ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับการเปิดเผยข้อมูลการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของบริษัทใน SET50

ผู้แต่ง

  • สมพงค์ พรมสะอาด สาขาวิชาบริหารธุรกิจ (การประกอบการและการจัดการ) คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

การเปลี่ยนแปลงแบบเปลี่ยนขาดจากดิจิทัล, การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ดิจิทัล, การเปิดเผยข้อมูลกิจกรรมดิจิทัล

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉมสร้างผลกระทบต่อองค์กรธุรกิจจำนวนมากในแทบจะทุกอุตสาหกรรม จนทำให้การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ดิจิทัลเป็นวาระสำคัญขององค์กรทุกระดับ รวมถึงต้องเปิดเผยข้อมูลการเปลี่ยนผ่านให้ตลาดและ  นักลงทุนรับทราบ เพื่อสร้างมุมมองด้านบวกอันจะส่งผลต่อมูลค่ากิจการ บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาระดับการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับการเปิดเผยข้อมูล โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจากบริษัทที่อยู่ในรายชื่อ SET50 แหล่งข้อมูลในการศึกษาคือรายงานประจำปีระหว่างปี พ.ศ.2559-2563                 

ผลการศึกษา พบว่า บริษัทในกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ได้ดำเนินการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ดิจิทัล และรายงานกิจกรรมดังกล่าวให้นักลงทุนได้ทราบไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท โดยจำนวนการเปิดเผยข้อมูลบ่งชี้ว่าการดำเนินกิจกรรมทางดิจิทัลได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอุตสาหกรรมที่มีการรายงานข้อมูลสูงสุดคือบริการทางการเงิน ทั้งนี้ข้อมูลหรือคำที่พบว่าได้รับการรายงานมากที่สุดจะไม่ใช่เทคโนโลยีดิจิทัลชั้นสูง ผลการศึกษายังบ่งชี้ว่าการเปิดเผยข้อมูลกิจกรรมดิจิทัลในอดีต ขนาดของกิจการ และอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลในทางบวกต่อระดับเปิดเผยข้อมูลกิจกรรมทางดิจิทัลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

Annacone (2019). The 4 types of digital transformation. Retrieved January 20, 2021 from https://linkedin.com/pulse/4-types-digital-transformation-andrew-annacone

Cockburn, I. M., Henderson, R. and Stern, S. (2018). The impact of artificial intelligence on innovation (No. w24449). National bureau of economic research.

Correani, A., De Massis, A., Frattini, F., Petruzzelli, A. M. and Natalicchio, A. (2020). Implementing a digital strategy: Learning from the experience of three digital transformation projects. California Management Review, 62(4), 37-56.

Eller, R., Alford, P., Kallmünzer, A. and Peters, M. (2020). Antecedents, consequences, nd challenges of small and medium -sized enterprise digitalization. Journal of Business Research, 112, 119-127.

Kane, G. C., Palmer, D., Phillips, A. N., Kiron, D. and Buckley, N. (2015). Strategy, not technology, drives digital transformation. MIT Sloan Management Review and Deloitte University Press, 14(1-25).

Kohler, T. (2016). Corporate accelerators: Building bridges between corporation and startups. Business Horizons, 59(3), 347-357.

Lee, J. (2021). Digital transformation strategy of traditional companies. 펜립. Liere-Netheler, K., Packmohr, S. and Vogelsang, K. (2018). Drivers of digital transformation in manufacturing. doi:10.24251/HICSS.2018.493

Margiono, A. (2020). Digital transformation:

setting the pace. Journal of Business Strategy, 42(5), 315-322.

Ross, S. A. (1977). The determination of financial structure: the incentive-signaling approach. The bell journal of economics, 23-40.

Salvi, A., Vitolla, F., Rubino, M., Giakoumelou, A., And Raimo, N. (2021). Online information on digitalisation processes and its impact on firm value. Journal of Business Research, 124, 437-444.

Chen, W. and Srinivasan, S. (2020). Going Digital: Implications for Firm Value and Performance. Harvard Business School Working Paper, No. 19-117.

Tabrizi, B., Lam, E., Girard, K. and Irvin, V. (2019, March). Digital transformation is not bout technology. Harvard business review, 13, 1-6.

Tambe, P. (2014). Big data investment, skills, and firm value. Management Science, 1452-1469

Verhoef, P. C., Broekhuizen, T., Bart, Y., Bhattacharya, A., Dong, J. Q., Fabian, N. and Haenlein, M. (2021). Digital transformation: A multidisciplinary reflection and research agenda. Journal of Business Research, 122, 889-901.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-28