รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำสมัยใหม่ในองค์การธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ไทย
คำสำคัญ:
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำสมัยใหม่, องค์การธุรกิจ ให้บริการโลจิสติกส์ไทยบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะทั่วไปของประชากรเป้าหมาย และระดับความสำคัญของปัจจัยที่มีส่วนสำคัญต่อภาวะผู้นำสมัยใหม่ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำสมัยใหม่ โดยการวิจัยเชิงปริมาณด้วยเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง และ 3) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมในทางปฏิบัติของรูปแบบภาวะผู้นำสมัยใหม่ที่สร้างขึ้น โดยการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยเทคนิควิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิจัยเป็นแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 600 ตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า ข้อ 1) ข้อมูลลักษณะทั่วไปของประชาการ พบว่า องค์การธุรกิจบริการโลจิสติกส์ส่วนใหญ่เป็นองค์การธุรกิจขนาดกลาง (ร้อยละ 51.50) ดำเนินธุรกิจในรูปแบบธุรกิจการขนส่งทางบก (ร้อยละ 52.20) มีระยะเวลาประกอบธุรกิจ 5 ปี-10 ปี (ร้อยละ 44.80) มีรายได้ต่อปี ต่ำกว่า 100 ล้านบาท (ร้อยละ 69.20) และสถานประกอบการตั้งอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (ร้อยละ 21.80) ส่วนข้อมูลระดับความสำคัญของปัจจัยที่มีส่วนสำคัญต่อภาวะผู้นำสมัยใหม่ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยที่มีส่วนสำคัญต่อภาวะผู้นำสมัยใหม่ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (=3.529-3.670; SD=.543-.645) ข้อ 2) การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำสมัยใหม่ พบว่า (1) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ พบว่า องค์ประกอบทั้ง 3 องค์ประกอบ สามารถอธิบายตัวแปรทั้งหมดได้ร้อยละ 55.659 อย่างมีนัยสำคัญที่ .05 (p-value<.05) (2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า ผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการวัดองค์ประกอบการสอนงาน โมเดลการวัดองค์ประกอบการสร้างความท้าทาย และโมเดลการวัดองค์ประกอบการสร้างความมั่นใจ มีความตรงเชิงโครงสร้างและมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (3) ผลการวิเคราะห์ความตรงของโมเดลสมการโครงสร้างของความสำเร็จในการพัฒนาภาวะผู้นำสมัยใหม่ พบว่า ค่า Chi-square เท่ากับ 73.084, df=72 และ p-value=.442>.050 ค่าดัชนี RMSEA=.004<.080 ค่า CFI=1.000>.950 และ ค่า c2/df=1.015<2 แสดงว่าโมเดลสมการโครงสร้างของความสำเร็จในการพัฒนาภาวะผู้นำสมัยใหม่มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าน้ำหนักองค์ประกอบ (Factor Loading) ของตัวแปรสังเกตได้ของตัวแปรแฝงทุกตัวมีค่าเป็นบวก และแตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผลการวิเคราะห์อิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวม พบว่า การสอนงาน การสร้างความท้าทาย และการสร้างความมั่นใจ ส่งอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวม ต่อความสำเร็จในการพัฒนาภาวะผู้นำสมัยใหม่ และ ข้อ 3) ผลการตรวจสอบความเหมาะสมในทางปฏิบัติของรูปแบบที่สร้างขึ้น พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้ง 3 คน มีความเห็นสอดคล้องกันว่า “รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำสมัยใหม่ในองค์การให้บริการโลจิสติกส์ไทย มีองค์ประกอบถูกต้อง มีความเหมาะสมในการนำไปปฏิบัติ รูปแบบง่ายต่อการปรับใช้ และมีประโยชน์”
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). ธุรกิจโลจิสติกส์ไทย...ถึงเวลาต้องปรับตัวเปลี่ยนวิธีคิด นำเทคโนโลยีช่วยบริหารจัดการ.. เปลี่ยนคู่แข่งเป็นพันธมิตร. กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.
สุดแท้. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหาร งานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการจัดการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคราม.
ชิรวัฒน์ นิจเนตร. (2560). การวิจัยพัฒนารูปแบบทางสังคมศาสตร์และการศึกษา. วารสารราชภัฏสุราฎร์ธานี. 4(2). 71-102.
ธราธร รัตนนฤมิตศร. (2564, 9 มิถุนายน). Impact Canada กลยุทธ์สร้างนวัตกรรมจากปัญญามหาชน. กรุงเทพธุรกิจ. จากhttps://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/127568
ปัญญา ทองนิล. (2553). รูปแบบการพัฒนาสมรรถภาพการสอนโดยการบูรณาการแบบสอดแทรกสำหรับนักศึกษาครู เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พสุ เดชะรินทร์. (2556). ภาวะผู้นำกับการพัฒนากลยุทธ์ในการจัดการเปลี่ยนแปลง. ม.ป.ท.
