ประสิทธิภาพการบริหารงานสำนักงานเลขานุการกรมทางหลวงตามหลักอิทธิบาทธรรม
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพการบริหารงาน, บริหารงานสำนักงาน, หลักอิทธิบาทธรรม, กรมทางหลวงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการบริหารงานสำนักงานเลขานุการกรมทางหลวง ตามหลักอิทธิบาทธรรม 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาทธรรมกับประสิทธิภาพการบริหารงานสำนักงานเลขานุการกรมทางหลวง 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานสำนักงานเลขานุการกรมทางหลวงตามหลักอิทธิบาทธรรม
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ใช้ระเบียบวิธีเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการแจกแบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 127 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ในการวิจัยเชิงคุณภาพใช้สัมภาษณ์เชิงลึกกับ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลประกอบบริบทและสังเคราะห์ข้อมูลโดยนำเสนอเป็นความเรียง ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับประสิทธิภาพการบริหารงานสำนักงานเลขานุการกรมทางหลวง ตามหลักอิทธิบาทธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ระดับประสิทธิภาพของการบริหารงานสำนักงานเลขานุการกรมทางหลวง อยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักอิทธิบาทธรรมกับประสิทธิภาพการบริหารงานสำนักงานเลขานุการกรมทางหลวง มีความสัมพันธ์ทางบวกในทิศทางเดียวกันอยู่ในระดับสูง 0.766 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานสำนักงานเลขานุการกรมทางหลวง ตามหลักอิทธิบาทธรรม ผู้บริหารและบุคลากรในองค์กรควรนำหลักอิทธิบาทธรรม มาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงาน และควรปรับให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม พร้อมทั้งสร้างขวัญกำลังใจให้บุคลกรในองค์กร ให้มีจิตอาสาในการปฏิบัติงาน เสียสละ ทำงานเป็นทีม ศึกษาหาความรู้พัฒนาตน พัฒนางานอยู่เสมอ เพื่อให้การบริหารงานมีผลสัมฤทธิ์สมบูรณ์มีประสิทธิภาพและบุคลาการมีความสัมพันธ์อันดีภายในองค์กร
References
กนกรภัส วงษ์ภากนกภณ. (2559). การปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เดชศักดิ์ อังเกลียวลม. (2542). บทบาทหน้าที่ของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามความคิดเห็นของสมาชิกสภาเทศบาล สุขาภิบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและการพัฒนา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เทเลอร์ อ้างใน ธงชัย สันติวงษ์. (2543). องค์การและการบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ส.เอเซียเพรส (1989).
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2545). ธรรมนูญชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 46). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมศาสนา.
พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์ และศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. (2546). การพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ พระธรรมขันต์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2545). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
สุรเชษฐ์ ตอรัมย์. (2561). การปฏิบัติงานตามหลักอิทธิบาทธรรมของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมคิด บางโม. (2558). องค์การและการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 7 ปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.