แนวทางการมีส่วนร่วมในการธำรงรักษาศีล 5 ของชุมชนบ้านลาว อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
คำสำคัญ:
แนวทางการมีส่วนร่วม, การธํารงรักษาศีล 5, ชุมชนบ้านลาวบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “แนวทางการมีส่วนร่วมในการธํารงรักษาศีล 5 ของชุมชนบ้านลาว อําเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและหลักศีล 5 ของชุมชนบ้านลาว 2) ศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมในการธํารงรักษาศีล 5 ของชุมชนบ้านลาว เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) เชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านลาว อําเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง จํานวน 80 ครัวเรือน นําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ตามวิธีการทางสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสรุปประเด็นเชิงคุณภาพ
ผลจากการวิจัยพบว่า
1) ปัจจัยส่วนบุคคล และหลักศีล 5 ของชุมชนบ้านลาว พบว่า
1.1) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 53.54 มีอายุ 41-60 ปีร้อยละ 32.32 ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 88.89 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 53.54 มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 59.60 ระยะเวลาการอาศัยอยู่ในชุมชน มากกว่า 10 ปีขึ้นไป ร้อยละ 84.85 และมีสถานภาพในชุมชน เป็นลูกบ้าน ร้อยละ 93.94
1.2) หลักศีล 5 พบว่า การธํารงรักษาศีล 5 ของชุมชนบ้านลาว อําเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด(x̅= 4.69) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านด้านการละเว้นจากการฆ่าการสังหารอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅= 4.81)
2) แนวทางการมีส่วนร่วมในการธํารงรักษาศีล 5ของชุมชนบ้านลาว พบว่าแนวทางการมีส่วนร่วมในการธํารงรักษาศีล 5 ชุมชนบ้านลาว อําเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง โดยการมีส่วนร่วมใน 4 ด้าน มีรายละเอียดดังนี้
1) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการจัดกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับการธํารงศีล 5 พบว่า ชุมชนบ้านลาว อําเภอไชโย จังหวัดอ่างทองมีส่วนร่วมในการตัดสินใจอยู่ในระดับมากที่สุด
2) ด้านการมีส่วนร่วมในการดําเนินงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการธํารงศีล 5 พบว่า ชุมชน บ้านลาว อําเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง มีในการดําเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด
3) ด้านการมีส่วนร่วมในการได้รับประโยชน์จากการธํารงศีล 5 พบว่า ชุมชนบ้านลาว อําเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง มีส่วนร่วมในการในการได้รับประโยชน์ในระดับมากที่สุด
4) ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลรวมถึงปัญหา อุปสรรค พบว่าชุมชนบ้านลาว อําเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ส่วนร่วมในการประเมินผลรวมถึงปัญหา อุปสรรค ในระดับมากที่สุด
References
ธลิตา สุขเสือ. (2551). เบญจศีลเบญจธรรมและนักศึกษามหาวิทยาลัย กรณีศึกษา. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.
พระชัยพิพัฒน์ โชติโก (แสนทะวงษ์). (2555). การปฏิบัติธรรมตามหลักศีลห้าของผู้นำครัวเรือนในชุมชนตะเคียนทอง อำเภอคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตโต). (2532). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พุทธธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาพิชิตชัย ยมพาลไพ่. (2541). การศึกษาทัศนะเรื่องศีล 5 ของชาวพุทธในสังคมไทยปัจจุบัน : ศึกษาเฉพาะกรณีการฆ่าสัตว์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศาสนาเปรียบเทียบ, มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2538). เบญจศีล เบญจธรรม (หลักสูตรธรรมศึกษา ชั้นตรี) (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ : มหามงกุฎราชวิทยาลัย.
พุทธทาสภิกขุ. (2539). ธรรมในฐานะเป็นเครื่องมือสร้างคน สร้างชาติ และสร้างโลก. กรุงเทพฯ: แสงธรรม.
ไสว มาลาทอง. (2542). คู่มือจริยธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมศาสนา.
อมร อำไพรุ่งเรือง. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการรักษาและการล่วงละเมิดศีล 5 ของพุทธศาสนิกชน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.