กลยุทธ์ทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการร้านอาหารฮาลาล อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • สุจารี มานิจธรรมพงษ์ สาขาวิชาการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • กิติมา ทามาลี อาจารย์สาขาวิชาการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

กลยุทธ์ทางการตลาด, การตัดสินใจของผู้บริโภค, ร้านอาหารฮาลาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการร้านอาหารฮาลาล อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง  กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้บริโภคที่มาใช้บริการร้านอาหารฮาลาล อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงอนุมาน เพื่อทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ทางการตลาด ในระดับมากทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย  ส่วนกลยุทธ์ทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในการเลือกใช้บริการร้านอาหารฮาลาล อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง มี 3 กลยุทธ์ ได้แก่ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านกระบวนการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งกลยุทธ์ทางการตลาดนี้สามารถพยากรณ์และอธิบายการตัดสินใจของผู้บริโภคได้ร้อยละ 52.5 เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดก่อให้เกิดการตัดสินใจใช้บริการของผู้บริโภคได้อย่างตรงตามกลุ่มเป้าหมาย และสามารถนำไปปรับปรุงคุณภาพการให้บริการร้านอาหารฮาลาลให้มีประสิทธิภาพ และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น

References

กมลทิพย์ ชิวชาวนา. (2560). การศึกษาถึงอิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการ (Service Marketing Mix 7P’s) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารครัววาสนาซีฟู้ดของผู้บริโภค. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ขันติยา ราชา และ สุดสันต์ สุทธิพิศาล. (2562). พฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารฮาลาลของนักท่องเที่ยวชาวไทยมุสลิมใน จังหวัดภูเก็ต. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ ปีที่ 12 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2562.

คำนาย อภิปรัชญาสกุล. 2558. พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร : โฟกัสมีเดีย แอนด์ พับลิซซิ่ง.

ชมพูนุท นรินทรางกูล ณ อยุธยา. (2562). พฤติกรรมการบริโภคอาหาร “ฮาลาล” ของผู้บริโภคในจังหวัดพิษณุโลก. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ณัฐวดี หอมบุญยงค์. (2563). กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคสำหรับธุรกิจร้านอาหารเปิดใหม่ กรณีศึกษา ร้านอาหารครัวบ้านยายอาหารทะเล. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

____. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นิชาภัทร อันนันนับ. (2559). คุณภาพการบริการและส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการร้านอาหารอิสลามในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้า ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

มนัสนันท์ รักษายศสกุล. (2560). ผลกระทบของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ออนไลน์ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

รัตติญาภรณ์ พิศาลวราพงศ์. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจบริการที่มีอิทธิพลต่อการเข้าใช้บริการร้านยศข้าวต้มของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วิชยา ทองลัพท์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการร้านอาหารประเภทชาบูของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิภาวรรณ ถาวร. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์อีโคคาร์ในเขตจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ศิริรัตน์ ญาณปรีชา. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งพัสดุของลูกค้าบริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส จำกัด ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การค้นคว้าอิสระ

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สถาบันมาตรฐานฮาลาลแห่ประเทศไทย. (2551). คู่มือแนะนำฮาลาล - ฮารอม. ค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2564. จาก https://www.acfs.go.th/halal/img/halal_harom.pdf

สมจิตรา แจ่มใส. (2558). แนวทางการพัฒนาธุรกิจร้านอาหารฮาลาลในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

สาวิตรี เจือทอง. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อกระบวนการเลือกซื้ออะไหล่รถยนต์ของผู้บริโภคในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพฯ

สุทิน ชนะบุญ. (2560). บทที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน. สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านสุขภาพเบื้องต้น. (น.148-160). ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.

สุดาพร กุณฑลบุตร. (2557). หลักการตลาด...สมัยใหม่. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องอาจ ปทะวานิช และณัฐกันย์ ชินนรานันท์. (2557). การส่งเสริมการขาย. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

อัจฉราภรณ์ อมรสิทธินนท์. (2560). การศึกษาทัศนคติที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของผู้ใช้บริการร้านคอฟฟี่ช็อป วิทยาลัยดุสิตธานี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยดุสิตธานี.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Kotler, P. (1997). Marketing management analysis, planning, implementation and control. (9th ed.). New Jersey: A Simon & Schuster Company.

Solomon, M. R. (2009). M.R. Consumer Behavior Buying Having and Being. New Jersey: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31