การพัฒนาระบบการจองสิทธิ์ใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ผ่าน ไลน์ ออฟฟิเชียล แอคเคาท์ สำหรับนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

ผู้แต่ง

  • ปราริชาติ รื่นพงษ์พันธ์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คำสำคัญ:

ไลน์ ออฟฟิเชียล แอคเคาท์, คอมพิวเตอร์ธุรกิจ, ระบบจองห้องปฏิบัติการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการจองสิทธิ์ใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ผ่าน ไลน์ ออฟฟิเชียล แอคเคาท์ สำหรับนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ และ 2) ศึกษาผลความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบการจองสิทธิ์ใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ผ่าน ไลน์ ออฟฟิเชียล แอคเคาท์ สำหรับนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชครินทร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ชั้นปีที่ 1-4 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 2/2564 และเข้าใช้ระบบการจองสิทธิ์ใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ผ่าน ไลน์ ออฟฟิเชียล แอคเคาท์ สำหรับนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างอาศัยความน่าจะเป็น ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบบชั้นภูมิ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสำรวจความต้องการใช้งานระบบการจอง พัฒนาด้วยแพลตฟอร์มสำหรับการสร้าง LINE bot designer ด้วย Dialogflow พร้อมเชื่อมต่อการให้บริการ Cloud service ด้วย Intergromat กับ Webhook สร้างแบบสอบถามออนไลน์ด้วย Google Form จัดเก็บฐานข้อมูลด้วย Google sheet การสร้างเว็บเซอร์วิสด้วย LINE notify สำหรับการแจ้งเตือนการจองแบบเรียลไทม์ และแบบประเมินผลความพึงพอใจต่อการใช้ระบบที่พัฒนาขึ้น ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบที่พัฒนาขึ้นตามวงจรการพัฒนาระบบ 6 ขั้นตอน ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอนและระบบสามารถตอบสนองความต้องการใช้บริการของนักศึกษาได้อย่างสะดวกรวดเร็ว 2) ผลความพึงพอใจความน่าใช้ของระบบโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ย 4.63 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .49 ระดับความพึงพอใจมากที่สุด

References

จีรเศรษฐ์ แพมงคล. (2556). การออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศการขอใช้บริการยานพาหนะ กรณีศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเว็บ, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ชิดชนก เชิงเชาว์. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นัชฐภรณ์ อ่อนแก้ว และนิตยา วงศ์ภินันท์วัฒนา. (2558). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการซื้อสินค้าหรือบริการที่มีการโฆษณาผ่านบัญชีอย่างเป็นทางการของไลน์ (LINE official account) ของผู้บริโภค. วารสารระบบสารสนเทศด้านธุรกิจ, 1(1), 43-58.

มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย. (2563, 30 เมษายน). การแพร่ระบาดของโควิด-19 สร้างผลกระทบต่อการศึกษาไทยที่สำคัญ 3 ประการ. ค้นเมื่อ 18 เมษายน 2565, จาก https://www.kenan-asia.org/th/covid-19-education-impact/.

เจริญ ภู่วิจิตร์. (2564, 27 สิงหาคม). การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565, จาก http://www.nidtep.go.th/2017/publish/doc/20210827.pdf.

สุธาธินันท์ ช่างทำ. (2558). คุณสมบัติของ LINE Official Account ที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุนทรีย์ พีระพาณิชย์ และธนพรรณ กุลจันทร์. (2564). การพัฒนาการบริการ และช่องทางประชาสัมพันธ์ โดยใช้ ไลน์ ออฟฟิเชียล แอคเคาท์. อินฟอร์เมชั่น, 28(2), 87-102.

สำนักส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 2 ชลบุรี. (2564). คู่มือการสร้าง LINE Official Account. ค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565, จาก https://drive.google.com/file/d/1Dpo8RZkIJlVdEHFBuPx4BVd5qblAzBJ8/view.

วสุ บัวแก้ว และปณิธิ เนตินันท์. (2563). การพัฒนาระบบ LINE BOT สำหรับบัณฑิตวิทยาลัย. ในการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 (หน้า 2406-2413). กรุงเทพฯ, มหาวิทยาลัยรังสิต.

วุฒิพงษ์ ชินศรี และวิไลลักษณ์ ตรีพืช. (2564). การพัฒนาระบบบริหารการเข้าร่วมกิจกรรมผ่านไลน์ ออฟฟิเชียล แอคเคาท์. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 16(2), 27-36.

อภิรดี มวลคำลา และเยาวเรศ จันทะคัต. (2563). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. วารสารแม่โจ้เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 6(1), 27-40.

อรยา ปรีชาพานิช. (2557). คู่มือเรียนการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ฉบับสมบูรณ์. นนทบุรี: ไอดีซีฯ.

Burgess, A. (2018). AI in action. In The executive guide to artificial intelligence. Springer Link, 73-89. From https://doi.org/10.1007/978-3-319-63820-1_5

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140, 1–55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31