ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาสื่อการเรียนรู้โดยใช้แพลตฟอร์มเทคโนโลยีดิจิทัล : กรณีศึกษา การใช้อินโฟกราฟิกเพื่อการเรียนรู้

ผู้แต่ง

  • กษิติธร อัศวพงศ์วาณิช สาขาวิชาการจัดการระบบสารสนเทศเพื่อธุรกิจ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

สื่อการเรียนรู้, เทคโนโลยีดิจิทัล, การใช้อินโฟกราฟิก

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยของระดับการศึกษาที่มีผลต่อการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ และ 2) ศึกษาระดับการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ชุมชนหมู่บ้านสารภี จังหวัดสมุทรสงคราม จํานวน 140 คน ประมาณการขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเน่ และใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยสุ่มตัวอย่างแบบง่ายและแบบจัดสรรแบบสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

          ผลการศึกษา 1) ปัจจัยของระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า มีระดับการศึกษาต่ํากว่าปริญญาตรีจํานวน 70 เปอร์เซ็นต์ ปริญญาตรี จํานวน 27.86 เปอร์เซ็นต์ ปริญญาโท จํานวน 2.14 เปอร์เซ็นต์ และมีการเรียนรู้ตลอดชีวิตระดับมาก 25.7 เปอร์เซ็นต์ การเรียนรู้ตลอดชีวิตระดับปานกลาง 44.3 เปอร์เซ็นต์ การเรียนรู้ตลอดชีวิตระดับน้อย 30 เปอร์เซ็นต์ 2) ระดับการเรียนรู้ตลอดชีวิต พบว่า มีความรู้มาก จํานวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 25.7 มีความรู้ปานกลาง จํานวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 44.3 มีความรู้น้อย จํานวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 30.0

References

นพคุณ นิศามณี. (2548). การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

มกราพันธุ์ จูฑะรสก. (2550). Developing Creative Systems Thinking Processes: A Refection of Thinking Through Three- Basket Technique. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.

Senge, P.M. (1993). Transforming the practice of management. New York: Spring

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-09