ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวจีนกับการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ของวิสาหกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สุจิตรา จันทนา รองศาสตราจารย์ อาจารย์ประจําหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคําแหง

คำสำคัญ:

วิสาหกิจการท่องเที่ยว, พฤติกรรมการท่องเที่ยว, นักท่องเที่ยวชาวจีน, การจัดการลูกค้าสัมพันธ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มาท่องเที่ยวในแหล่งต่าง ๆ ของประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวของชาวจีนที่มาท่องเที่ยวในแหล่งต่าง ๆ ของประเทศไทย 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีต่อการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ของวิสาหกิจท่องเที่ยว วิธีดําเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสํารวจประชากร ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวจีนที่เป็นกรุ๊ปทัวร์และมาพักโรงแรมในเขตกรุงเทพมหานคร 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสําเร็จรูป ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์การหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ ETA
ผลการวิจัยพบว่าข้อมูลส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง การศึกษาปริญญาตรี มีความกังวลเรื่องภาษา มาท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อน มีการเตรียมการเดินทางด้วยแพคเกจทัวร์ มีพฤติกรรมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวที่ชอบคือเชียงใหม่ นิยมเสียค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว 1,000 หยวน – 2,000 หยวน ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีต่อการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ของวิสาหกิจท่องเที่ยว พบว่า มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับมาก

References

ยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยวปี พ.ศ. 2561-2564

จุฬาลักษณ์ ศิริสุนทรพานิช (2563). พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวจีนที่มีผลต่อการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ของวิสาหกิจท่องเที่ยวในประเทศไทย. สารนิพนธ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะบริหารธุรกิจ.

หลักการจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า. (2562).การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า เอกสารประกอบการสอน ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์.

ทิศทางเป้าหมาย กรมท่องเที่ยววในอนาคต ปี พ.ศ. 2561-2562. (2564). การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

สถานการณ์พักแรมในแต่ละจังหวัดของนักท่องเที่ยวจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนปี 2563 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

อดิษฐ์ ชัยรัตนานนท์ เลขาธิการสมาคมไทยธุรกิจท่องเที่ยว สมาคมไทยธุรกิจท่องเที่ยว (HTTA) “การท่องเที่ยวภายในประเทศ”

ธรชญาน์ สุขสายชน. (2564). กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อรองรับการท่องเที่ยวยุคใหม่ที่ยกระดับความน่าเชื่อถือ. วิทยาลัยการจัดการมหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-09