พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อความผูกพันร้านโชห่วย ในเขตพื้นที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • กาญจนาพร ศิลารังษี สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • พัทธ์พสุตม์ สาธุนุวัฒน์ สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ความผูกพันของผู้บริโภค, พฤติกรรมผู้บริโภค, ร้านโชห่วย

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อความผูกพันกับร้านโชห่วย ในเขตพื้นที่ อำเภอบางไทร  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้บริโภค ต่อความผูกพันกับร้านโชห่วยในเขตพื้นที่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริโภคที่เข้ามาซื้อสินค้าและใช้บริการในร้านโชห่วย ในเขตพื้นที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้วิจัยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรการกำหนดตัวอย่างของ ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane.1973) ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 397 ราย แจกแบบสอบถามโดยใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานด้วย ค่าที ค่าเอฟ และค่าแอลเอสดี กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติเชิงอนุมานหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันกำหนดนัยสำคัญที่ .01

ผลการวิจัย พบว่า 1) ความผูกพันของผู้บริโภค 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความผูกพันทางอารมณ์ ด้านความมั่นใจด้านพฤติกรรมการซื้อซ้ำ ด้านการแนะนำ/บอกต่อ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) พฤติกรรมผู้บริโภค ในเขตพื้นที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการใช้บริการ ด้านกระบวนการตัดสินใจ ด้านประสบการณ์  โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบพฤติกรรมผู้บริโภคต่อร้านโชห่วย ในเขตพื้นที่อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศต่างกันมีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคต่อร้านโชห่วย ไม่แตกต่างกัน อายุต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคต่อร้านโชห่วย แตกต่างกัน ระดับการศึกษาต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคต่อร้านโชห่วย ไม่แตกต่างกัน  อาชีพต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคต่อร้านโชห่วย แตกต่างกัน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคต่อร้านโชห่วย แตกต่างกัน สถานภาพต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคต่อร้านโชห่วย แตกต่างกัน 5) ศึกษาความสัมพันธ์พฤติกรรมผู้บริโภคต่อความผูกพันกับร้านโชห่วยในเขตพื้นที่อำเภอบางไทรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีความสัมพันธ์ด้านบวกทุกด้านมีระดับความสัมพันธ์ในระดับสูง

References

คนอง ปัญญะ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท ซูมิโกะ ลีดเฟรม ประเทศไทย จำกัด. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

จิตราพร ลดาดก. (2559). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ (7Ps) ที่มีผลต่อการเลือกใช้สายการบินต้นทุนต่ำของผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการ ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ชาญชัย ชัยประสิทธิ์,(2564).เทรนด์ธุรกิจโลกหลังยุคโควิด ผ่านมุมมองผู้บริหาร PwC ประเทศไทย. ค้นเมื่อ 18 มกราคม 2565, จาก https://www.salika.co/2021/09/30/charnchai-chaiprasit-pwc-thailand-vision/

ฐัธนินท์ ศักดิ์ดํารงรัตน์. (2564). 6 เหตุผล“โชห่วย” สำคัญต่อคนไทย-เศรษฐกิจไทย และกรณีศึกษา “แบรนด์ซุปไก่-ดัชมิลล์-ยูนิลีเวอร์” . ค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2565, จาก www.brandbuffet.in.th

ณัฏฐธิดา วงศ์จิรทีปต์.(2562). ความผูกพันของลูกค้าในจังหวัดเชียงใหม่ต่อแบรนด์สตาร์บัคส์. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2564, ผลกระทบจากธุรกิจ e-commerce ต่อผู้ประกอบการท้องถิ่น. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2565, จาก https://www.bot.or.th

นุชนารถ สุปการ. (2561). คุณลักษณะทางประชากร พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ ภาพลักษณ์ และชื่อเสียงที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นัฐติกูณฑ์ มุมินทร์. (2556). วิจัยเรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการใช้บริการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม ในเขตกรุงเทพมหานคร. นนทบุรี: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.

ปรมาภรณ์ ธานี.(2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพนของลูกค้าต่อร้านขายยาในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปัญจพัฒน์ ประสิทธิ์เดชสกุล. (2563). พลิกโฉมธุรกิจหลังวิกฤตโควิด-19. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2565, จาก https://www.krungsri.com/bank/getmedia/578838c1-5ffc-47dd-ba5ff807bc86d248/RI_Post_Covid19_New_Normal_200716_TH.aspx

ภาวิณี กาญจนาภา. (2559). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรฉัตร แสงกิติสุวัฒน์. (2555). พฤติกรรมของผู้บริโภคในการซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในอำเภอเมืองลำพูน. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิเลิศ ภูริวัชร. (2555). การสร้างความผูกพันกับลูกค้า (Customer Engagement). ค้นเมื่อ 19 มกราคม 2565, จาก https://www.pawoot.com

ศศิพร บุญชู. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านเดี่ยวของโครงการบ้านจัดสรร ในพื้นที่เขตอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริรัตน์ บุณยเกตุ. (2556). กระบวนการพฤติกรรมผู้บริโภค. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2565, จาก https://www.sirirattc.com

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชณ์. (2564). พาณิชย์เผยร้านโชห่วยยังเป็นที่นิยม ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2564, จาก http://www.tpso.moc.go.th/th/node/11371.

สุมัยยา นาคนาวา. (2564, มกราคม-เมษายน). ทัศนคติ พฤติกรรม และส่วนผสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์และส่งผลต่อทัศนคติการใช้บริการร้านอาหารฮาลาลของผู้บริโภคที่ไม่ใช่มุสลิม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 15(1).

อรพิมล สุวรรณวาล. (2558). จำนวนร้านสะดวกซื้อพุ่ง! ‘โชห่วย’ อ่วม ถึงเวลารัฐต้องกำกับตลาด แข่งขันเป็นธรรม?. ค้นเมื่อ 18 มกราคม 2565.จาก http://www.ictsilpakorn.com/ictmedia/ detail.php?news_id=364#.WDQeLfl97IU.

อุษณีย์ ศาลิคุปต. (2558). วิจัยเรื่อง พฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อสินค้าจากร้านค้าปลีกรายย่อย ในอำเภอเมืองสมุทรสาคร. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Brodie, R. J., Ilic, A., Juric, B. & Hollebeek, L. (2013). Consumer engagement in a virtual brand community: An exploratory analysis. Journal of Business, 66, 105-114.

Foxall, G. R. & Sigurdsson, V. (2013). Consumer behavior analysis: Behavioral economics meets the marketplace. Psychological Record, 63(2), 231- 237.

Kuester, S. (2012). Strategic marketing & marketing in specific industry contexts. n.p.: University of Mannheim.

Peter, J. P. & Olson, J. C. (2005). Consumer Behaviour and Marketing Strategy (7th ed). New York: McGraw-Hill/Irwin.

Schiffman, Leon G., and Leslie Lazar Kanuk (2000). Consumer Behavior (7th Ed). New Jersey: Prentice-Hall.

Verhoef,P.C., Reinartz, W.J. & Krafft, M. (2010). Customer engagement as a new perspective in customer management. Journal of Service Research, 13, 247-252.

Vivek, S. D., Beatty, S. E., & Morgan, R. M. (2012). Customer engagement: Exploring customer relationships beyond purchase. Journal of Marketing Theory and Practice, 20 (2), 127–145.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory analysis (3rd Ed). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31