คุณภาพการตรวจสอบบัญชีที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ
คำสำคัญ:
คุณภาพการตรวจสอบ, บัญชี, การดำเนินธุรกิจบทคัดย่อ
คุณภาพการตรวจสอบบัญชีที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาทักษะของ นักบัญชีต่อคุณภาพรายงานทางการเงิน และ 2. ศึกษาคุณภาพงานสอบบัญชีที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ ผลการศึกษาพบว่า ผู้สอบบัญชีส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ระหว่าง 30-35 ปี จบระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีประสบการณ์ในการตรวจสอบรายงานทางการเงินไม่เกิน 5 ปี ผู้สอบบัญชีส่วนใหญ่ได้เข้ารับการฝึกอบรม 1–2 ครั้ง ผลการวิจัย พบว่า 1) ทักษะของนักบัญชีต่อคุณภาพรายงานทางการเงิน พบว่า จรรยาบรรณ อยู่ในระดับปฏิบัติมากที่สุด รองลงมาคือ ทักษะทางปัญญา อยู่ในระดับปฏิบัติมาก และทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล อยู่ในระดับปฏิบัติมาก สำหรับความรู้ทางด้านวิชาชีพ พบว่า ด้านการบัญชี อยู่ในระดับปฏิบัติมากที่สุด รองลงมา เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านความรู้ทั่วไป อยู่ในระดับปฏิบัติมาก และ 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพงานสอบบัญชีโดยรวม อยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายด้านพบว่า สภาพแวดล้อมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ประสบการณ์ของผู้สอบบัญชี และทักษะของผู้สอบบัญชี ผลงานวิจัยสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของจรรยาบรรณของนักบัญชีและศักยภาพของนักบัญชี เป็นคุณสมบัติที่พึงมี ทำให้เป็นที่ยอมรับในการตรวจสอบธุรกิจ
References
จารุมน ศรีสันต. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณคาวิชาชีพกับคุณภาพการสอบบัญชีของผูสอบ บัญชีภาษีอากรในประเทศไทย. วิทยานิพนธบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชลิดา ลิ้นจี่ และคณะ. (2563). ศึกษาความรู้และทักษะวิชาชีพของนักบัญชีสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. วารสารศิลปะการจัดการ, 4(1), 34-45.
ชลกนก โฆษิตคณิน. (2563). ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในวิชาชีพของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 22(1), 61-67.
ณัฐณิชา ฟูเฟื่องสมบัติ. (2559). คุณภาพงานสอบบัญชีและการตกแต่งกำไร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฎฐธิดา จินมอญ. (2559). ความเป็นมืออาชีพกับ คุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับ อนุญาตแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชี มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ดารณี เอื้อชนะจิต. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
พวงพะยอม วนาพัฒนสิน และคณะ. (2555). ผลกระทบของการควบคุมคุณภาพการสอบบัญชีที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของสำนักงานสอบบัญชีในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 4(3), 62-72.
พัทรียา เห็นกลาง. (2554). ปัจจัยในการพิจารณาใช้ผลงานของผู้ตรวจสอบภายในโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
วิไลวรรณ โพนศิริ. (2562). ผลกระทบของความเป็นมืออาชีพที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(1), 125-136.
สภาวิชาชีพ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557). มาตรฐานการควบคุมคุณภาพฉบับที่1(TSQC1. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2564, จาก https://www.tfac.or.th/Article/Detail/66979.
สุฏิกา รักประสูติ. (2558). บทบาทของผู้ตรวจสอบภายในต่อการจัดการความเสี่ยงองค์กร: ปัจจัยสาเหตุและผลลัพธ์. สุทธิปริทัศน์, 29(92), 37-51.
สุมินทร เบ้าธรรม และคณะ. (2563). แนวโน้มค่าธรรมเนียมการสอบบัญชีและค่าบริการอื่นของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 2(5), 45-57.
อรอุมา แก้วสิทธิ์. (2561). คุณภาพงานสอบบัญชีที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
อุษณา ภัทรมนตรี. (2547). การตรวจสอบและควบคุมภายใน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Allen, A. and Woodland, A (2010). Education Requirement, Audit Fees, and Audit Quality. Journal of Practice & Theory, 29(2), 1-25.
Choo, C.W. (1997). Organization as “Information-use System”: A process Model of Information Management. Prime Vera Working Paper Series.
Hooks, Karen. (1992). Professionalism and Self Interest: A critical view of the Expectations Gap. Critical Perspectives on Accounting, 3(2), 109-136.
Lai, K.W. (2009). Does audit quality matter more for firms with high investment opportunities?. Journal of Accounting and Public Policy, 28(1), 35-50.
Mckeon, J. (2019). Sixteen Year Review of Audit Fee and Non-audit Fee. Retrieved April 17, 2020, from https://blog.auditanalytics.com/sixteen-year-review-of-audit-fee-and-non-audit-fee-trends/