การพัฒนาฐานข้อมูลการผลิตข้าว และแนวทางการลดต้นทุนการผลิต ในอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท

ผู้แต่ง

  • วิจิตร จารุโณประถัมภ์ สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

การจัดการฐานข้อมูล, การลดต้นทุนการผลิต, อําเภอสรรคบุรี

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษากระบวนการผลิต ต้นทุนการผลิต และผลผลิตข้าวของชาวนาในอําเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท 2) พัฒนาฐานข้อมูลการผลิตข้าวของชาวนา ในอําเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท และ 3) ศึกษาปัญหาการผลิตข้าว และแนวทางการลดต้นทุนการผลิตข้าวของชาวนา ในอําเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ชาวนาในอําเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท จํานวน 240 คน โดยใช้วิธึการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิธีการดําเนินงานโดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และข้อมูลจาการศึกษาดูงานนอกสถานที่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการผลิตชาวนาในพื้นที่อําเภอสรรคบุรีส่วนใหญ่ทํานาด้วยวิธีการหว่านน้ําตม ส่วนใหญ่มีต้นทุนการผลิตข้าวระหว่าง 3,001 – 4,000 บาทต่อไร่ และส่วนใหญ่มีผลผลิตข้าวระหว่าง 701 – 800 กิโลกรัมต่อไร่ 2) การพัฒนาฐานข้อมูลการผลิตข้าว ด้วยการใช้โปรแกรมภาษา PHP HTML และ JavaScript โดยใช้ MySQL เป็นฐานข้อมูล โปรแกรมฐานข้อมูลมีหน้าที่ในการดําเนินงาน คือ การเพิ่มข้อมูล การแก้ไขข้อมูล การดูข้อมูลการลบข้อมูล การค้นหาข้อมูล และการดาวน์โหลดข้อมูล และ 3) ปัญหาของชาวนาในพื้นที่ คือ ภัยธรรมชาติ ต้นทุนการผลิตสูง ราคาข้าวไม่คงที่ และการปลูกพืชเชิงเดี่ยว โดยมีแนวทางในการแก้ไขปัญหา คือ การสร้างความรู้เรื่องการทําเกษตรแผนใหม่ ด้านการตลาดนําการผลิตมาให้กับชาวนา และการให้ความรู้กับชาวนาเรื่องการคิดต้นทุนการผลิต

References

กรมการข้าว. (2556). การลดต้นทุนการผลิตข้าว. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

กรมการข้าว. (2563). ค้นเมื่อ15 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://www.ricethailand.go.th/Rk/varieties/index.phpfile=content.php&id=1.htm

กฤษดา น้อยพิทักษ์. (2559). การจัดการฐานข้อมูลต้นทุนการผลิตกล้วยไม้แยกตามขั้นตอนการผลิตและแนวทางการลดต้นทุนการผลิตกรณีศึกษาสวนกล้วยไม้คุณสินชัย น้อยพิทักษ์อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชุมพล รอดแจ่ม และ รุ่งระวี มังสิงห์. (2560, กรกฎาคม– ธันวาคม). รูปแบบในการกำหนดต้นทุนในการปลูกข้าวไซร์เบอรี่กรณีศึกษา บ้านคลองตาชม หมู่ 9 ตำบลบางคูรัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 11(2), 100–114.

ณภาภัช ไชยน้ำอ้อม และวรชาติ โตแก้ว (2561). การจัดการฐานข้อมูลความหลากชนิดของสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ตลาดป่าชุมชนบางพื้นที่ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

เบญจวรรณ วงศ์คำ. (2557). ชุมชนท้องถิ่นกับการจัดการความรู้โดยอิสระ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พิกุล พงษ์กลาง. (2559, ธันวาคม). แนวทางการลดต้นทุนผลิตของการปลูกข้าว. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 10(13), 17-26.

มฑุปายาส ทองมาก. (2559). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ: การจัดการความท้าทายในยุคดิจิทัล.ปทุมธานี:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศรีสุดา อาชวานันทกุล. (2559). การบัญชีเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: ทีพีเอ็น เพรส.

สารานุกรมสำหรับเยาวชนฯ. (2563). ค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2563, จาก http://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=3&chap=1&page=t3-1-infodetail06.html

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2558). ระบบฐานข้อมูล. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชัน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-09