การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • วรุณี เชาวน์สุขุม สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • อัจฉราวรรณ สุขเกิด สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ตราสินค้า, บรรจุภัณฑ์, วิสาหกิจชุมชน, น้ําพริกแกงเผ็ด, การพัฒนาผลิตภัณฑ์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้ศึกษาการออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ เพื่อส่งเสริมสินค้าของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานี โดยเลือกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตับผักชี หมู่ 12 ตําบลระแหง อําเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ซึ่งสินค้าที่เลือกคือน้ําพริกแกงเผ็ดที่ผลิตโดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตับผักชี วัตถุประสงค์งานวิจัย คือ1) เพื่อศึกษาบริบทและศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตับผักชี 2)เพื่อหาแนวทางการพัฒนาสินค้าด้วยการออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ของน้ําพริกแกงเผ็ด โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ แบบมีส่วนร่วม และทําการเก็บข้อมูลจากสมาชิกวิสาหกิจชุมชน ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตับผักชี หมู่ 12 ตําบลระแหง อําเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานีเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีสภาพความเป็นอยู่แบบผสมผสานระหว่างชุมชนเมืองและชุมชนชนบท กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตับผักชี สมาชิกส่วนใหญ่ประกอบด้วยกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเหล่านี้มีบ้านใกล้กันและมีลักษณะครอบครัวแบบเครือญาติ คือมีการช่วยเหลือกันและกัน มีผู้นําชุมชนที่เข้มแข็งรวบรวมสมาชิกมารวมกลุ่มกันแปรรูปผลผลิตสินค้าเกษตร โดยมีสินค้าหลักคือน้ําพริกแกงเผ็ด เพื่อเป็นการหาอาชีพเสริม และหารายได้ให้กับสมาชิก 2)แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการระดมความคิดเห็นจากคณะกรรมการและสมาชิกของกลุ่มทุกคนแบบมีส่วนร่วม ทําให้ทราบถึงความต้องการออกแบบตราสินค้าและบรรจุภัณฑ์ของน้ําพริกแกงเผ็ด เพื่อเพิ่มมูลค่าของน้ําพริกแกงเผ็ด

References

ณัฐชยา ใจจูน. (2557). ภาพลักษณ์ตราสินค้าและการรับรู้คุณค่าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผูบริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พรชัย พันธุ์ธาดาพร. (2558). การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

พัฒน์กมล อ่อนสำลี. (25641, มกราคม-มิถุนายน). การปรับตัวของวิสาหกิจชุมชนในสภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23 (2564), 195-205.

รพีภัทร์ สุขสมเกษม. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในเขตเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. การค้นคว้าอิสระ.รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรรณิดา ชินบุตร และคณะ. (2559). การศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อการออกแบบบรรจุภัณฑ์กล้วยตาก กรณีศึกษา: กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านหาดผาขน. ใน การประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 4 ประจำปี พ.ศ.2560 (หน้า 303-310). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, เชียงใหม่.

วิภาวัน จุลยา และรุ่งทิวา วงค์ไพศาลฤทธิ์. (2550). น้ำพริกแกงกะหรี่สำเร็จรูป. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

สุฑามาศ ยิ้มวัฒนา และคณะ. (2564, มกราคม-มิถุนายน). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสินค้าผลิตภัณฑ์กล้วยแปรรูป แขวงเมืองวิเศษชัยชาญจังหวัดอ่างทอง. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23 (1), 1-12.

Krystallis, A. and Chrysochou, P. (2011). Health claims as communication tools that enhance brand loyalty: The case of low-fat claims within the dairy food category. Journal of Marketing Communications, 17(3), 213-228.

Malik, M. E., Naeem, B. and Munawar, M. (2012). Brand Image: Past, Present and Future. Journal of Basic and Applied Scientific Research, 2(12), 13069-13075

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-09