ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และกลยุทธ์ทางรอดของธุรกิจบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม
คำสำคัญ:
ผลกระทบ, กลยุทธ์ทางรอด, ธุรกิจบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม, สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19บทคัดย่อ
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยืดเยื้อมาเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี ธุรกิจบริการด้านอาหารและเครื่องดื่มจึงได้รับผลกระทบมาอย่างยาวนาน รวมไปถึงมาตการของภาครัฐที่สั่งให้กิจการปิดบริการในระยะเวลาหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะมีการผ่อนคลายมาตรการให้สามารถสั่งกลับบ้านแบบดิลิเวอรีได้ แต่ถึงอย่างนั้นธุรกิจบริการด้านอาหารและเครื่องดื่มก็ยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างมาก ดังนั้นผู้ประกอบการจึงต้องวางแผนในการกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขันของกิจการใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยวัตถุประสงค์ของบทความนี้ เพื่อศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับธุรกิจบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม พร้อมทั้งศึกษากลยุทธ์ทางรอดของธุรกิจบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อให้กิจการอยู่รอดได้ในสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่ โดยอัตราการขยายตัวของมูลค่าร้านอาหารที่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วในธุรกิจประเภทร้านอาหารที่ให้บริการเต็มรูปแบบ (Full Service) มีอัตราการขยายตัวค่อนข้างน้อย คือ ร้อยละ 0.7 แต่ก็ยังมีกิจการบางกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น คือ ร้านอาหารที่ให้บริการจำกัด (Limited Service Restaurant) มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 2.4 และร้านอาหารข้างทาง (Street Food) มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 2.0 ซึ่งร้านอาหารทั้ง 2 ประเภทนี้เป็นร้านอาหารที่มีขนาดเล็ก จึงมีความสามารถในการปรับตัวได้ดีกว่าร้านอาหารขนาดใหญ่ โดยกลยุทธ์ทางรอดของธุรกิจบริการด้านอาหารและเครื่องดื่มที่แนะนำ คือ ผู้ประกอบการต้องปรับรูปแบบร้านอาหารให้เป็นขนาดเล็กเพื่อความอยู่รอด (Compact Size) เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย (Mobility) และเพื่อความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ (Flexibility) และเลือกใช้กลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านต้นทุน (Cost Leadership Strategy) หรือกลยุทธ์การมุ่งต้นทุนตลาดเฉพาะส่วน (Cost Focus Strategy) เพื่อลดต้นทุนโดยรวมของกิจการและปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินงานให้เหมาะสม
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2564). บทวิเคราะห์ธุรกิจครึ่งปีแรก 2564 (มกราคม-มิถุนายน 2564). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
ญาณิศา เผื่อนเพาะ. (2561). ประเภทของร้านอาหาร กับคุณลักษณะผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. Veridian E Journal ฯ สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11, 303-321.
เบญจมาส เปาะทอง. (2561). การจัดการเชิงกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัย ราชภัฎสุราษฎร์ธานี.
ประภัสสร รังสิโรจน์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการพัฒนาธุรกิจร้านอาหารไทยอย่างยั่งยืน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 8, 2138-2150.
ไมเคิล อี พอร์เตอร์. (2565). ไมเคิล อี พอร์เตอร์. ค้นเมื่อ 12 เมษายน 2565, จาก https://groups.google.com/group/RSU_MBA9/attach/88594541e1ab7cb9/Michael_E_Porter.doc?part=0.2
วิกฤติร้านอาหาร บนมาตรการรัฐที่ไม่แน่นอน. (2564). กรุงเทพธุรกิจ. ค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/953712
วิพุธ อ่องสกุล. (2557). กลยุทธ์คืออะไร. กรุงเทพฯ:
บัวเงิน.
วิลเลน, โทมัส แอล, ฮังเกอร์, เจ เดวิท, ฮอฟฟ์แมน, อลัน เอ็ม และ แบมฟอร์ด, ชาร์ล อี. (2560). การจัดการเชิงกลยุทธ์ = Strategic management and business policy (วิรัช สงวนวงศ์วาน, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ท้อป.
ศูนย์วิจัยกสิกร. (2563). ธุรกิจอาหารปี 2564 ยังมีความเสี่ยงและความท้าทายสูง การเติบโตบนความเปราะบาง การลงทุนในธุรกิจยังคงต้องระมัดระวัง. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2564, จาก https://www.kasikornresearch.com/InfoGraphic/Documents/z3175.pdf?fbclid=IwAR2BfDfv7wrHuDhc8AdfcZGexVuX8__lj-UaTURPl4nUdLDKIOPpThml0MM
สิทธิชัย ธรรมเสน่ห์.(2564). รูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจร้านอาหารในยุคปกติวิถีใหม่สำหรับผู้ประกอบการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2564). บทวิเคราะห์สถานการณ์ SME:
บทวิเคราะห์สถานการณ์และบทวิเคราะห์ธุรกิจ MSME รายสาขาธุรกิจ (Quick study) ปี 2564: บทวิเคราะห์ธุรกิจ MSME สาขาธุรกิจร้านอาหาร. ค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2564, จาก https://www.sme.go.th/upload/mod_download/download-20210909160132.pdf
อำพล นววงศ์เสถียร. (2562). การจัดการเชิงกลยุทธ์ การแสวงหาความได้เปรียบในการแข่งขัน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเซาธ์