ความต้องการแรงงานและช่องว่างสมรรถนะสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เมืองต้นแบบการค้าชายแดน อําเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

ผู้แต่ง

  • ชุติกาญจน์ เพ็ชร์แก้ว คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • นิเลาะ แวอุเซ็ง คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • ซาฝีอี อาดํา คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • ธมยันตี ประยูรพันธ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • มัณฑนา กระโหวงศ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • รอยฮาน สะอารี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • วีรศักดิ์ โศจิพันธุ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

คำสำคัญ:

ความต้องการแรงงาน, ช่องว่างสมรรถนะ, การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, เมืองต้นแบบการค้าชายแดน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการแรงงาน 2) ศึกษาช่องว่างสมรรถนะ และ 3) ศึกษารูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่เมืองต้นแบบการค้าชายแดน ใช้วิธีวิจัยแบบผสม คือ วิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 879 คน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณา ค่าร้อยละ และค่าความถี่ วิจัยเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการแรงงานของหน่วยงานภาครัฐ คือ แรงงานที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันการศึกษาผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีมากที่สุด ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานมีแผนฝึกอบรมสาขา ช่างตัดเย็บเครื่องแต่งกายมุสลิม ช่างก่ออิฐฉาบปูน ช่างเดินสายไฟฟ้าในอาคาร ช่างปูนปั้นไม้เทียม และช่างปูนปั้นกระเบื้อง สถานประกอบการต้องการแรงงานวุฒิการศึกษาต่ํากว่าปริญญาตรี 2. ช่องว่างสมรรถนะด้านทักษะ พบว่าหน่วยงานภาครัฐและสถานประกอบการมีช่องว่างสมรรถนะเหมือนกันคือ แรงงานมีระดับทักษะในปัจจุบันต่ํากว่าระดับทักษะที่หน่วยงานต้องการทุกด้าน และทักษะที่มีช่องว่างมากที่สุดในทุกกลุ่มคือทักษะด้านภาษา 3. รูปแบบการพัฒนาทรัพยากรมนุย์ประกอบด้วย 3 ด้านคือ ด้านความรู้ ด้านสมรรถนะ และด้านคุณลักษณะ

References

คณะกรรมการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนราธิวาส. (2558). รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารงานเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนราธิวาส. นราธิวาส: สำนักงานเทศบาลจังหวัดนราธิวาส.

ชัยรัตน์ ชามพูนท, กมลพร กัลยาณมิตร, สถิตย์ นิยมญาติ, และ ทัศนีย์ ลักขณาภิชนชัช. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคการเปลี่ยนฉับพลันทางดิจิทัล. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 8(1), 195-208.

โชติชวัล ฟูกิจกาญจน์. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี และจินตกานต์ สุธรรมดี. (2560). การประยุกต์ใช้สมรรถนะ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11(1), 262 - 269.

ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี และ จินตกานด์ สุธรรมดี.(2560).กรอบแนวคิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา (ฉบับพิเศษ) เดือนกุมภาพันธ์ 2560, 168 – 184.

ฐานิชา คงประดิษฐ์ และ ปรีชา คำมาดี. (2563). การบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(3), 55 – 60.

เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2543) Competency Based Human Resources Management. วารสารการบริหารคน, 21(4), 11-18.

ธัญญารัตน์ พรหมสุทธ์, สมพร เฟืองจันทร์, เพ็ญศรี ฉิรินัง, และ ศิริพร แย้มนิล. (2564, มกราคม-เมษายน). การพัฒนาสมรรถนะทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับยุคประเทศไทย 4.0. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 10(1), 228 – 243.

นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์. (2559). หลักการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิรันดร์ จุลทรัพย์, วีนัส ศรีศักดา, กาญจนวัลย์ ปรีชาสุชาติ, ดวงฤดี พ่วงแสง และฉิ้น ประสบพิชัย. (2561, กันยายน- ตุลาคม). แนวโน้มความต้องการกำลังคนของตลาดแรงงานและการจ้างงานในอนาคตกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ในจังหวัดชายแดนภาคใต้. Veridian E-Journal,Silpakorn University, ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 11(3), 834– 848.

นิสดารก์ เวชยานนท์. (2550). Competency Model กับการประยุกต์ใช้ในองค์กรไทย. กรุงเทพฯ: กราฟิโนซิสเต็มส์.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วราภรณ์ ศรีบุญ. (2556). ความต้องการแรงงานของผู้ประกอบการในจังหวัดเพชรบุรี. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 (หน้า 119 – 13). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา

วรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล และ นุกูล ชิ้นฟัก. (2560, กันยายน-ตุลาคม). ความคาดหวังทักษะที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการในเขตพื้นที่ภาคใต้. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 36(5), 133-141.

วิกานดา เกษตรเอี่ยม (2559, ตุลาคม-ธันวาคม). คุณลักษณะของแรงงานที่พึงประสงค์สำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(96), 71 – 81.

วีระวัฒน์ ปันนิตามัย. (2563). การประเมินทรัพยากรมนุษย์:หลักการและแนวปฏิบัติ. นนทบุรี: รัตนไตร.

วันชัย ธรรมสัจการ, อังคณา ธรรมสัจการ, พรนค์พิเชฐ แห่งหน และธิติพัทธ์ บุญปก. (2562, กรกฎาคม-ธันวาคม).สถานการณ์ด้านแรงงานและคุณลักษณะแรงงานที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการในจังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 14(2), 153–185.

ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี. (2559).การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่. (2561). ความต้องการแรงงานและการผลิตกำลังคนสู่

ตลาดแรงงานในเชียงใหม่. (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่: ผู้แต่ง.

สุมาลี ปิตยานนท์. (2539). เศรษฐศาสตร์แรงงาน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนทร ทองกำเนิด. (2560). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0. (รายงานการวิจัย). ม.ป.ท.: วิทยาลัยการทัพบก.

เอกสิทธ์ สนามทอง. (2562, มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์: แนวทางพัฒนาสู่ความสำเร็จขององค์การ.วารสารเกษมบัณฑิต, 20(1), 65-77.

อัญชลี ชัยศรี. (2563). การบริหารทรัพยากรมนุษย์บนพื้นฐานสมรรถนะ. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 5(2), 234 -248.

EIC | ECONOMIC INTELLIGENCE CENTE. (2559). “ตลาดเสื้อผ้ามุสลิม”.ค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/1364Nunnally, J. C. (1978). Psychometric Theory (2nd ed.). New York, NY: McGraw-Hill.

Rovinelli, R. J. and Hambleton, R. K. (1977). On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-referenced Test Item Validity, Dutch. Journal of Educational Research, 2, 49–60

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-09