บทบาทนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HR) ในยุค 4.0

ผู้แต่ง

  • เกษรา โพธิ์เย็น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจําสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • สุนันทา เลาหนันทน์ รองศาสตราจารย์ดร. ผู้ทรงคุณวุฒิสาขาการบริหารธุรกิจ ข้าราชการเกษียณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

บทบาทนักบริหาร, ทรัพยากรมนุษย์, ยุค 4.0

บทคัดย่อ

          “คน” เป็นสินทรัพย์อันทรงคุณค่าขององค์การมีบทบาทในการผลักดันให้องค์การอยู่รอดและเติบโตได้ในยุค 4.0 บทความนี้มุ่งชี้ให้เห็นบทบาทของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HR) ในอนาคต โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวกับแนวคิดประเทศไทย 4.0 และแนวคิดการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านองค์การจําเป็นต้องขับเคลื่อนด้วยความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ส่งผลให้การบริหารคนในองค์การจะต้องมุ่งเน้นให้คนมีความสุขในการทํางานด้วยการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาคนให้มีทักษะที่สูงขึ้น สามารถทํางานร่วมกับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ได้ซึ่งนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HR) เป็นผู้ดูแลคนและสนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะด้านต่าง ๆ ของคนทํางานในทุกสายงานในองค์การ จําเป็นต้องเปลี่ยนบทบาทเดิมที่ทํางานตั้งรับเป็นผู้ควบคุมกฎ ระเบียบ มาสู่บทบาทใหม่ที่ต้องทํางานเชิงรุกแบบมืออาชีพมากขึ้น มีความยืดหยุ่นในการทํางาน ท่ามกลางความหลากหลายของคนหลายกลุ่มในองค์การ มีความพร้อมในการปรับตัว ปรับแนวคิดให้ทันสมัย ยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อนํามาใช้ในการทํางานเชิงรุกให้เหมาะสมกับบทบาทที่รับผิดชอบเพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์การ

References

กัญชพร ศรมณี. (2559). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 8(1), 75-287.

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2562). Generation/ยุคสมัยของคนตามช่วงอายุ. ค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2564. จาก https://iok2u.com/index.php/article/11-marketing/324-generation.

ดิลก ถือกล้า. (2562, เมษายน-มิถุนายน). HR ต้องทำอย่างไรกับโลกใหม่ในโลกใบเดิม. วารสารการบริหารคน, 39(2), 32-35.

ศิริยุพา รุ่งเริงสุข. (2560, พฤษภาคม). แนวโน้มความท้าทาย.......ในสายงาน HR ยุคใหม่. วารสาร HR Society Magazine, 15(173), 8-10.

สมบัติ กุสุมาวลี. (2559, ธันวาคม). จับประเด็นร้อน HR 4.0 TRENDA AND MOVE ทิศทางการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์@THAILAND 4.0. วารสาร HR Society Magazine, 14(168), 12.

สุนทร ทองกำเนิด. (2560). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคไทยแลนด์ 4.0. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยการทัพบก.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559, 2 พฤษภาคม). ไขรหัสประเทศไทย 4.0 สร้างเศรษฐกิจใหม่ ก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง. ไทยรัฐ, น.8.

Pucki, V., Tichy, N.M., & Barnett, C.K. (Eds.). (1992). Globalizing management : Creating and leading the competitive organization. New York : Wiley.

Ulrich, D., Younger, J., Brockbank, W., & Ulrich, M. (2013). The state of the HR profession. Human Resource Management, 52(3), 457-471.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-09