กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของผู้บริโภคบริษัท เอส ดี ดี เอส จำกัด

ผู้แต่ง

  • อินทิรา นาวีระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • พัทธ์พสุตม์ สาธุนุวัฒน์ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ, กลยุทธ์การสื่อสารการตลาด, การตลาดเชิงกิจกรรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของผู้บริโภค บริษัท เอส ดี ดี เอส จำกัด 2) เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดบริษัท เอส ดี ดี เอส จำกัด จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของผู้บริโภค กับกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดบริษัท เอส ดี ดี เอส จำกัด และกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริโภคที่สนใจเกี่ยวกับการออกแบบดีไชด์งานสื่อโฆษณาสินค้าแฟชั่นประเภท งานกิจกรรมแสดงสินค้าหรือบริการ ประเภท อุปโภคบริโภค ของ บริษัท เอส ดี ดี เอส จำกัด จำนวน 400 รายจากการคำนวณด้วยสูตรการกำหนดตัวอย่างของ ดับบลิว จี คอชแรน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) และทดสอบสมมติฐานด้วย ค่าที(t) ค่าเอฟ(F) และค่าเอลเอสดี (LSD) และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติเชิงอนุมาณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

ผลการวิจัย พบว่า 1) กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดบริษัท เอส ดี ดี เอส จำกัด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านเรียงตามลำดับจากค่าสูงมาค่าต่ำ คือ ด้านการขายโดยใช้พนักงาน ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านการโฆษณา ส่วนด้านที่มีค่าต่ำ คือ ด้านการตลาดทางตรง 2) ผลการเปรียบเทียบระดับปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดบริษัท เอส ดี ดี เอส จำกัด พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และสถานภาพแตกต่างกัน มีระดับกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดบริษัท เอส ดี ดี เอส จำกัด แตกต่างกัน 3) ความสัมพันธ์พฤติกรรมการเปิดรับสื่อของผู้บริโภคต่อกลยุทธ์การสื่อสารการตลาด บริษัท เอส ดี ดี เอส จำกัด โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ ด้านบวกทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์  (r=.594) หมายถึงมีระดับความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง

References

กฤษณพร ประสิทธิ์วิเศษ. (2561). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร การรู้ทันสื่อ และการรู้ทันตนเอง ในสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษานิเทศศาสตร์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 37(1), 200-213.

กาญจนา แก้วเทพ และนิคม ชัยขุนพล. (2556). คู่มือสื่อใหม่ศึกษา (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2558). การวิจัยตลาด. กรุงเทพฯ: โฟกัสมีเดีย แอนด์พับลิชชิ่ง.

จิตราพร ลดาดก. (2559). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ(7Ps) ที่มีผลต่อการเลือกใช้สายการบิน ต้นทุนต่ำของผู้โดยสารชาวไทยที่ใช้บริการ ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง ปทุมธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ณฐอร อุทัยวรรณ. (2559). ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการกรณีศึกษาศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า พิษณุโลก. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฐธิดา เสถียรพันธ์. (2562). กลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ และใช้บริการ โรงภาพยนตร์ลิโด้ คอนเน็คท์ ของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง. (2557). Content Marketing เล่าให้คลิก พลิกแบรนด์ให้ดัง. กรุงเทพฯ: เนชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็ดดูเทนเมนท์.

ธนันธร มหาพรประจักษ์. (2564). โควิดเร่งธุรกิจปรับเข้าสู่ดิจิทัล. ค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2564 , จากwww.bot.or.th

นธกฤต วันต๊ะเมล์. (2557:48) การสื่อสารการตลาด(พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นิภารัตน์ ป้อสีลา. (2557) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลการดำเนินงานของธุรกิจขายตรง. ดุษฏีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน, มหาวิทยาลัย คริสเตียน.

