การพัฒนาบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของ บริษัท มิตซุย พรีซิสชั่นไทย จำกัด

ผู้แต่ง

  • เกสรา บุญครอบ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ภัทรนันท สุรชาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

การพัฒนาบุคลากร, ประสิทธิภาพการทำงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยการพัฒนาบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของ บริษัท มิตซุย พรีซิสชั่นไทย จำกัด 2) เปรียบเทียบระดับปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของ บริษัทมิตซุย พรีซิสชั่นไทย จำกัด และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของ บริษัท มิตซุย พรีซิสชั่นไทย จำกัด พนักงานของ บริษัท มิตซุย พรีซิสชั่น ไทย จำกัด จำนวน 187 คน จากการคำนวณด้วยสูตร ทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย  คือ แบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานด้วย ค่าที ค่าเอฟ ค่าแอลเอสดี และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

จากผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาบุคลากรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของ บริษัท มิตซุย พรีซิสชั่นไทย จำกัด โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาการพัฒนาบุคลากรในแต่ละด้านเรียงตามลำดับจากค่าสูงมาค่าต่ำ คือ ด้านการเพิ่มพูนความรู้ ด้านความชำนาญและความสามารถของบุคลากร ด้านการพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับการพัฒนาองค์กร อยู่ในระดับเท่ากัน ส่วนด้านที่มีค่าต่ำ คือ ด้านการเพิ่มพูนทักษะ และ ประสิทธิภาพการทำงานของ บริษัท มิตซุย พรีซิสชั่นไทย จำกัดโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาประสิทธิภาพการทำงานในแต่ละด้านเรียงตามลำดับจากค่าสูงมาค่าต่ำ คือ ด้านคุณภาพและมาตรฐานตามกฏเกณฑ์ ด้านความคล่องแคล่ว รวดเร็ว ฉับไว ทันเวลา ส่วนด้านที่มีค่าต่ำ คือ ด้านความพึงพอใจ 2) ผลการเปรียบเทียบระดับปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของ บริษัท มิตซุย พรีซิสชั่นไทย จำกัด พบว่า เพศ และระดับการศึกษาต่างกันมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานแตกต่างกัน และอายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน สถานภาพและระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ต่างกัน มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานไม่แตกต่างกัน และ 3) ผลการหาความสัมพันธ์ประสิทธิภาพการทำงานของ บริษัท มิตซุย พรีซิสชั่นไทย จำกัด โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r=.673) หมายถึงมีระดับความสัมพันธ์ในระดับสูง

References

จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2556). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

จิตราพร ลดาดก. (2559). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ (7Ps) ที่มีผลต่อการเลือกใช้สายการบิน ต้นทุนต่ำของผู้โดยสารขาวไทยที่ใช้บริการ ณ ท่าอาศยานดอนเมือง. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ณัฐวัตร เป็งวันปลูก. (2560). ปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการทหารประจำสังกัดกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 7. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

บริษัท มิตซุย พรีซิสชั่นไทย จำกัด. (2564). ทะเบียนฝ่ายบุคคลบริษัท มิตซุย พรีซิสชั่นไทย จำกัด. พระนครศรีอยุธยา : ผู้แต่ง.

ประชุม รอดประเสริฐ. (2558). การพัฒนาบุคลากร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยบูรพา.

พรเทพ พัฒนานุรักษ์ และคนอื่น ๆ. (2561). การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของเทศบาลนครปากเกร็ด ประจำปี 2561. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

รุ่งรัตนา บุญ-หลง. (2560-2561). แนวทางการพัฒนาบุคลากรสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ภายใต้บริบทประเทศไทย 4.0. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

อัครเดช ไม้จันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรม ติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สุธินี ฤกษ์ขำ. (2557). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: หลักการและการประยุกต์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อรรถพล หวังสู่วัฒนา. (2562). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในบริษัทไทยเชื้อเพลิงการบิน จำกัด. จังหวัดสมุทรปราการ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี. (2556). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในองค์กรของพนักงานภาคเอกชน กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Devi, V. R. & Shaik, N. (2012). Training & development – a jump starter for employee performance and organizational effectiveness. International Journal of Social Science & Interdisciplinary Research, 7(1), 202-207.

Katz, D. & Kahn, R. L. (1978). The social psychology of organization. (2nd ed.). New York : McGraw-Hill.

Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. (3rded). New York: Harper and Row

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31