มัลลิกา ต้นสอน. (2544). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2544). ภาวะผู้นำ Leadership). กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.
รัตนะ บัวสนธ์. (2556). วิธีการเชิงผสมผสานสำหรับการวิจัยและประเมิน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2553). การวิจัยพัฒนารูปแบบ. วารสารมหาวิทาลัยราชภัฏสกลนคร, 2(4), 1-15.
วรวรรษ เทียมสุวรรณ, วัชรพล วิบูลยศริน, ศิโรจน์ ผลพันธิน และเหม ทองชัย . (2562, พฤษภาคม - สิงหาคม). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 15(2). 219-231.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2544). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : เฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง.
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2552). TQA (Thailand Quality Award). กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.
AHSC. (1985). The American Heritage Dictionary of the English Language. (3 rd ed.). Boston: Houghton Mifflin.
Conger J.A., and Kanungo R.N. (1987). Toward a Behavioral Theory of Charismatic Leadership in Organizational Settings. Academy of Management Review, 12, 637-647.
Den Hartog, D. N., House, R. J., Hanges, P. J., Ruiz-Quintanilla, S. A. and Dorfman, P. W. (1999). Culture specific and cross- culturally generalizable implicit leadership theories: Aer attributes of charismatic/transformational leadership universally endorsed? 1. Leadership Quarterly, 10(2), 219–256.
Bridges, F. (2017, 21 Jul). 10 Ways To Build Confidence. Retrieved from https://www.forbes.com/sites/francesbridges/2017/07/21/10-ways-to-build-confidence/?sh=604e29ba3c59
Greenacre, L., Tung, N.M. and Chapman, T. (2014) ‘Self Confidence and the Ability to Influence’. Academy of Marketing Studies Journal, 18(2), 169-180.
International Mentoring Group. (2020). Definition of coaching in 2020. Who is the coach and how he works nowadays. Retrieved from https://mentoringgroup.com/what-is-coaching.html
Koontz , H. and Weihrich . H. (1988). Management. New York : McGraw-Hill.
Kouzes, J. M., and Posner, B. Z. (1987). The Leadership Challenge: How to Get Extraordinary Things Done in Organizations. San Francisco: Jossey-Bass.
Larzelere, R.E. and Huston, T.L. (1980). The Dyadic Trust Scale: Toward Understanding Interpersonal Trust in Close Relationships. Journal of Marriage and the Family, (43), 595-604.
Madaus, G.F., Scriven, M.S. and Stufflebeam, D.L. (1983). Evaluation models. [electronic resource]. Viewpoints on educational and human services evaluation. Dordrecht: Springer Netherlands.
Mayer, R. C., Davis, J. H. and Schoorman, F. D. (1995). An Integrative Model of Organizational Trust. Academy of Management Review, 20, 709-724.
https://doi.org/10.5465/amr.1995.9508080335.
Mescon. M.K., Albert. M. and Khedori. F. (1985). Management. New York : Harper & Row
Mishra, A. K. (1996). Organizational responses to crisis : the centrality of trust. In Kramer, R. M. and Tyler, T. R. (eds). Trust In organizations : Frontiers of theory and research (pp. 261-287). Thounsand Oaks, CA : Sage.
Mitchell, T. R. and Larson, J. R. (1987). People in Organization: An Introduction to Organizational Behavior. (3 rd ed.). Singapore: McGraw-Hill.
Morgan, R. M. and Hunt, S. D. (1994). The Commitment - Trust Theory of Relationship Marketing. Journal of Marketing, 58 (July), 20-30.
Mpower A.S.C.E.R.T. Institute. (2020). Character builds confidence and furnishes success.
Passmore, J. (2016). Excellence in Coaching: The Industry Guide. (3rd ed.). n.p.: Kogan Page.
Quick MBA management. (2021). Quick MBA Knowledge to Power Your Business. Retrieved from http://www.quickmba.com/mgmt/leadership/3c/
Renton, J. (2009). Coaching and mentoring. what they are and how to make the most of them. New York: Bloomberg Press.
Rush, D. D. and Sheldon, M. L. (2016). Five Characteristics of Coaching. MAH Coaching Support.
Schwartz, Z.D. (1980). Introduction to Management: Principle, Practice and Process. New York: Harcourt Brace Jovanovich.
Stogdill, R. (1974). Handbook of leadership: A survey of theory and research. New York: The Free Press.
Thornton, P. B. (1999). Thornton’s 3-C Leadership Model. by Quick MBA Knowledge to Power Your Business.