ตัวแบบธุรกิจบนพื้นฐานหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้าเพื่อสร้าง มูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและผลตอบแทนทางสังคมในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
คำสำคัญ:
ตัวแบบเชิงธุรกิจ, หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า, เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตากบทคัดย่อ
การเกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจในประเทศ ตั้งแต่องค์การขนาดใหญ่จนไปถึงธุรกิจฐานรากอย่างวิสาหกิจชุมชน การผลิตและการลงทุนเกิดการชะลอตัวอย่างรุนแรงส่งผลกระทบเป็นวงกว้างและก่อให้เกิดการลดการจ้างงานภายในประเทศเป็นจำนวนมาก ทำให้การกลับมาทบทวนถึงพื้นฐานที่แท้จริงของการแก้ปัญหาทางธุรกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายพัฒนาสร้างความเข้มแข็งจากฐานราก โดยการนำความรู้และทรัพยากรในพื้นที่มาผลิตเป็นสินค้าและบริการเพื่อเพิ่มศักยภาพของเศรษฐกิจฐานรากให้สามารถสร้างรายได้ กระจายรายได้สู่ชุมชน การดำเนินการดังกล่าวสามารถทำได้ด้วยการพัฒนาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บทความนี้มุ่งนำเสนอแนวคิดตัวแบบเชิงธุรกิจเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า โดยการแสดงให้เห็นถึงการนำหลักวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนเพื่อดำเนินการทุกขั้นตอน รวมถึงการฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนจนถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและผลตอบแทนทางสังคมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน อันจะส่งผลดีกับรัฐบาลในการจัดสรรงบสำหรับชุมชนท้องถิ่นความสอดคล้องกับการนำไปใช้และประยุกต์ขยายผลในพื้นที่ต่อไป
References
คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. (2548). เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
ประชาชาติธุรกิจ. (2563). Smart Product สร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตการเกษตร. ค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2564, จาก https://www.prachachat.net/columns/news-465697
พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงอะไร. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยพัฒน์.
พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์. (2560). เศรษฐกิจพอเพียง: จากปรัชญาสู่ทฤษฎี (ใหม่) ทางธุรกิจ. ค้นเมื่อ 1 มกราคม 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/117824.
มูลนิธิชัยพัฒนา. (2564). เศรษฐกิจพอเพียง. ค้นเมื่อ 1 มกราคม2565, จาก https://www.chaipat.or.th/site_content/item/19-2009-10-30-07-44-57.html.
วรรณดี สุทธินรากร. (2557). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและกระบวนการทางสำนึก. กรุงเทพฯ: สยาม.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2551). จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: เพชรรุ่งการพิมพ์.
สุภางค์ จันทวานิช. (2531). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สัญญา ยือราน และศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. (2561). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมสู่ความสำเร็จการเปลี่ยนแปลงนโยบายในระบบสุขภาพ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(2), 288-300.
อมาวสี อัมพันศิริรัตน์ และพิมพิมล วงศ์ไชยา. (2560). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม: ลักษณะสำคัญของการประยุกต์ใช้ในชุมชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(6), 192-202.
อุทัยทิพย์ เจี่ยวิวรรธน์กุล. (2553). การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม: แนวคิด หลักการและบทเรียน. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.
Allmendinger, G. & Lombreglia, R. (2005). Four Strategies for the Age of Smart Services. Harvard Business Review, 83, 131-134.
Archawananthakun, S. & Yaemlaoar, P. (2014). Guide to Social Results and Returns Social Investment. Bangkok: Dan Suthat Printing.
Gillis, A. & Jackson, W. (2002). Research methods for nurses: Methods and interpretation. Philadelphia: F.A. Davis Company.
Hassan, A. (2012). The Value Proposition Concept in Marketing: How Customers Perceive the Value Delivered by Firms – A Study of Customer Perspectives on Supermarkets in Southampton in the United Kingdom. International Journal of Marketing Studies, 4(3), 68-87.
Osterwalder, A. & Pigneur, Y. (2005). Clarifying business models: Origins, present, and future of the concept. Communications of the Association for Information Systems, 16, 1-25.
Olsen, S. & Nicholls, J. (2005). A framework for approaches to SROI analysis. Berkeley: University of California.
McNiff, J. & Whitehead, J. (2006). All you need to know about action research. Thousand Oaks, CA: Sage.
Rotheroe, N. & Richards, A. (2007). Social Return on Investment and social enterprise: Transparent accountability for sustainable development. Social Enterprise Journal, 3(1), 31–48.
Schlten, P., Nicholls, J., Olsen, S. & Galimidi, B. (2006). Social return on investment: a guide to SROI analysis. Amstele Veen: Lenthe publishers.
SROI Network. (2012). A guide to Social Return on Investment. Retrieved from http://socialvalueint.org/wp-content/ uploads/2016/12/The-SROI-Guide-2012.pdf
Stringer, E. & Genat, W. J. (2004). Action research in health. Columbus, Ohio: Person Prince Hall.
Streubert, H.J. & Carpenter, D.R. (1995). Qualitative Research in Nursing: Advancing the Humanistic Imperative. Philadelphia: Lippincott.