ความเป็นพหุสังคมอยุธยากับวัฒนธรรมอาหารเพื่อการท่องเที่ยว ตามรอยเสด็จประพาสต้นพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ศุภกาณฑ์ นานรัมย์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

พหุสังคม, การท่องเที่ยว, เสด็จประพาสต้น, วัฒนธรรมอาหาร

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นพหุสังคมอยุธยากับการส่งผ่านวัฒนธรรมอาหารของไทย วัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่นอยุธยาผ่านร่องรอยการเสด็จประพาสต้นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และแนวทางการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวผ่านวัฒนธรรมอาหารตามเส้นทางเสด็จประพาสต้นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลการวิจัยพบว่า พระนครศรีอยุธยาเดิมมีความสําคัญในฐานะราชธานีเก่าของไทย ด้วยสภาพที่ตั้งระหว่างสองฝั่งสมุทร ทั้งยังเป็นเมืองท่านานาชาติดึงดูดให้ชาวต่างชาติเข้ามาเจริญความสัมพันธ์ทางการทูต การค้า ส่งผลต่อวัฒนธรรมอาหารของไทย เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้น พระองค์เสด็จประพาสแบบไปรเวต (private) โปรดฯ เสวยพระกระยาหารที่ปรุงเอง ซื้อวัตถุดิบจากท้องถิ่น บ้างก็ร่วมเสวยกับชาวบ้าน ในพื้นที่พระนครศรีอยุธยา การเสด็จประพาสต้นยังสามารถเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงสู่การเดินทางไปสู่อําเภอรอบนอกที่ไม่ได้รับความสนใจมากนัก ทั้งทางรถยนต์4 เส้นทาง ทางเรือ 1 เส้นทาง และทางรถไฟ 2 เส้นทาง

References

กฤช เหลือลมัย. (2561). โอชากาเล. กรุงเทพฯ: Way of Book.

_______. (2563). ‘บะช่อห่อผัก’ บิดปลายจวักรับโควิด-19. มติชนออนไลน์. ค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_2123314.

ณัฐวรรณ พุ่มดียิ่ง. (2550). การศึกษาแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการพัฒนาประเทศจากพระราชหัตถเลขาในการเสด็จประพาสหัวเมือง (พ.ศ. 2451-2452). วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2547).

จดหมายเหตุเรื่องการเสด็จประพาสต้นในรัชกาลที่ 5 ครั้งแรกและครั้งที่ 2 พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มหาเสวกตรี พระยานิพัทธราชกิจ (อ้น นรพัลลภ) วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2477. พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร.

ธงชัย ลิขิตสวรรค์ (บรรณาธิการ). (2557). ตำราแม่ครัวหัวป่าก์. นนทบุรี: ต้นฉบับ.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา และเพ็ญศิริ ศรีคำภา. (2557). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

รีด, แอนโทนี. (2548). เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุคการค้า ค.ศ. 1450-1680 เล่มหนึ่ง ดินแดนใต้ลม (พงศรีเลขะวัฒนะ, ผู้แปล). เชียงใหม่: ซิลค์เวอร์ม.

ลาลูแบร์, ซิมอง เดอ. (2557). จดหมายเหตุลาร์ลูแบร์ราชอาณาจักรสยาม. นนทบุรี: ศรีปัญญา.

ส. พลายน้อย. (2544). ชีวิตตามคลอง (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สารธาร.

สุจิตต์ วงษ์เทศ.(2560). อาหารไทยมาจากไหน?. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

_______. (2561). อยุธยามาจากไหน?. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์.

สุดารา สุจฉายา (บรรณาธิการ). (2538). อยุธยา. กรุงเทพฯ: สารคดี. เสด็จประพาสต้น สารคดีเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2552). เชียงใหม่: สันติภาพการพิมพ์.

โสภา ศรีสำราญ. (2562). อาณาจักรผักพื้นถิ่น จากวัฒนธรรมสู่นวัตกรรมการกิน. นนทบุรี: อินี่ เครือข่ายวัฒนธรรมสากล

เอนก นาวิกมูล. (2536). เที่ยวทุ่งเมื่อหน้าน้ำ.กรุงเทพฯ : สารคดี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-09