การยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น ของตำบลบ้านงิ้ว อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • พัชราภรณ์ จันทรฆาฎ สาขาวิชาการจัดการการบริการและการโรงแรม วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • กานต์มณี ไวยครุฑ สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ งานศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ปรัชญพัชร วันอุทา สาขาวิชาการจัดการธุรกิจการบิน วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การยกระดับศักยภาพ, การท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์, บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ทั้งด้านมูลค่าและคุณค่าบนฐานอัตลักษณ์แต่ละท้องถิ่นของตำบลบ้านงิ้ว อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี 2) ยกระดับช่องทางการสื่อสารการตลาดท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่นักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายในชุมชนตำบลบ้านงิ้ว อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี และ 3) เสริมสร้างศักยภาพชุมชนต้นแบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และภาคีเครือข่ายเพื่อความยั่งยืนของตำบล บ้านงิ้ว อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์เชิงลึกของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลบ้านงิ้ว จำนวน 15 คน และเจ้าหน้าที่หน่วยงานในตำบลบ้านงิ้ว 10 คน โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ได้ดำเนินการจนได้รับมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย ประเภท นันทนาการและสถานที่ท่องเที่ยวจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 2) การยกระดับช่องทางการสื่อสารการตลาดท่องเที่ยว จัดแสดงสินค้าภายในงานเปิดกิจกรรม “วันเดย์ทริป ปทุมธานี เสน่ห์ใกล้กรุง เปิดเมืองปทุมธานีรับนักท่องเที่ยว” เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยววิถีชุมชนตำบลบ้านงิ้ว และ 3) เสริมสร้างศักยภาพชุมชนต้นแบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนและภาคีเครือข่าย โดยดำเนินการขอเข้ารับประเมินมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชนจากกรมท่องเที่ยว เพื่อสร้างมูลค่าและคุณค่าในเชิงเศรษฐกิจให้กับสมาชิกกลุ่มด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ส่งผลต่อความสมดุลของเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมของชุมชน ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน

References

กานต์มณี ไวยครุฑ. (2564). การพัฒนาศักยภาพชุมชนบนฐานทรัพยากรวัฒนธรรมไทย-มอญชุมชนบ้านงิ้ว จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 13(2), 135-146.

เปรม ถาวรประภาสวัสดิ์. (2562). พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมพ.ศ.2559 : การรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้. กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการสำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร.

พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน = Community based tourism Handbook. กรุงเทพฯ: โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.

สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. (2560). การท่องเที่ยวโดยชุมชน. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2564, จาก http://www.cbti.or.th/?ge=show_pages&gen_lang=20112012094103 (สำนักงานผลิตภัณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรม. (2564).

การยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์และการขอรับรองมาตรฐาน. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2564, จาก https://www.tisi.go.th/website/thaicommunity/cps_history.

สรรเพชร เพียรจัด, จตุพัฒน์ สมัปปิโต, จินตนา วัชรโพธิกร และจารินี ม้าแก้ว. (2564). รูปแบบการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์พื้นถิ่นข้าวเม่าแบบบูรณาการ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการ มจร. บุรีรัมย์, 6(1), 105-119.

Patcharaporn Jantarakast and Atchira Tiwasing (2021). Creative Tourism Development Program in Ban Ngew Subdistrict, Sam Khok District, Pathum Thani Province. The 3rd International Conferenceมา on Multidisciplinary and Current Educational Research (pp. 638-644). Ayutthaya, Thailand: Mahachulalongkornrajavidyalaya University (MCU).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-31