ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ของนักศึกษาระดับ ปริญญาตรีกลุ่มวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรมมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันตก

ผู้แต่ง

  • วรรณวณัช นงนุช สาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • วงศ์ลัดดา วีระไพบูลย์ สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ปัจจัยเชิงสาเหตุ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์, วิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทัศนคติ อุปสรรค แรงจูงใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ในรายวิชาภาษาอังกฤษกลุ่มวิชาทางด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรมในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันตก 2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรคือทัศนคติ อุปสรรค และแรงจูงใจที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ในรายวิชาภาษาอังกฤษกลุ่มวิชาทางด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรมในมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันตก 3) เพื่อพัฒนาตัวแบบจำลองเชิงประจักษ์อิทธิพลของตัวแปรที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์กลุ่มวิชาทางด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันตกประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรการท่องเที่ยวและการโรงแรมมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันตก ที่มีประสบการณ์ในการเรียนภาษาอังกฤษแบบออนไลน์จำนวน 605 คน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 350 คน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้งหมด 4 แห่งในภูมิภาคตะวันตก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) และวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง  (Structural Equation Model Analysis: SEM)

ผลการวิจัยพบว่า 1) เพื่อศึกษาทัศนคติ อุปสรรค แรงจูงใจและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญต่อองค์ประกอบด้านทัศนคติในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}=2.63) (S.D.=0.61) องค์ประกอบด้านอุปสรรคในระดับน้อย (gif.latex?\bar{X}=2.55) (S.D.=0.64) องค์ประกอบด้านแรงจูงในในระดับน้อย (gif.latex?\bar{X}=2.52) (S.D.=0.79) และองค์ประกอบด้านผลสัมฤทธิ์ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X}=2.68) (S.D.=0.80) 2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรคือทัศนคติ อุปสรรค และแรงจูงใจที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ พบว่าตัวแปรอิสระมีอิทธิพลต่อตัวแปรส่งผ่านและมีอิทธิพลต่อตัวแปรตามที่ตั้งสมมุติฐานไว้ทุกข้อคือ ทัศนคติและอุปสรรคมีอิทธิพลต่อแรงจูงใจ และมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ในการเรียน และ 3) เพื่อพัฒนาตัวแบบจำลองเชิงประจักษ์อิทธิพลของตัวแปรที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์กลุ่มวิชาทางด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม พบว่าตัวแบบแบบจำลองที่สร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์และผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ทุกข้อโดย Chi-Square=86.815, df=72, Relative Chi-Square=1.206, p-value=.112, RMSEA=.024, RMR=.026, GFI=.969, NFI=.963, TLI=.990, CFI=.993

References

กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง.กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553) ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

_______. (2564). ประกาศมาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). ฉบับที่ 11. ลงวันที่ 17 เมษายน 2564. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ขวัญดาว มาอยู่, นภัสสรณ์ เหลืองศักดิ์ศรี, โชติวัน แย้มขยาย, และมุทิตา สัตถุศาสน์. (2563). การสร้างแรงจูงใจในการเรียนรายวิชาการแปลภาษาจีนเป็นภาษาไทยของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(2), 200-208.

คณาธิป ทองรวีวงศ์. (2563). กฎหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

ชัญญา ตันสกุล และ กัญญามน กาญจนาทวีกูล. (2563, กรกฎาคม – ธันวาคม). การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการตามกรอบอาเซียนของสถานประกอบการเขตพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 6(2), 23-42.

ดลชนก นะเสือ. (2559). ปัจจัยด้านทัศนคติและความคุ้มค่าในการทำประกันชีวิตของลูกค้าธนาคารกสิกรไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิตสาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยศิลปากร. ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2564). วิจัยและสัมมนา. ค้นเมื่อ 25 กันยายน 2564, จากhttps://www.bot.or.th/Thai/ esearchAndPublications/Study/Pages/Research.aspx

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิ่มน้อย แพงปัสสา. (2551). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีพหุปัญญา เรื่อง การบวกและการลบ จำนวนที่มีผลลัพธ์ และตัวตั้งไม่เกิน 100 ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดสร้างสรรค์ และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประภัสสร หนูพรหม และ รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์. (2563). แรงจูงใจของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่ส่งผลต่อการให้บริการอย่างมีคุณภาพ. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 10(2), 14-20.

พระมหาสายัณห์ เปมสีโล. (2564). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ในระดับอุดมศึกษาภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19. วารสาร Modern Learning Development, 6(6), 357-370.

