผ่านแอปพลิเคชั่น TOPS ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อัญชลี เยาวราช อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การสื่อสารการตลาดดิจิทัล, การตัดสินใจซื้อสินค้า, แอปพลิเคชั่น, ท็อปส์ ซุปเปอร์มาร์เก็ต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการสื่อสารทางการตลาดดิจิทัลของร้าน TOPS Supermarket                2) เพื่อศึกษาการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชั่น TOPS และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาดดิจิทัลกับการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชั่นTOPSของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร การดำเนินงานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้คือ   ผู้ที่มีประสบการณ์ในการซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชั่น TOPS ที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ตัวอย่าง โดยใช้  การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนและมีวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า

การสื่อสารทางการตลาดดิจิทัลของร้าน TOPS Supermarket สิ่งที่ควรให้ความสำคัญอันแรก คือ การส่งเสริมการขาย รองลงมา คือการโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัล การตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชั่น ส่วนใหญ่ซื้อสินค้าประเภทอาหารสด ซึ่งมักจะใช้บริการสัปดาห์ละครั้ง มีค่าใช้จ่ายต่อครั้ง 100-500 บาทโดยเหตุผลที่เลือกซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชั่น TOPS เพราะสะดวกสบาย และมีระดับการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชั่น TOPS ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 นั่นคือผู้บริโภคให้ความสำคัญมากในการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชั่น TOPS ในเรื่องของการอัพเดทข่าวสารต่างๆ ให้ได้รับทราบ ความสะดวกสบายในการใช้งาน และ    การประหยัดเวลาในการซื้อสินค้าได้มาก เป็นต้น และการสื่อสารการตลาดดิจิทัล มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแอปพลิเคชั่น TOPS ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร อย่างมีระดับนัยสำคัญที่ .05

References

กฤษณะ หลักคงคา. (2564). ช่องทางการตลาดสำหรับธุรกิจค้าปลีกในยุคโควิด-19. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(3), 319-336.

คณิน ศรีสะอาด. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในร้านท็อปส์ มาร์เก็ต สาขาห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล บางนา. การค้นคว้าอิสระ

บริหารธุกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชการจัดการ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

คมสัน ตันสกุล. (2553). การตลาดอิเล็กทรอนิกส์เชิง กลยุทธ์. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฐทิตา โรจนประศาสตร์. (2557). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ดิฏฐชัย จันทร์คุณาและพิศนีย์ อำไพ. (2564). การตลาดดิจิทัลบนเฟสบุ๊กแฟนเพจของกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬาไทยช่วงโตเกียว 2020 โอลิมปิกเกมส์. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 18(2), 114-129.

ธนกฤต วันต๊ะเมล์. (2554). หลักการโฆษณา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปาริฉัตร แสงแก้วและณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2565). ปัจจัยการสื่อสารที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าที่ท็อปส์ มาร์เก็ต ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครฯ ในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดไวรัสโควิด – 19. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(5), 198-211.

พนิดา สิมะโชคชัย. (2562). การสื่อสารการตลาดดิจิทัล ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2552). กลยุทธ์การตลาดจากการใช้ฐานข้อมูลลูกค้า. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2565, จาก www.marketeer.co.th/inside_detail.php?inside_id=619.

วุฒิ สุขเจริญ. (2555). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: จี.พี.ไซเบอร์พริ้นท์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ ปริญ ลักษิตานนท์ และศุภร เสรีรัตน์. (2552). การบริหารตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2565). B2C E-Commerce กลุ่มสินค้าปี 65 คาดขยายตัวราว 13.5%. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2565, จาก www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/B2C-E-Commerce-B-23-03-2022.aspx

สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2562). การสื่อสารทางการตลาด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมิตรา ศรีชูชาติ. (2550). สถิติธุรกิจ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กาฬสินธุ์: ประสานพิมพ์.

สำนักงานบริหารนโยบายนายกรัฐนตรี. (2565). สังคมไร้เงินสด. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2565, จากwww.pmdu.go.th

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565). พฤติกรรมการใช้อินเตอร์ของคนไทย. ค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2565, จาก www.etda.or.th/th/pr-ews/iub2022.aspx.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ. ค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2565, จาก http://statbbi. nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx.

อัฐพล วุฒิศักดิสกุล. (2560). การสื่อสารการตลาดดิจิทัลกับการตัดสินใจใช้บริการขนส่งออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่น ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Kotler, P. & Armstrong, G. (2011). Principles of marketing (14th ed.). Boston: Pearson Prentice Hall.Kotler, P. & Keller, K.L. (2012). Marketing Management (14 th ed.). New Jersey: Pearson Education.

Mahalaxmi, K.R. & Ranjith, P. (2016). A study on impact of digital marketing in customer purchase decision in Trichy. International Journal for Innovation Research in Science & Technology. International Journal for Innovative Research in Science & Technology. Retrieved from https://bit.ly/3DoVa9L.

Vijayanand, N. (2021). Study on importance and impact of digital marketing on consumer buying decision process in India. Annals of Romania Society for Cell Biology. Retrieved from https://www.annalsofrscb.ro/index.php/journal/article/view/7951/5880.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27