การศึกษาภาวะความยากจนและปัจจัยที่มีผลต่อความยากจนในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สุพิชชา โชติกำจร สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

ความยากจน, สัดส่วนคนจน, ปัจจัยที่มีผลต่อความยากจน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสถานการณ์ความยากจนในประเทศไทย และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความยากจนในประเทศไทย โดยวิธีดําเนินการวิจัยจะเป็นรูปแบบเชิงปริมาณ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามาจากการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากการสํารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนไทย (Socio-Economic Survey: SES) ในช่วง ปี พ.ศ.2549-2562 ของสํานักงานสถิติแห่งชาติ และสํานักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และใช้แบบจําลองถดถอยเชิงเส้นในการวิเคราะห์ข้อมูล

          ผลการวิจัย พบว่า 1) สถานการณ์ความยากจน ในประเทศไทย จํานวนคนจนและสัดส่วนคนจนในประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ.2541-2562 มีแนวโน้มลดลง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประชากรบางกลุ่มที่ยังคงต้องเผชิญกับปัญหาความยากจนเรื้อรัง โดยเฉพาะคนจนที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปัตตานี นราธิวาส กาฬสินธุ์ และตาก ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงที่สุดต่อเนื่องกันนานหลายปี และมีปัญหาความยากจนที่รุนแรง 2) ปัจจัยที่มีผลต่อความยากจนในประเทศไทย พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความยากจนที่ระดับนัยสําคัญ 0.10 แสดงว่า หากรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรเพิ่มขึ้น และจํานวนผู้สําเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศเพิ่มขึ้น ก็จะส่งผลทําให้สัดส่วนคนจนในประเทศลดลง ดังนั้นภาครัฐควรส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ และส่งเสริม การประกอบอาชีพให้แก่ประชาชนที่ยากจนเพื่อให้มีรายได้ที่เพียงพอ และหลุดพ้นจากความยากจน

References

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2561). รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย ปี 2561. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2564). คลังเปิดคัด “บัตรคนจน” รอบใหม่ 13.8 ล้านรายเดิมต้องลงทะเบียน. ค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2564, จาก https://www.prachachat.net/finance/ news-617100

วรชิต รุ่งพรหมประทาน และนิรมล อริยอาภากมล (2562). การปรับเปลี่ยนฐานะในเขตชนบทไทย กรณีศึกษาใน 4 จังหวัด. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ, 10(19), 18-35.

วรรณพงษ์ ดุรงคเวโรจน์. (2563). ในวันที่ไม่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจ จะพัฒนาคุณภาพ ชีวิตและแก้ไขความยากจนได้อย่างไร. ค้นเมื่อ 24 เมษายน 2564, จาก https://thematter.co/thinkers/reduce-poverty-in-days-of-absence-ofeconomic-growth/124271

ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น. (2555). สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในประเทศไทย. วารสารนักบริหาร, 32(1), 3-10.

สถาบันวิจัยเพื่อการวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2546). สถานการณ์ความยากจนในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2564, จาก http://www.tdri.or.th/poverty/report1.htm

อนันต์ ภาวสุทธิไพศิฐ. (2560). การเปลี่ยนแปลงของความยากจนในชนบทไทย กรณีศึกษา Townsend Thai Data (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: การสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

สนิรัช แก้วมี และปพิณวดี ศิริศุภลักษณ์. (2550). ภาวะความยากจนของครัวเรือนเกษตร. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(1), 17-29.

สมชัย จิตสุชน. (2563). ความเหลื่อมล้ าในสังคมไทย: เปลี่ยนวิกฤตโควิด-19 ให้เป็นโอกาส. วารสารรายงานทีดีอาร์ไอ, 33(10), 1-16.

สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม. (2554). การวางแผนพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: ศูนย์การพิมพ์เพชรรุ่ง.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2557). ภาวะความยากจนของครัวเรือนเกษตร. ค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2564, จาก www.oae.go.th/view/1/ภาวะความยากจนของครัวเรือนเกษตร/TH-TH

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). บัญชีประชาชาติ. ค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2564, จาก https://www.nesdc.go.th/main.php? filename=nipageฃ

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). การส ารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนของส านักงานสถิติแห่งชาติที่ประมวลผลโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ค้นเมื่อ18 เมษายน 2564, จาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=3518&fi

World Bank. (2009). World Development Report 2008: Agriculture for Development, Washington D.C.: Author. Gujarati, Damodar. (2003). Basic Econometrics. (4th Edition). Singapore: Mc Graw-Hill Book.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-09