ปัจจัยด้านการทำงานกับผลที่มีต่อความเครียดของผู้ปฏิบัติงานสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

ผู้แต่ง

  • สุภาพร จันทะกี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อรนันท์ กลันทปุระ สาขารัฐศาสตร์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ลลิตา นิพิฐประศาสน์ สุนทรวิภาต สาขารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การทํางาน, ความเครียด, ผู้ปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาปัจจัยด้านการทํางานที่มีผลต่อความเครียดของผู้ปฏิบัติงานสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 2) ศึกษาระดับความเครียดของผู้ปฏิบัติงานสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ ผู้ปฏิบัติงานสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จํานวน 378 คน โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 194 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t – test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และการวิเคราะห์หาค่าประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product-Moment Correlation Coefficient) โดยกําหนดระดับนัยสําคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05
          ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมปัจจัยด้านการทํางานของผู้ปฏิบัติงานสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ตามวัตถุประสงค์ พบว่า ด้านลักษณะของงาน ด้านโครงสร้างของสํานักงาน ด้านความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน ด้านบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในการทํางาน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง และด้านสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นในการทํางาน มีความคิดเห็นอยู่ในระดับน้อย
          ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การเปรียบเทียบความเครียดของผู้ปฏิบัติงานสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จําแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้ปฏิบัติงานสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความเครียดไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้ปฏิบัติงานสํานักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ ระยะเวลาการทํางาน ตําแหน่งงานแตกต่างกัน มีความเครียดแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ 0.05

References

กรมสุขภาพจิต. (2541). ความเครียดและสุขภาพจิตของคนไทย. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ชูทิตย์ ปานปรีชา. (2534). จิตวิทยาทั่วไป. นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ฐาปนี วังกานนท์. (2556). ปัจจัยด้านการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความเครียดของพนักงาน:กรณีศึกษา บริษัท แอมพาส อินดัสตรี จำกัด. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

บังอร อยู่ฉ่ำ. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการการประปานครหลวง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พิมลพรรณ สุวรรณโถง. (2531). การศึกษาสภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ของเด็ก: ศึกษาเฉพาะกรณีศูนย์สุขวิทยาจิต.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วชิระ เพ็ชรราม และกลางเดือน โพชนา. (2559,มกราคม-เมษายน). ความเครียดของพนักงานและปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของพนักงานกรณีศึกษาฐานผลิตแก๊สธรรมชาตินอกชายฝั่งอ่าวไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,18(1).

วีระ ไชยศรีสุข. (2539). สุขภาพจิต. กรุงเทพฯ: รุ่งแสงการพิมพ์.

สสิธร เทพตระการพร. (2542). การทํางานที่ใช้กล้ามเนื้อและความล้า. ใน สมชัย บวรกิตติโยธินเบญจวัง และปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ (บก.). ตําราอาชีวเวชศาสตร์ (หน้า 109-122).กรุงเทพฯ: เจ. เอส. เค. การพิมพ์

อรุณี มิ่งประเสริฐ. (2557, กรกฎาคม-ธันวาคม).การศึกษาสุขภาพจิตและความเครียดของนักศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 40(2), 211-227.

Beehr, T. A. and Newman, J. E. (1978,December). Job stress, employeehealth, and organizational effectiveness: A facet analysis, model,and literature review 1. Personnel Psychology, 31(4), 665-699.

Kalleberg, A. L. (1977, February). Work values and job rewards: A theory of job satisfaction. American Sociological Review, 124-143.

Margolis, B. L., Kroes, W. H. and Quinn, R. P. (1974, October). Job stress: A new hazard to add to the list. Journal of Occupational Medicine, 10, 659-661.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introduction analysis. London: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-09