นุชนารถ สุปการ. (2561). คุณลักษณะทางประชากร พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ ภาพลักษณ์ และชื่อเสียงที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พิจิตรา มงคลศรีพิพัฒน์. (2559). พฤติกรรมการเปิดรับและความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์โครงการเที่ยวไทยเท่ กับพฤติกรรมการตัดสินใจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวไทย. การค้นคว้าอิสระ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ภัทรานิษฐ์ ฉายสุวรรณ. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าจากร้านค้าในเครือข่ายเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มงคล โสภณ และวิภาวรรณ กลิ่นหอม. (2558). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เฟซบุ๊คของสมาชิกในแฟนเพจสายการบินต้นทุนต่ำ. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

รังสิยา พวงจิตร. (2555). เครื่องมือการสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อ และความภักดีต่อตราสินค้าของเครื่องสำอาง Oriental Princess ของผู้บริโภคเพศหญิง ในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด, มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

วชิรวัชร งามละม่อม. (2558). การบริหารแนวใหม่ (New Public Management: NPM). กรุงเทพฯ: สถาบัน TDRM.

วรรณภา แตกปัญญา. (2559). แนวทางการพัฒนาการสื่อสารทางการตลาดของแหล่งท่องเที่ยว เชิงประวัติศาสตร์อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วิกรานต์ มงคลจันทร์. (2556). The Invisible Hat. ถอดหมวกเปิดความคิดชีวิต และการตลาด. กรุงเทพฯ: อาคเนย์การพิมพ์.

วิจิตรา บุญแล. (2563). การศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยกับการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรี. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

ศรวัสย์ สมสวัสดิ์ และชนมณี ทะนันแปง. (2563: 129). ความอยู่รอดของอุตสาหกรรมไมซ์ Meeting, Incentive, Conventions: วารสารนวัตกรรมและการจัดการExhibitions (MICE) ในยุคโควิด-19. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ, 5(ฉบับเพิ่มเติ่ม), 129-145.

ศศิพร บุญชู. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านเดี่ยวของโครงการบ้านจัดสรร ในพื้นที่เขตอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สายทิพย์ วชิรพงศ์. (2556). การเปิดรับ การรับรู้ และทัศนคติที่มีต่อภาพยนตร์จากข้อมูลข่าวสารที่ปรากฏในทวิตเตอร์. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุคี ศิริวงศ์พากร. (2556). การศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการพึ่งตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สุมัยยา นาคนาวา. (2564). ทัศนคติ พฤติกรรม และส่วนผสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์และส่งผลต่อทัศนคติการใช้บริการร้านอาหารฮาลาลของผู้บริโภคที่ไม่ใช่มุสลิม. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาิชาการจัดการธุรกิจการบริการ, วิทยาลัยดุสิตธานี.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์/ETDA. (2563). ETDA เผยผลสำรวจ IUB 63 คนไทยใช้เน็ตปังไม่ไหว เกือบครึ่งวัน โควิด-19 มีส่วน. ค้นเมื่อ วันที่ 20 พฤศจิกายน 2564, จากwww.etda.or.th

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมนิทรรศการ(2564) รายงานผลการดำเนินงานครึ่งปี 2564. ค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2564, จาก www.businesseventsthailand.com

อรวรรณ เหมือนภักตร์. (2563). แนวทางการพัฒนาการสื่อสารการตลาดออนไลน์เพื่อส่งเสริมจังหวัดลำปาง เป็นเมืองท่องเที่ยวเป้าหมาย. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา.

อริศราณ์ หน่วยสังขาร. (2558). ปัจจัยการตัดสินใจเลือกใช้บริการและพฤติกรรมการใช้บริการธนาคารกสิกรไทย สำนักงานใหญ่ราษฎร์บูรณะ (59-0003). การค้นคว้าอิสระการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการตลาด, มหาวิทยาลัยสยาม.

Barr, J. (2017). Analytics 4.0- Are You Ready for the Future of Competition? Elder Research. from https://www.elderresearch.com

Cochran, W.G. (1953). Sampling Techniques. New York : John Wiley & Sons.

Hawkins, M. & David L. (2010). Consumer behavior : building marketing strategy. Boston: McGraw-Hill.

Kottler, P. (1997). Analysis, Planning, Implementation and Control Marketing (9th ed.). New Jersey: A Simon and Schuster Company.

Marketo. (2013). Event Marketing. from www.marketo.com/Event-marketing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31