มะนาวาวี มามะ, ซำสีนาร์ ยาพา, อาซียะ วันแอเลาะ, นุรฮูดา สะดามะ และอัฟฟาน สามะ. (2559, มภาพันธ์). ทัศนคติต่อความสำคัญของภาษามลายูในประชาคมอาเซียนและแนวทางการพัฒนาการสอนภาษามลายูของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 12 (ฉบับพิเศษ 2560), 137-150.

ศุภิกา นิรัติศัย. (2561). ทัศนคติ แรงจูงใจ และพฤติกรรมการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. วารสารคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 9(2), 138-170.

สุพิชญ์กฤตา พักโพธิ์เย็น. (2560). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

สุมลฑา สุขสวัสดิ์. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการใช้สื่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาระบบปฏิบัติการเบื้องต้น เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ.

สุรารัตน์บรรยง และ อจิรภาส์ เพียรขุนทด. (2563). ความคิดเห็นของนายจ้างไทยที่มีต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานอาเซียนอย่างเสรี ในประเทศไทย. Journal of Buddhist Education and Research, 6(1), 103-120.

อรรชนิดา หวานคง. (2559). การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 7(2), 303-314.

Arati, P. and Prachi, W. (2015). A study of Importance of English Language Proficiency in Hospitality Industry and the Role of Hospitality Educators in Enhancing the Same Amongst the Students. Atithya Journal of Hospitality, 1(1), 56-63.

Arbuckle, J. L. (1995). AMOS for Windows Analysis of Moment Structures. Version 3.5.

Chicago: Small Waters Corp.Bergmann, J., and Sams, A. (2012). Flip Your Classroom: Reach Every Student in Every Class Every Day, Washington DC: International Society for Technology in Education.

Bollen, K.A. (1989). Structural Equations with Latent Variables. New York: John Wiley and Sons.

Broussard, S. C. and Garrison, M.E. (2004). The relationship between classroom motivation and academic achievement in elementary school-aged children. Family Consumer Science Research Journal, 33(2), 106-120.

Cortina, J. M. (1993). What is coefficient alpha? An examination of theory and applications.Journal of applied psychology, 78(1), 98.

Dao Thi Hong VAN, and Ha Hoang Quoc THI. (2021). Student Barriers to Prospects of Online Learning in Vietnam in the Context of Covid-19. Turkish Online Journal of Distance Education-TOJDE, 22(3), 1-16.

Ertmer, P. A. and Newby, T. J. (1993) Behaviorism, cognitivism, constructivism: Comparing critical features from an instructional design perspective. Performance Improvement Quarterly, 6(4), 50–72.

Gardner, R. C. (1985). Social psychology and second language learning: The role of attitudes and motivation. London: E. Arnold.

Gibson, J. (2000). Organizations, Behavior, Structure, Processes. (9th ed.). New York: Mc Graw – Hill.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. and Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th Ed.). New York: Pearson.

Hong Thu Thi Nguyen. (2021). Boosting Motivation to Help Students to Overcome Online Learning Barriers in Covid-19 Pandemic: A Case study. International Journal of Interactive Mobile Technologies, 15(10), 4-20.

Joreskog, K.G. and Sorbom, D. (1993). LISREL 8: Structural Equation Modelling with the SIMPLIS Command Language, Scientific Software International; Lawrence Erlbaum Associates.

Mahmudah, I. (2021). Students’ Barrier and Motivation Regarding English Online Learning During The Covid-19 Outbreak. English language and literature education, Universities JANBI.

Nuchnoi, R. (2006). A survey of the motivation of the Rangsit University English major students towards learning English. Journal of Humanities and Social Sciences, 5(9), 93-116.

Phuengpitipornchai, K., and Teo, A. (2021). Thai English, Acceptable or Just Likable? A Study of Foreign Tourists’ Perception of Thai English. Journal of Studies in the English Language, 16(1), 86–118.

Saris. W.E. & Strenkhorst. L H. (1984). Causal modeling non experimental research: An Introduction to the lisrel approach. Dissertation Abstract International, 47(7), 2261-A.

Schermerhorn, J. R. (2000). Management. (7th ed.) New York: John Wiley & Sons.

Sharpley, R. (2003). Tourism, tourists & society. (3rd Ed.). Huntingdon, England: ELM. Suryasa, I Wayan. (2017). An Analysis of Students’ Motivation Toward English Learning as Second Language Among Students in Pritchard English Academy (PEACE). International Journal of Social Sciences And Humanities, 1(2), 43-50.

Talernsri, A. (2019). Why English matters to Thailand. Retrieved August 31, 2021, from https://www.bangkokpost.com/business/1798104/why-english-matters-to-thailand

Triandis, H. C. (1971). Attitude and Attitude Change (Foundations of Social Psychology). Hoboken, NJ: John Wileys & Son

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-28