แนวทางการสร้างรายได้แก่ผู้สูงอายุด้วยผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ภัทรา สุขะสุคนธ์ สาขาวิชาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • สุชีลา ศักดิ์เทวิน สาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
  • ธัญพร ศรีดอกไม้ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การสร้างรายได้, ผลิตภัณฑ์ชุมชน, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นแผนงานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มผู้สูงอายุในจังหวัด
สมุทรปราการ 2) พัฒนาต้นแบบเว็บแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือสําหรับสร้างรายได้ให้ผู้สูงอายุและ 3) ศึกษารูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการทําธุรกิจของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ และ 4) ศึกษาแนวทางการสร้างรายได้แก่ผู้สูงอายุด้วยผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการ โดยนําผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 มาทําการสังเคราะห์และใช้เป็นข้อมูลในการสร้างแบบสัมภาษณ์ เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ข้อ 4 โดยสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดสมุทรปราการจํานวน 30คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ประกอบการผู้สูงอายุควรพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบในท้องถิ่นโดยใช้ภูมิปัญญาที่ผสมผสานกับวัฒนธรรมและกําหนดเป็นตําแหน่งผลิตภัณฑ์ ควรพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายประเภทและหลายระดับราคา การกําหนดราคาให้สอดคล้องกับคุณภาพและปริมาณของผลิตภัณฑ์โดยพิจารณาต้นทุนประกอบ ภาครัฐควรจัดหาเทคโนโลยีที่ทันสมัยสําหรับผลิตและจําหน่าย และจัดตั้งศูนย์จําหน่ายผลิตภัณฑ์ทางออนไลน์ประจําตําบลโดยมีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง 2) ต้นแบบเว็บแอปพลิเคชันที่พัฒนามีคุณภาพด้านข้อมูล ด้านระบบ และด้านการบริการอยู่ในระดับดีมากที่สุด 3) รูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ขอบข่ายการพัฒนาศักยภาพด้านการทําธุรกิจของผู้สูงอายุ องค์ประกอบของเครือข่าย และกระบวนการ/ขั้นตอนการสร้างเครือข่าย 4) ผู้สูงอายุควรเลือกลูกค้ากลุ่มเป้าหมายวัยทํางานและนักท่องเที่ยว ควรรวมกลุ่มและสร้างเครือข่ายกับผู้ขายแหล่งวัตถุดิบทั้งในชุมชนและนอกชุมชน เพื่อให้มีวัตถุดิบในการผลิตเพียงพอและคุณภาพดี หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนควรร่วมมือกันเพื่อสนับสนุนช่วยเหลือผู้สูงอายุให้สามารถสร้างรายได้ โดยเชิญชวนผู้สูงอายุเข้าใช้เว็บแอปพลิเคชันสําหรับทําการตลาดออนไลน์และอบรมความรู้การใช้งานให้ผู้สูงอายุ โดยจัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือและมีหน่วยงานหลักดูแลและพัฒนา
เครือข่ายให้มีความเข้มแข็ง เพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้แก่ผู้สูงอายุ

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2563). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562. ค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2563, จาก http://www.dop.go.th/th/know.

________. (2562). มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติเรื่องสังคมผู้สูงอายุ (ฉบับปรับปรุง)(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

กลุ่มงานส่งเสริมผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชน. (2563). ฐานข้อมูลหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. ค้นเมื่อ 8 มกราคม 2564, จาก https://cep.cdd.go.th/otop-data.

กฤษณะ ดาราเรือง. (2560, ตุลาคม-ธันวาคม). การพัฒนาผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์ทางการตลาดวิสาหกิจชุมชนบ้านเขาแหลม จังหวัด

นครสวรรค์. สุทธิปริทัศน์, 31(100), 131-140.

จินตนา ชุณหมุกดา มันทนา บัววัฒนา และพนัส พฤกษ์ สุนันท์. (2553). การศึกษากลไกการบริหารจัดการเครือข่ายพันธมิตรการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระดับจังหวัด. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้ง.

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสูงสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. ค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2560, จาก http://library.senate.go.th/document/Ext6078/6078440_0002.PDF

เชาวลีย์ พงศ์ผาติโรจน์, วรศักดิ์ ทุมมนนท์ และเกรียงไกร บุญเลิศอุทัย. (2559). หลักการบัญชี (พิมพ์ครั้งที่13) กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไทยโพสต์. (2561). พฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ . ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2563, จาก https://www.thaipost.net/main/detail/15886.

ธัญพร ศรีดอกไม้. (2563). การพัฒนาต้นแบบเว็บแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือสำหรับสร้างรายได้ให้ผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

ธันยมัย เจียรกุล. (2557, มกราคม-มิถุนายน). ปัญหาและแนวทางการปรับตัวของ OTOPเพื่อพร้อมรับการเปิด AEC. วารสารนักบริหาร, 34(1),177-191.

นูรีฮาน สาและ.(2558). กลยุทธ์การพัฒนาการตลาดผลิตภัณฑ์อาหารฮาลาลของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจเกษตร, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,

ปานศิริ พูนพล และทิพวรรณ พรมลาย. (2560, ตุลาคม). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการตลาดของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ OTOP (ระดับ1-5 ดาว) ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 7(ฉบับพิเศษ), 23-33.

พรรณ์ธิดา เหล่าพวงศักดิ์ และ ลุยง วีระนาวิน. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่ภาคตะวันตก. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย. 12 (1), 275-288.

พิบูล ทีปะปาล และ ธนวัฒน์ ทีปะปาล. (2559). การจัดการเชิงกลยุทธ์(ปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ:อมรการพิมพ์.

พิมพงา เพ็งนาเรนทร์. (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ของผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

พิมลอร ตันหัน. (2559). วิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย (ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 10(3), 55-62.

ภูริชวิศิษฐ์ ผาสุขขันธ์. (2555). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของเว็บไซต์ตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ภัทรา สุขะสุคนธ์. (2563). การพัฒนากลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2554). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพยุคใหม่. กรุงเทพฯ: สามลดา.

สุชีลา ศักดิ์เทวิน. (2563). รูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการทำธุรกิจของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน. (ม.ป.ป.). โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. ค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2562, จาก https://cep.cdd.go.th.

เอ็มดีซอฟต์. (ม.ป.ป.)ทำความรู้จักกับweb application. ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2563, จาก https://mdsoft.co.th.

Aryanti, R.A., Wardaya, Puspokusumo, Cooky T., Adhikara, and Hendry, Hartono. (2018). Sustainable industry management strategies in OVOP program with RAPFIOVOP method: a case study on Tofu/Tahu industrial center in Utankayu –east Jakarta.Social economics and ecology international journal. 2(1), p.47-56

Kotler, P. and Armstrong, Gary. (2016). Principles of marketing (16th ed.). England : Pearson Education Limited.

Khairul, H. and Kamarudin, K. H. (2018). One village one product (OVOP) plan for B40 “Towards inclusive and sustainable rural development”. Malaysia: Razak school of UTM of engineering and advanced technology.

Lamatinulu, P., Santoso, P. B. and Sugiono, S. (2017). Design of strategy to increase the added value and competitiveness of products mini cocoa processing industry based OVOP with using interpretive structural modeling (ISM). Journal of engineering science & technology review. 10(5), 98-103. Retrieved from https://web.bebscohost.com/abstract.

Ungkanawin, K. (2020). Advanced SME with M -Commerce System. Journal of the Association of Researchers, 24(2), 87–9

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-09