นโยบายในการพัฒนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาให้เป็นศูนย์กลางการรวบรวม และกระจายสินค้าตอนบนของประเทศด้วยการขนส่งทางน้ำ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่การค้าระหว่างประเทศ
คำสำคัญ:
นโยบายในการพัฒนา, ศูนย์กลางรวบรวมและกระจายสินค้า, การขนส่งทางน้ำบทคัดย่อ
ประเทศไทยและต่างประเทศได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2563 จนกระทั่งในปี พ.ศ.2564 ประเทศไทยเริ่มฟื้นตัวและมีการเติบโตจากการนำเข้าส่งออกกับคู่ค้าหลัก ที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้การขนส่งในประเทศกลับมามีบทบาทที่สำคัญใน การส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศในขณะที่ต้นทุนโลจิสิติกส์ของประเทศอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 13.4 เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ มวลรวมในประเทศ โดยกว่าร้อยละ 50 คือ ต้นทุนค่าขนส่งทำให้ต้องวางรูปแบบการขนส่งที่ช่วยลดต้นทุนอย่างเป็นรูปธรรม โดยการเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางน้ำที่มีต้นทุนต่ำที่สุดให้มากขึ้น พื้นที่ยุทธศาสตร์ ในการรวบรวมและกระจายสินค้าตอนบนของประเทศที่สามารถเชื่อมต่อกับทางออกทางทะเลเพื่อการค้าระหว่างประเทศคือจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในขณะที่นโยบาย ภาครัฐในการสนับสนุนการขนส่งทางน้ำกลับสวนทางโดยยืนยันจากการจัดสรรงบประมาณเพื่อมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการขนส่งทางน้ำมีสัดส่วนที่น้อยมาก และยืนยันจากผู้ประกอบการขนส่งทางน้ำที่ได้สะท้อนผ่านดัชนีความคาดหวังที่ชี้ให้ เห็นว่าคุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานยังไม่ตอบสนองความคาดหวังของผู้ประกอบการและจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของการดำเนินงานและการประกอบธุรกิจที่ท้ายสุดคือต้นทุนค่าขนส่งและโลจิสติกส์ที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ภาครัฐควรพิจารณาการ ดำเนินนโยบายแบบสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ประกอบการในธุรกิจขนส่งทางน้ำในการแก้ไขกฎระเบียบผังเมืองเพื่อเพิ่มจำนวนท่าเรือที่เป็นมิตรต่อสภาวะแวดล้อมและชุมชน ตลอดจนการขุดลอกร่องน้ำให้มีความลึกเพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาให้จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีบทบาทเป็นศูนย์กลางรวบรวมและกระจายสินค้าตอนบนของประเทศด้านการขนส่งทางน้ำ เพื่อเชื่อมโยงกับต่างประเทศอย่างเต็มศักยภาพของจังหวัดต่อไป
References
Baird, A. (2007). The Economics of Motorways of the Sea. Maritime Policy & Management, 34(4), 287-310.
Beskfvnick, B. (2006. Importance of Short Sea Shipping and Sea Motorways in the European and Slovenian Transport policy Pomorstvo. European transport policy, 20(1), 23-35.
Brooks, M. R., Hodgson, J. R. F. and Fros, J. D. (2006). Short Sea Shipping on the East Coast of North America : An Analysis of Opportunities and Issues. Canada: Dalhousie University.
Brooks, M.R., and Frost, J. D. (2004). Short sea shipping: a Canadian perspective. Maritime Policy & Management, 31(4), 393-407.
Cochrane, K., Saxe, S., Roorda, M. J. and Shalaby, A. (2017). Moving freight on public transit: Best practices, challenges, and opportunities. International Journal of Sustainable Transportation, 11(2), 120-132.
Goulielmos, A. M., Lun, V. Y-H. and Lai, K-H. (2012). Maritime Logistics in EU Green Ports and Short Sea Shipping. In Maritime Logistics (pp. 245-262).
Islam, D. M. Z., Dinwoodie, J. and Roe, M. (2006). Promoting Development through Multimodal Freight Transport in Bangladesh. Transport Reviews, 26(5), 571-591.
López-Navarro, M., Moliner, Á. María Rodríguez, R. and Sánchez-García, J. (2011). Accompanied versus Unaccompanied Transport in Short Sea Shipping between Spain and Italy: An Analysis from Transport Road Firms Perspective. Transport Reviews, 31(4), 425-444.
Morales-Fusco, P., Saurí, S. and Lago, A. (2012). Potential freight distribution improvements using motorways of the sea. Journal of Transport Geography, 24, 1-11.
Office of the Permanent Secretary. (2015). The Annual Report. Thailand: Ministry of Transport.
Office of Transport and Traffic Policy and Planning, (2013). The study on Transport and Traffic Development Master Plan. Thailand: Ministry of Transport.
Parasuraman, A. Ziethaml, V. and Berry, L.L., (1988). SERVQUAL: A Multiple- Item Scale for Measuring Consumer Perceptions of Service Quality. Journal of Retailing, 62(1), 12-40.
Perakis, A. N. and Denisis, A. (2008). A survey of short sea shipping and its prospects in the USA. Maritime Policy & Management, 35(6), pp. 591-614.
Saldanha, J. and Gray, R. (2002). The potential for British coastal shipping in a multimodal chain. Maritime Policy & Management, 29(1), 77-92.
Suárez-Alemán, A. and Hernández, A. (2014). Incentives to reduce port inefficiency: a theoretical approach. Maritime Policy & Management, 41(5), 462-479.
Supoj Chawawiwat. (2018). The Hidden Problem to the Government Policy on Promoting the Inland Shipping in Thailand. Eurasian Journal of Business and Management., 6(4), 27-34.
Tzannatos, E. And Nikitakos, N. (2013). Natural gas as a fuel alternative for sustainable domestic passenger shipping in Greece. International Journal of Sustainable Energy, 32(6), 724-734.
Woodburn, A. (2007). The role for rail in port-based container freight flows in Britain. Maritime Policy & Management, 34(4), 311-330.
Yang, C-C., Tai, H-H and Chiu, W-H. (2014). Factors influencing container carriers’ use of coastal shipping. Maritime Policy & Management, 41(2), 192-208.