การพัฒนารูปแบบธุรกิจสำหรับผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ไอศกรีมผลไม้ และสมุนไพรโฮมเมด
คำสำคัญ:
รูปแบบธุรกิจ, การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน, กิจการเพื่อสังคมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบธุรกิจสำหรับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรคลองสองร่วมใจ จังหวัดปทุมธานี กรณีศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่คือไอศกรีมผลไม้และสมุนไพรโฮมเมด โดยปัจจุบันกลุ่มแม่บ้านฯ มีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 23 คน และได้จดทะเบียนเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแล้ว ขั้นตอนการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) การศึกษาข้อมูลเอกสาร 2) การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม และ 3) การสัมภาษณ์เชิงลึก หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์และตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสามเส้าของแหล่งข้อมูล ซึ่งผลการวิจัยสามารถแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
1. ความเป็นไปได้ในด้านการผลิต รูปแบบการผลิตใช้เทคโนโลยีจากเครื่องจักรผลิตขั้นต่ำ 40 กิโลกรัมต่อรอบ ผลิตได้วันละ 300 กิโลกรัม โดยสลับการผลิต 8 รสชาติ ไอศกรีมที่ผลิตได้ใส่ถังขนาด 5 กิโลกรัม เพื่อให้ไอศกรีมมีการหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งส่งผลให้มีความสดใหม่อยู่เสมอ 2. ความเป็นไปได้ในด้านการตลาด กลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้ให้ความสนใจในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง และกลุ่มเป้าหมายรองได้แก่กลุ่มผู้ที่ชอบสินค้าแปลกใหม่ เริ่มต้นธุรกิจจากฐานลูกค้าเดิมที่บริโภคสินค้ากับกลุ่มแม่บ้านโดยใช้กลยุทธ์การบอกต่อ และทำควบคู่กับการตลาดออนไลน์ 3. ความเป็นไปได้ในด้านการเงิน เงินลงทุนประมาณ 1,486,100 บาท โดยได้แหล่งเงินลงทุนจาก 3 ส่วนได้แก่ 1) เงินลงทุนจากกลุ่มแม่บ้าน 2) เงินลงทุนจากกองทุนหมู่บ้านและองค์กรต่าง ๆ จากภาครัฐ และ 3) เงินจากการกู้ยืมจากสถาบันทางการเงิน มีเงินทุนหมุนเวียน 513,000 บาท มีกำไรสุทธิเฉลี่ยของโครงการต่อเดือน 189,938.21 บาท โดยมีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 2 ปี และมีอัตราผลตอบแทนจากโครงการ IRR 43.692% และ 4. ความเป็นไปได้ในด้านการจัดการ กลุ่มแม่บ้านมีความเชี่ยวชาญในการบริหารงานแบบสหกรณ์ ดังนั้นรูปแบบส่วนใหญ่มีการจัดการในรูปแบบของสหกรณ์เพื่อให้สมาชิกสามารถเข้าถึงกิจการ
References
ชนินทร์ ชิ้นอินมนู. (2559). แผนธุรกิจเพื่อขยายธุรกิจโรงงานผลิตขนมบ้านปั้นแป้ง. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ชเนตตี พุ่มพฤกษ์ และนันทนิธิ์ เอิบอิ่ม. (2564). การตลาดอัตโนมัติ: เครื่องมือสู่ความสำเร็จในธุรกิจสำหรับนักการตลาดยุคดิจิทัล. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(1), 221-230.
นฤมล ญาณสมบัติ และเจนวิชญ์ ทองอ่อน. (2564). การเพิ่มมูลค่าตราสินค้าโดยใช้ตราสัญลักษณ์และเครื่องมือทางการค้า. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(2), 281-294.
พงศ์สฎา เฉลิมกลิ่น, อารยา ผิวนวล, นิศารัตน์ จันทราสกุล และอะมิตา แผ่นสูงเนิน. (2562). การพัฒนาแผนธุรกิจธุรกิจสวนเลมอน จังหวัดนครปฐม. ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 (หน้า 785-793). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
พรรณราย แสงวิเชียร, มรกต กำแพงเพชร, แววมยุรา คำสุข, บรเจิดศักดิ์ สัณหภัคดี, ชรินพร งามกมล และกันต์ติกมาฐ รัตนปริญญานุกูล. (2561). แผนธุรกิจเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ปลาสลิดแปรรูปตามความต้องการของผู้บริโภค. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 10(1), 191-206.
มริษา พรหมหิตาทร และบรรดิษฐ พระประทานพร.(2563). ทัศนคติและกลยุทธ์ใช้พนักงานขายตรงที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรขายตรง (ประเภทปุ๋ย) ของผู้บริโภคในจังหวัดสุราษฏร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(1), 69-79.
ศิริวรรณ พันธุ และชาคริต ศรีทอง. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารผ่านออนไลน์. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, (1), 63-72.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2558). ตลาดไอศกรีมในปี 2558. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย.
ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร. (มิถุนายน, 2562). ส่วนแบ่งการตลาดไอศกรีม ปี 2561. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564, จาก http://fic.nfi.or.th/FoodMarketShareInThailandDetail.php?id=262.
อรวิกา ศรีทอง และชาคริต ศรีทอง. (2563). การศึกษาความเป็นไปได้ในการเริ่มต้นธุรกิจการผลิตบรรจุภัณฑ์จากกระดาษของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรคลองสองร่วมใจ จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(2), 25-36.
อรวิกา ศรีทอง. (2559). การพัฒนากลยุทธ์การตลาดของผลิตภัณฑ์ข้าวเสริมสุขภาพกึ่งสำเร็จรูป: กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรคลองหลวง(คลองสอง). วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(1), 208-219.
เอฟทีเอ ดันไทยส่งออกไอศกรีมขยับขึ้นเบอร์ 4 โลก. (2564, กุมภาพันธ์). กรุงเทพธุรกิจ. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564, จากhttps://www.bangkokbiznews.com/news/923500
Bangkokbank SME. (มีนาคม, 2564). ไอศกรีมเอกลักษณ์ไทย สร้างจุดขาย โตฉลุย. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564, จาก https://www.bangkokbanksme.com/en/thai-unique-ice-cream-creating-selling-point.
Banterng Sriard ,Thawatchai Nima. ,Charcrit Sritong and Pornthep Kaewchur. (2021). The Analysis Model of The Causal Influence Factors Of Attractiveness And Commitment To Export Affecting Export Capability. Turkish Journal of Computer and Mathematics Education. 12(8), 2264-2269.
Moneke, U. and Ibeawuchi, E. (2020). Project management basics for beginners and professionals 978-620-2-79810-5.. n.p.: Lap Lambert Academic.
Pornthep Kaewchur ,Charcrit Sritong ,Banterng Sriard andThawatchai Nima. (2021). Role of Inventory Management on Competitive Advantage of Small and Medium Companies in Thailand. Turkish Journal of Computer and Mathematics Education. (12), 2753-2759.
Porter, M.E. (1979). How Competitive Forces Shape Strategy. Harvard Business Review. (57), 137-145.
Viorica, I. (2010). Financing Investment Projects the Relationship between Feasibility Study and Business Plan. Dunarea de Jos University of Galati, Romania Faculty of Economics and Business Administration. (1), 125-130.